รู้จัก "โรคประจำถิ่น" ปชช.จะเสียสิทธิอะไรไปบ้าง หาก "โควิด" ไม่เป็นโรคระบาด
ทำความรู้จัก "โรคประจำถิ่น" ประชาชนจะเสียสิทธิประโยชน์อะไรไปบ้าง และภาระที่ต้องแบกรับเพิ่มเติม หาก "โควิด" ไม่ได้เป็นโรคระบาดอีกต่อไป
จากที่กระทรวงสาธารณสุข เตรียมพิจารณาประกาศให้ "โควิด19" เป็น "โรคประจำถิ่น" (endemic) ภายใต้3 หลัก คือ อัตราป่วยเสียชีวิตไม่เกิน 1 ต่อ 1,000 คน ต้องบริหารจัดการไม่ให้เกินอัตรา ถ้าเกินก็แสดงว่ายังรุนแรง มีการสร้างเสริมให้คนมีภูมิต้านทานมากขึ้น ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งสำหรับ "โอมิครอน" หรือ "โอไมครอน" ถ้าได้รับวัคซีน 2 เข็ม 80% ก็ถือว่ามีภูมิต้านทานพอสมควรแล้ว และประสิทธิภาพการดูแลรักษาพยาบาล ซึ่งจะดูความสอดคล้องการระบาดที่จะต้องเป็นการระบาดทั่วไป ที่เป็นประจำถิ่นด้วย สำหรับคำนิยามของ "โรคประจำถิ่น" จะต้องเป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสามารถคาดการณ์การเกิดขึ้นได้ในเขตภูมิศาสตร์หนึ่ง
ส่วนการประกาศโควิดเป็นโรคประจำถิ่น
ที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้การระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นการระบาดใหญ่ในเดือน มี.ค. 2020 แต่ปัจจุบัน WHO ก็ไม่ได้ ประกาศ ให้เป็นโรคระบาดใหญ่อีกต่อไปแล้ว ทั้งนี้ WHO ได้ประกาศให้โรคนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (public health emergency of international concern หรือ PHEIC) แทน เมื่อ WHO ประเมินแล้วว่าบริการสาธารณสุขทั่วโลกไม่อยู่ในความเสี่ยงจากยอดผู้ติดโควิดในระดับสูงอีกต่อไปแล้ว ก็จะมีการยกเลิกประกาศ PHEIC จะต้องแน่ใจเสียก่อนว่า บริการด้านสาธารณสุขทั่วโลกจะรอดพ้นจากความเสี่ยงดังกล่าวแล้ว ก่อนที่จะยกเลิกการประกาศ PHEIC
หากโควิดกลายเป็น "โรคประจำถิ่น" ประชาชนจะต้องปฏิบัตตัวอย่างไร และจะเสียสิทธิอะไรไปบ้าง
- การปฏิบัติเมื่อโควิด "เป็นโรคประจำถิ่น"
- ประชาชนอาจจะไม่สวมหน้ากากอนามัย
- ลดจำนวนวันกักตัว หรือไม่ต้องกักตัวอีกต่อไปหากติดเชื้อ
- สามารถเข้าถึงยารักษา ชุดตรวจหาเชื้อได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
- เมื่อติดเชื้อแล้วมีอาการไม่รุนแรง
อย่างไรก็ตาม ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หรือ "หมอธีระวัฒน์" ได้ระบุถึงสิทธิประโยชน์ที่ประชาชนจะต้องเสียไป หากกระทรวงสาธารณสุขประกาศให้โควิดเป็น "โรคประจำถิ่น"
- โควิดไม่ได้อยู่ในโรคติดต่ออันตราย?
- ไม่ต้องมีการตรวจคัดกรองแยกกักตัว?
- ไม่ต้องมีการรายงาน?
- ถ้าเป็นการรักษา ต่อไปนี้ใช้สิทธิ์ของแต่ละคนเช่นใช้บัตรทอง?
- ไม่ต้องมีการชดเชยการประกอบธุรกิจค่าเสียหาย?
- การตรวจใดๆ เป็นการตรวจที่ต้องเสียเงินเอง?
- วัคซีนที่ใช้อยู่เป็นวัคซีนที่ออกมาใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งสิ้น
และปัจจุบันในประเทศไทยยังสามารถเรียกร้องค่าชดเชยผลกระทบจากวัคซีนได้ จาก สปสช แล้วต่อจากนี้ยังสามารถรับค่าชดเชยได้หรือไม่?
ทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐอาจจะต้องพิจารณาให้รอบครอบอีกครั้งก่อนที่จะกำหนดเร่งประกาศให้ "โควิด" เป็น "โรคประจำถิ่น"