เปิดเวทีชาวบ้าน โครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ท่าเทียบเรือเอฟ
เปิดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 กำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบผลสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนท่าเทียบเรือเอฟ
วันนี้ ( 29 มกราคม 2565 ) ที่อาคารอเนกประสงค์ โรงเรียนบ้านบางละมุง จ.ชลบุรี มีการจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ต่อการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบผลสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการ กิจการ หรือ การดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือเอฟ บริษัท จีพีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด
โดย นางรังษิยา กมลพนัส ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท เอเชีย แล็ป แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด กล่าวรายงานข้อมูลของโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือเอฟ บริษัท จีพีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด ซึ่งเป็นโครงการที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย เปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมพัฒนาท่าเทียบเรือเอฟ 1 และท่าเทียบเรือเอฟ 2 ในรูปแบบการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน มีระยะเวลาสัมปทาน 35 ปี สำหรับเป็นท่าเทียบเรือขนส่ง ตู้สินค้า บนพื้นที่ประมาณ 690 ไร่ ความยาวหน้าท่ารวมท้ัง 2 ท่า ประมาณ 2,000 เมตร
ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวเข้าข่ายประเภทโครงการตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบส่ิงแวดล้อม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
ที่ระบุให้โครงการท่าเทียบเรือที่มีความยาวหน้าท่า ตั้งแต่ 300 เมตร ขึ้นไป หรือที่มีพื้นที่หน้าท่าเทียบเรือรวมตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร ขึ้นไป ยกเว้นท่าเรือที่ชาวบ้านใช้สอยในชีวิตประจำวัน และการท่องเที่ยว ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการ กิจการ หรือ การดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง
การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลกับผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ศึกษาและหน่วยงาน ราชการที่เกี่ยวข้อง ถึงกำหนดขอบเขตการศึกษาและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งรายละเอียดโครงการ
ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ศึกษา และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนะความคิดเห็นต่อแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของโครงการ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงขอบเขตและแนวทางการศึกษาฯ ให้ครอบคลุมและเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการจัดทำรายงานฯ
บริษัท จีพีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด จึงได้มอบหมายให้บริษัท เอเซีย แล็ป แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด ดำเนินการศึกษาและจัดทารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ เพื่อเสนอต่อสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม (สผ.) พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
( ภาพ/ข่าว อนันต์ สุขวัฒนะ - เอกชัย สุขวัฒนะ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค พัทยา จ.ชลบุรี )