ข่าว

รู้มั้ย "ยาเหลือใช้" ทิ้งสูญเปล่า "พันล้านบาท" ต่อปี มาร่วมมือกันแก้ไข

รู้มั้ย "ยาเหลือใช้" ทิ้งสูญเปล่า "พันล้านบาท" ต่อปี มาร่วมมือกันแก้ไข

02 ก.พ. 2565

เมื่ออาการป่วยดีขึ้น ควรที่จะย้อนกลับหันไปมอง "ยาเหลือใช้" ว่า จะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกหรือไม่ แต่เน้นย้ำไม่ควรให้ยาแก่ผู้อื่นด้วยตัวเอง

วันนี้ (2 ก.พ.65) ให้คุณผู้อ่านลองสำรวจ ยาเหลือใช้ในบ้านของตนเอง ว่า ทุกวันนี้ เก็บยาประเภทไหนไว้บ้าง ซองยาเหลือใช้ มีมากน้อยแค่ไหน ยาหมดอายุหรือยัง รู้หรือไม่ว่า ยาบางตัวหากยังไม่หมดอายุ สามารถนำกลับมาใช้รักษาผู้อื่นต่อได้ แต่ไม่ควรมอบให้กันเอง แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัย จัดยาตามอาการของแต่ละบุคคล หรือ ยาหมดอายุ แค่นำไปทิ้งถังขยะ อาจจะเป็นการทิ้งที่ไม่ถูกวิธี หรือ บางคนทิ้งลงโถชักโครก แล้วปล่อยทิ้งไหลไปตามน้ำ เพียงเท่านี้ดูเหมือนว่าจะจบ แต่แท้จริงแล้ว ใครจะรู้ว่า น้ำปนเปื้อน ยาเหล่านั้นไปไหน 

รู้มั้ย \"ยาเหลือใช้\" ทิ้งสูญเปล่า \"พันล้านบาท\" ต่อปี มาร่วมมือกันแก้ไข

รวมถึงยาเหลือใช้ หากนับเป็นค่าใช้จ่ายแล้ว คุณผู้อ่านรู้หรือไม่ ว่าเป็นเงินจำนวนมหาศาล ที่เราทิ้งเปล่าอย่างน่าเสียดาย ประเด็นเหล่านี้ทำให้วันนี้ ทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เดินหน้าโครงการ ขอคืนยาเหลือใช้ เพื่อนำกลับมาใช้อย่างรู้คุณค่า ส่วนยาที่หมดอายุแล้ว ก็จะดำเนินจากทำลายทิ้งอย่างถูกวิถี เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม

รู้มั้ย \"ยาเหลือใช้\" ทิ้งสูญเปล่า \"พันล้านบาท\" ต่อปี มาร่วมมือกันแก้ไข

ผศ.ดร.ภก.ดำรงศักดิ์ เป๊กทอง อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ข้อมูลกับ คมชัดลึก ออนไลน์ ว่า ตามบ้านเรือนเพียงแค่ 1 ตำบล มียาเหลือใช้มากถึง 1 แสนเม็ด หากคิดเป็นมูลค่า เพียงยาเม็ดละ 1 บาท รวมแล้วเป็นเงินจำนวนถึง 1 แสนบาท นี่เพียงแค่ตำบลเดียว หากรวมหลายๆ ตำบล หลายๆ พื้นที่ และรวมทั้งประเทศ มูลค่าของยาเหลือใช้ ที่ทิ้งเปล่า น่าจะมามากถึง "พันล้านบาท" ต่อปี 

 

จึงอยากให้ทุกคนตระหนักในเรื่องนี้ แต่ถึงอย่างไร ปวดไข้ ก็ต้องพบแพทย์ เพื่อรักษา และรับยาตามแพทย์สั่ง แต่เมื่ออาการป่วยดีขึ้น ควรที่จะย้อนกลับหันไปมองยาที่เหลือใช้ ว่า จะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกหรือไม่ แต่เน้นย้ำไม่ควรให้ยาแก่ผู้อื่นด้วยตัวเอง เพราะอาการป่วยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน 

รู้มั้ย \"ยาเหลือใช้\" ทิ้งสูญเปล่า \"พันล้านบาท\" ต่อปี มาร่วมมือกันแก้ไข

 


 

สำหรับประเด็นสำคัญให้ฉุกคิดก่อนทิ้งยา ว่าการเดินทางของยาจะไปไหน หากทิ้งลงชักโครก กดน้ำทิ้ง แม้จะหายไปจากการมองเห็น แต่สุดท้ายน้ำเสียไปไหน ไหลไปปนเปื้อนกันอะไร ห่วงโซ่เมื่อเกิดการปนเปื้อนกระทบใคร ท้ายที่สุดก็ย้อนกับมาทำร้ายตัวเราอย่างไม่คาดคิด น้ำถูกใช้กับพืช เลี้ยงสัตว์ เมื่อเราบริโภค ก็เดินทางย้อนกลับมาสู่ตัวเราได้รับโทษในที่สุด นั่นหมายความว่า เราเองเป็นผู้ที่ก่อปัญหา สร้างมลพิษสิ่งแวดล้อม แต่ก่อนที่จะเกิดปัญหา ควรร่วมมือกันแก้ไข้ ยาเหลือใช้ ควรนำกลับไปคืน ที่สถานพยาบาลที่ตัวเรารับยา เป็นทางออกที่ดีที่สุด

 

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พยายามขับเคลื่อนในเรื่องนี้ ทั้งนี้หากประชาชนไม่รู้จะไปส่งคืนยาเหลือใช้ที่ไหน สามารถส่งมาที่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 เพื่อให้ทางคณะตรวจสอบคุณภาพยา ก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ ต่อลมหายใจผู้ป่วย ลดค่าใช้จ่ายที่ต้องหายไปกับการซื้อยา พร้อมเป็นเซนเตอร์ ให้สถานพยาบาลต่าง ๆ มาเลือกนำยาที่ตรวจสอบคุณภาพแล้ว นำกลับไปใช้ช่วยเหลือคนไข้อื่นๆต่อไป

 

ส่วนยาที่หมดอายุ ก็จะทำลายด้วยความร้อนสูง โดยได้ประสานกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นำเตาเผาเก่ามาใช้ประโยชน์ เผายาให้เป็นเถ้าถ่าน ดักจับควัน เพื่อไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ

รู้มั้ย \"ยาเหลือใช้\" ทิ้งสูญเปล่า \"พันล้านบาท\" ต่อปี มาร่วมมือกันแก้ไข