ข่าว

"ท้าวหิรัญพนาสูร" อีกหนึ่งศรัทธารักษาโรค

"ท้าวหิรัญพนาสูร" อีกหนึ่งศรัทธารักษาโรค

03 ก.พ. 2565

ตำนาน "ท้าวหิรัญพนาสูร" กับแรงศรัทธาความเชื่อ ในการขอพรให้หายจากอาการป่วย จากองค์เทพอารักษ์ประจำพระองค์ ร.6

ก่อนหน้านี้ หมอบี ทูตสื่อวิญญาณ ได้เคยออกมาเล่าถึงตำนานทำนายโรคระบาดเมื่อ 100 ปีก่อน ว่ามีเทพสูรที่ทำหน้าที่คอยดูแลคุ้มครองเจ้านายชั้นสูง ได้ทำนายว่า อีก 100 ปีข้างหน้า จะเกิดโรคระบาดรุนแรงที่รักษาได้ยาก ผู้คนล้มตายจำนวนมาก โดยโรคระบาดจะเลวร้ายที่สุดในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2564 ซึ่งตรงกับสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน สร้างกระแสให้คนพูดถึง "ท้าวหิรัญพนาสูร" จนเป็นที่กล่าวขาน

 

 

 

\"ท้าวหิรัญพนาสูร\" อีกหนึ่งศรัทธารักษาโรค
 

 

“…ธรรมดาเจ้าใหญ่ นายโตจะเสด็จแห่งใดก็ดี คงจะมีทั้งเทวดาและปีศาจฤาอสูรเปนสัมมาทิฏฐิ คอยติดตามป้องกันภยันตราย…”

 

 

\"ท้าวหิรัญพนาสูร\" อีกหนึ่งศรัทธารักษาโรค

"ท้าวหิรัญพนาสูร" หรือที่หลายคนเรียกว่า ท้าวฮู หรือพระเจ้าฮู มีตำนานเล่าขานมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  เมื่อปี พ.ศ. 2450   เมื่อครั้งยังทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จประพาสเมืองลพบุรี คืนหนึ่งมีผู้ตามเสด็จท่านหนึ่งได้มีนิมิตฝันประหลาดเห็นชายหุ่นล่ำสันใหญ่โต ชื่อว่าหิรัญ อสูรชาวป่า มาขอคอยตามเสด็จพระองค์ไม่ว่าจะประทับอยู่ที่ใด จะคอยดูแลและระวังภัยไม่ให้กล้ำกราย  

 

เมื่อทรงทราบถึงพระเหตุการณ์ดังกล่าว พระองค์ท่านจึงทรงมีพระราชดำรัสให้จุดธูปเทียน จัดเตรียมอาหารเซ่นสังเวย ท้าวหิรัญ ในป่าเมืองลพบุรีนั้นทันที และทุกครั้งไม่ว่าจะเสด็จฯ ไปแห่งหนใด ในเวลาค่ำถึงยามเสวย พระองค์จะมีพระราชดำรัสให้จัดอาหารเซ่นสังเวย ท้าวหิรัญ และทำพิธีเชิญติดตามเสด็จจนกลายเป็นธรรมเนียม 

 

\"ท้าวหิรัญพนาสูร\" อีกหนึ่งศรัทธารักษาโรค

 

ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า "ท้าวหิรัญพนาสูร" พร้อมให้ช่างหลวงมาหล่อรูปสัมฤทธิ์ มีการจัดเครื่องเซ่นสังเวย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ช่างหลวงมาหล่อรูป "ท้าวหิรัญพนาสูร" ด้วยทองสัมฤทธิ์ จากนั้นก็ทรงให้ข้าราชบริพารจัดเครื่องเซ่นสังเวย และเชิญ "ท้าวหิรัญพนาสูร" เข้าสถิตในรูปหล่อนั้น แต่งองค์ทรงเครื่องสวมชฎาแบบโบราณ มีไม้เท้าเป็นเครื่องประดับยศแบบไทยโบราณ จำนวน 4 องค์ แต่ละองค์มีความสูง 20 เซนติเมตร ประดิษฐานตามสถานที่ต่างๆ ได้แก่ ห้องพระบรรทม, รถยนต์พระที่นั่ง, กรมมหาดเล็กหลวง และบ้านพระยาอนิรุทธเทวา 


 

\"ท้าวหิรัญพนาสูร\" อีกหนึ่งศรัทธารักษาโรค

ปีพ.ศ. 2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อรูป "ท้าวหิรัญพนาสูร" ขนาดใหญ่ด้วยทองสัมฤทธิ์อีก 1 องค์ ถือไม้เท้าประดับยศ และมีพระราชพิธีบวงสรวงเพื่ออัญเชิญเข้าสิงสถิตภายในศาล ซึ่งตั้งอยู่ในพระราชวังพญาไท เป็นที่รู้จักกันในฐานะเทพารักษ์ผู้ปกปักรักษาพระราชวังพญาไทสืบมาจนถึงปัจจุบัน

 

\"ท้าวหิรัญพนาสูร\" อีกหนึ่งศรัทธารักษาโรค

 

ปัจจุบัน "ท้าวหิรัญพนาสูร" ประดิษฐานอยู่ที่ศาลในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า หรือพระราชวังพญาไทเดิม ด้านหลังของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ประชาชนที่ศรัทธาเดินทางไปกราบไหว้อย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่จะขอในเรื่องของสุขภาพ หรือการรักษาจากอาการป่วยให้หายโดยเร็ว นอกจากนี้ยังมีความเชื่อถึงความศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องของโชคลาภ เงินทองอีกด้วย

 

รูป "ท้าวหิรัญพนาสูร" จึงกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนต่างเคารพกราบไหว้ให้ป้องกันภยันตราย ให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และประสบความสำเร็จในกิจการงานต่างๆ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 


การไหว้ขอพร ต้องใช้ธูป 16 ดอก
คาถาบูชา "ท้าวหิรัญพนาสูร"


ตั้งนะโม 3 จบ และสวดคาถา

ระหินะ ภูมาสี ภะสะติ นิรันตะรัง ลาภะสุขัง ภะวันตุเม (สวด 9 จบ)


ทั้งนี้ส่วนใหญ่ประชาชนที่มากราบไว้ จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ เข้ามาขอพร หากมาบนบานศาลกล่าวจะใช้ธูป 16 ดอก และต้องเจาะจงว่าขอเรื่องอะไร หากสำเร็จจะถวายอะไร ขณะที่หากเดินทางมาแก้บนจะต้องใช้ธูป 16 ดอกพร้อมของถวายเเก้บน

 

\"ท้าวหิรัญพนาสูร\" อีกหนึ่งศรัทธารักษาโรค

 

ทั้งนี้ในส่วนของแก้บนที่ประชาชนจะต้องนำมาถวายนั้น จะเป็นขนุน, บายศรีเทพ, บายศรีปากชาม, บายศรีพรม, หมู, ไก่ต้ม, ไข่ต้ม, ผลไม้สีส้ม, ดอกไม้สีส้ม, ดอกบัว, มะพร้าวอ่อน, ดอกดาวเรือง, น้ำแดง เป็นต้น