ข่าว

โชว์ผลงานวันนักประดิษฐ์ แนวคิด "เด็กไทย" สร้างสรรค์นวัตกรรมไม่แพ้ต่างชาติ

โชว์ผลงานวันนักประดิษฐ์ แนวคิด "เด็กไทย" สร้างสรรค์นวัตกรรมไม่แพ้ต่างชาติ

06 ก.พ. 2565

โชว์ผลงานวันนักประดิษฐ์ ปีนี้เน้นเทรนสุขภาพรับการแพร่ระบาดโควิด-19 เผยแนวคิด "เด็กไทย" สร้างสรรค์นวัตกรรมไม่แพ้ต่างชาติ วอนรัฐปรับแนวทางการศึกษาไปในทิศทางสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างแท้จริง

ปิดฉากไปเรียบร้อยแล้วสำหรับงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2564-65 โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดขึ้นภายใต้แนวคิด วิถีใหม่ ใส่ใจชีวิตสู่สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยมีสิ่งประดิษฐ์จากสถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐและเอกชนเข้าร่วมจัดแสดงมากกว่า 1,000 ผลงาน

 

รศ.ดร.ศิศีโรตม์ เกตุแก้ว กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตัดสินการประกวดผลงานนวัตกรรมงานวันนักประดิษฐ์ครั้งนี้ โดยระบุว่าปีนี้มีการแบ่งเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย อุดมศึกษา อาชีวศึกษาและมัธยมศึกษา ซึ่งในแต่ระดับมีผลงานมาจัดแสดงมากกว่า 100 ผลงานจากการเดินเยี่ยมชมพบว่าปีนี้ผลงานส่วนใหญ่จะเน้นสายสุขภาพและทางด้านการแพทย์ ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีระบาด เพราะฉะนั้นนักศึกษาโดยส่วนใหญ่จึงเน้นสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์อะไรก็ได้ที่จะมาช่วยในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19ให้เบาบางลง

ในส่วนเวทีนานาชาติ ปีนี้จะพูดถึงสิ่งประดิษฐ์ที่นักวิจัยไทยได้นำไปเผยแพร่ในต่างประเทศแล้วนำชื่อเสียงกลับมาประเทศไทย ผลงานเหล่านี้ผู้ประกอบสามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ทันที นวัตกรรมที่เห็นภาพชัดเจนที่สุดจะเป็นอุปกรณ์ช่วยตัดถ่างโครงสร้างรถยนต์ จะช่วยในเรื่องอุบัติเหตุและที่สำคัญราคาถูกกว่าการนำเข้าจากประเทศ มีความแข็งแรงทนทานการใช้งานเทียบเท่ากับต่างประเทศได้เลย 

โชว์ผลงานวันนักประดิษฐ์ แนวคิด \"เด็กไทย\" สร้างสรรค์นวัตกรรมไม่แพ้ต่างชาติ

                                                                รศ.ดร.ศิศีโรตม์ เกตุแก้ว

รศ.ดร.ศิศีโรตม์ เผยต่อว่านอกจากนี้ยังมีหลายผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง ไม่ว่าจะเป็นครื่องล้างมืออัตโนมัติ  เครื่องวัดอุณหภูมิด้วยสแกนใบหน้าซึ่งอันนี้ในภาพรวมเขาทำกันมาแล้ว แต่ในส่วนนักศึกษาได้นำมาต่อยอดพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม แต่ราคาเท่ากับสิ่งที่มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป ในส่วนระดับมัธยมนั้นผลงานส่วนใหญ่เน้นงานวิจัยขั้นพื้นฐานเพื่อจะนำมาต่อยอดมากกว่าในส่วนของอาชีวะหรืออุดมศึกษาที่มีพัฒนาเพื่อไปสู่สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ในอนาคตได้ 

โชว์ผลงานวันนักประดิษฐ์ แนวคิด \"เด็กไทย\" สร้างสรรค์นวัตกรรมไม่แพ้ต่างชาติ

ทีมนักศึกษาเจ้าของผลงานเครื่องกรอเส้นด้ายสำหรับทอผ้าด้วยระบบไฟฟ้าอัตโนมัติ วิทยาลัยเทคนิคลำพูน

 

ในระดับมัธยมเป็นช่วงวัยที่มีอายุไม่มากนัก มีแนวคิดนำวัตถุดิบที่อยู่ใกล้ตัว และความรู้พื้นฐานที่เขามีอยู่นำมาใช้ทำสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมเพื่อจะได้ใช้งานได้จริงในระดับหนึ่ง แต่ในส่วนอาชีวะจะเป็นภาคปฏิบัติมากกว่า เราสามารถนำองค์ความรู้ในภาคปฏิบัติมาสร้างชิ้นงานและสามารถใช้งานได้เลย

โชว์ผลงานวันนักประดิษฐ์ แนวคิด \"เด็กไทย\" สร้างสรรค์นวัตกรรมไม่แพ้ต่างชาติ

ส่วนอุดมศึกษาจะเป็นทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐานและงานวิจัยระดับสูงมาต่อยอดเป็นนวัตกรรมที่ผ่านมาตรฐานการใช้งานแล้วก็จะนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตัดสินการประกวดผลงานฯคนเดิม

โชว์ผลงานวันนักประดิษฐ์ แนวคิด \"เด็กไทย\" สร้างสรรค์นวัตกรรมไม่แพ้ต่างชาติ

ทีมนักศึกษาเจ้าของผลงานสิ่งประดิษฐ์ YOGAER แอพพลิเคชั่นตรวจสอบท่าเล่นโยคะที่ถูกวิธี

 

รศ.ดร.ศิศีโรตม์ กล่าวถึงการสรรสร้างผลงานของ "เด็กรุ่นใหม่" ว่าเป็นความโชคดีของคนรุ่นนี้ที่มีโซเซียลเยอะแยะมากมายที่เข้ามามีอิทธิพลต่อตัวนักวิจัย ทำให้สามารถค้นหาดูสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น   ขณะเดียวกันยังมีแหล่งทุนมากมายในการรองรับ ไม่ว่าจะสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) สวทช.หรือแม้กระทั่งอาจารย์รุ่นใหม่ก็มีทุนวิจัยจากกระทรวงอว.ในการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์เพื่อขับเคลื่อนศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตสู้กับเศรษฐกิจต่างชาติได้ 

โชว์ผลงานวันนักประดิษฐ์ แนวคิด \"เด็กไทย\" สร้างสรรค์นวัตกรรมไม่แพ้ต่างชาติ

จริง ๆ แล้ว "เด็กไทย" สู้กับเด็กต่างชาติได้ไม่ว่าภาคทฤษฎีหรือภาคปฏิบัติ  จึงอยากให้รัฐเข้ามาสนับสนุนในส่วนนี้ให้มากขึ้นไม่ว่าด้านความรู้เทคโนโลยีเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ให้มากขึ้นและปรับแนวทางการศึกษาไปในทิศทางที่นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างแท้จริง ผมว่าคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันได้หันมาสนใจเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากขึ้นเพียงแต่อยากให้สถาบันครอบครัวสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น เพราะสถาบันที่ใกล้ชิดที่สุดคือสถาบันครอบครัวมาสนับสนุนเขาเพื่อที่จะให้เขาสร้างองค์ความรู้ สร้างเพื่อต่อยอดไปสู่การสร้างนวัตกรรม กรรมการฯคนเดิมกล่าวย้ำ

 

นายขจรศักดิ์ ปีนตาติ๊บ นักศึกษา ปวส. สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคลำพูน เจ้าของผลงานสิ่งประดิษฐ์เครื่องกรอเส้นด้ายสำหรับทอผ้าด้วยระบบไฟฟ้าอัตโนมัติได้อธิบายที่มาผลงานชิ้นนี้ว่าเราได้พัฒนาต่อยอดมาจากเครื่องกรอเส้นด้ายแบบดั้งเดิม อันประกอบด้วยเครื่องกรอเส้นด้ายหลอดใหญ่และเครื่องกรอเส้นด้ายหลอดเล็ก โดยนำเอามารวมไว้ในเครื่องเดียวกัน ซึ่งจากแบบเดิมจะทำได้แค่ครั้งละ 1 หลอด แต่เครื่องนี้สามารถทำได้ครั้งละ 6 หลอด กล่าวคือหลอดเล็ก 3 หลอดและหลอดใหญ่ 3 หลอด 

 

วิธีการทำงานของเครื่อง เราจะมีปุ่มสวิตเปิดปิดและสามารถทำงานพร้อมกันได้เลย ถ้าเครื่องมีปัญหาเช่นเส้นด้ายขาด เครื่องก็จะหยุดทำงานแบบอัตโนมัต จนกว่าเราจะต่อเส้นด้ายให้เหมือนเดิม  ประโยชน์ของมันจะช่วยประหยัดเวลาในการกรอด้ายให้กับกลุ่มทอผ้า และถ้านั่งทำนาน ๆ จะเกิดอาการปวดเมื่อยกร้ามเนื้อเป็นโรคกระดูกตามมา

 

ส่วนเครื่องนี้ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ประมาณ 3 หมื่น มีระยะการใข้งานนานหลายปี ตอนนี้เราได้นำไปทดลองที่กลุ่มทอผ้าหลายกลุ่มในจังหวัดลำพูน เช่นกลุ่มของคุณอู๋ไหมไทย กลุ่มของแม่ขนาด กลุ่มแม่สาบ้านตอง เป็นต้น” นักศึกษาเจ้าของผลงานนวัตกรรมเด่นกล่าว

 

ขณะที่ อ.คมกริต น้อยสปุ๋ง อาจารย์สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคลำพูน ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการฯกล่าวเสริมว่า วิทยาลัยเทคนิดลำพูนเป็นวิทยาลัยเพื่อชุมชน เราจะนำนักศึกษาลงพื้นที่ไปดูกลุ่มชุมชนต่าง ๆ เพื่อต้องการรับทราบถึงปัญหาของกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ถึงการผลิตสินค้าในวิถีดั้งเดิม จากนั้นก็จะนำปัญหามาวิเคราะห์และคิดค้นนวัตกรรมเข้าไปช่วย ซึ่งวิทยาลัยก็ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่นกลุ่มทอ กลุ่มผลิตและแปรรูปสมุนไพร กลุ่มผลิตและแปรรูปลำไย เป็นต้น  

 

YOGAER แอพพลิเคชั่นตรวจสอบท่าเล่นโยคะที่ถูกวิธี เป็นอีกหนึ่งผลงานนวัตกรรมในระดับอุดมศึกษาที่ถูกคิดค้นโดยทีมนักศึกษา สถาบันเทคโนดลยีพระจอมเหล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยนายธนกฤต ศรีสุข นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์  หัวหน้าทีมเจ้าของผลงานกล่าวถึงที่มานวัตกรรมชิ้นนี้ว่าเพื่อตรวจสอบวิธีการเล่นโยคะให้ถูกวิธี

 

เนื่องจากส่วนชอบเล่นกีฬาอยู่แล้ว แต่ในช่วงที่โควิด-19 ระบาดสนามกีฬาปิดห้ามทำกิจกรรมออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมข้างนอกมีผู้คนจำนวนมาก อาจเสี่ยงอันตรายจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงได้ร่วมกับเพื่อน ๆ คิดค้นแอพพลิเคชั่นการเล่นโยคะอย่างถูกวิธีเพราะโยคะเป็นกีฬาที่ไม่ใช้อุปกรณ์เยอะ ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก แต่สามารถบริหารร่างกายได้ทุกส่วน รวมถึงรักษาหารปวดหลังจากการเวิร์คฟรอมโฮมด้วย

 

แอพโยคะทั่วไปจะอธิบายเป็นวิดิโออย่างเดียว แต่แอพตัวนี้มีข้อดีตรงที่นี้สามารถตรวจจับสรีระร่างกายของเราได้ว่าการที่เราทำกำลังทำท่านี้อยู่ถูกต้องกี่เปอร์เซนต์หรือควรแก้ไขท่วงท่าไหนบ้าง เนื่องจากท่าโยคะในปัจจุบันเวลาเราโพสท่ามันจะกำหนดเวลาอยู่ที่  3-5 นาที แอพนี้มันจะบอกเราเลย ระบบจะโชว์ขึ้นมาทันทีว่าสำเร็จหรือไม่ ถ้าทำผิดท่าก็จะไม่สำเร็จ หากทำผิดท่าอาจมีผลต่อสุขภาพร่างกายด้วย เจ้าของผลงานคนเดิมกล่าว พร้อมระบุว่าจะเตรียมต่อยอดไปสู่ทางด้านการแพทย์ เพื่อให้ในการทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยต่อไปในอนาคตอีกด้วย