ข่าว

สหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ ร้อง กมธ. ประเด็น "PayPal Thailand "

สหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ ร้อง กมธ. ประเด็น "PayPal Thailand "

09 ก.พ. 2565

สหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ ร้อง กมธ.แรงงาน สภาผู้แทนฯ ประเด็น PayPal Thailand บังคับให้แรงงานอิสระต้องจดทะเบียนนิติบุคคลทำให้ได้รับความเดือดร้อน ขอความชัดเจนจาก "PayPal Thailand" ว่าแรงงานอิสระต้องทำอย่างไรเพื่อให้สามารถใช้บริการทางการเงินระหว่างประเทศไทยได้ต่อไป

เพจผู้ที่เดือดร้อนจากนโยบายใหม่ของ "PayPal Thailand" แจ้งว่าในวันพรุ่งนี้(10 ก.พ.)สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทยหรือ Creative Workers Union Thailand(CUT) ซึ่งรวบรวมรายชื่อได้กว่า 400 รายชื่อจะยื่นหนังสือร้องเรียนประเด็นสภาพการทำงานที่ไม่เป็นธรรมของแรงงานอิสระเนื่องจากการปรับเปลี่ยนนโยบายการให้บริการด้านธุรกรรมทางการเงินของ "PayPal Thailand" ต่อคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร

 

ทั้งนี้สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย(Creative Workers Union Thailand(CUT)) คือ เครือข่ายอิสระที่เกิดจากการรวมกลุ่มของแรงงานด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นแรงงานอิสระที่กำลังตกอยู่ในสภาวะเปราะบางทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างวิกฤตเศรษฐกิจโควิด-19

 

โดยหนังสือระบุว่า สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทยได้รับเรื่องร้องเรียนจากแรงานอิสระหรือฟรีแลนซ์จำนวนกว่า700 ราย ประกอบไปด้วยกลุ่มอาชีพรับจ้างผลิตผลงานด้านทัศนศิลป์ สื่อ และมัลติมีเตีย กลุ่มอาชีพหนังสือและสิ่งพิมพ์ กลุ่มหัตถกรรมและสินค้าทำมือ กลุ่มออกแบบสถาปัตยกรรม และกลุ่มอาชีพอื่น ๆในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ในประเด็นการปรับเปลี่ยนนโยบายการให้บริการด้านธุรกรรมทางการเงินของ "บริษัท เพย์พาล(ประเทศไทย) จำกัด" ซึ่งเป็นตัวกลางที่ให้บริการในการรับฝากโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์จากผู้ใช้งานทั่วโลกส่งผลทำให้แรงงานอิสระที่ทำงานกับต่างชาติจำนวนมากต้องสูญเสียอาชีพและรายได้ 

 

โดยรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2564 มีใจความสำคัญดังนี้ ก่อนวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 ฟรีแลนซ์หรือผู้ขายทั่วไปในประเทศไทย ที่ไม่ใช่ธุรกิจจดทะเบียนในประเทศไทยจะ

ถูกจำกัดความสามารถของบัญชี "PayPal "ทำให้ไม่สามารถรับการชำระเงินหรือพักเงินตามยอดคงเหลือในบัญชี PayPal ประเทศไทย ส่งผลให้แรงงานอิสระผู้ใช้บริการบริษัท เพย์พาล (ประเทศไทย) จำกัด ต้องจดทะเบียนพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดาเพื่อปรับเปลี่ยนให้บัญชี" PayPal" แต่เดิมที่เป็นบัญชีส่วนตัวกลายเป็นบัญชีธุรกิจเพื่อสามารถใช้บริการธุรกรรมทางการเงินได้ต่อไป แรงงานอิสระจำนวนมากจึงได้ดำเนินการจดทะเบียนการค้ากับกระทรวงพาณิชย์จนแล้วเสร็จ 

สหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ ร้อง กมธ. ประเด็น \"PayPal Thailand \"

ทว่าต่อมาได้มีประกาศล่าสุดจากบริษัท เพย์พาล (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์2565 ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากรายละเอียดตามที่ได้ประกาศก่อนหน้านี้อีกครั้ง โดยมีใจความสำคัญดังนี้

 

ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2565 การใช้งานบัญชี PayPal ของฟรีแลนซ์หรือผู้ขายทั่วไปในประเทศไทยจะถูกจำกัด ยกเว้นฟังก์ชันถอนเงินผ่านธนาคาร ซึ่งส่งผลให้แรงานอิสระไม่สามารถรับหรือชำระเงินด้วยบัญชีที่มีอยู่ได้อีกต่อไป เว้นเสียแต่จะเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้นที่จะสามารถสมัครบัญชีธุรกิจใหม่ของ PayPal ประเทศไทยได้
 

ประกาศดังกล่าวได้เปลี่ยนเงื่อนไขการใช้งานบริการธุรกรรมทางการเงินของแรงงานอิสระจากเดิมที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดา ให้จำต้องจดทะเบียนบริษัทสำหรับนิติบุคคลซึ่งบริษัทเพย์พาล(ประเทศไทย) จำกัดได้ระบุไว้ในประกาศว่าการปรับเปลี่ยนนี้ทำเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายในประเทศไทยเนื่องจากการให้บริการของบริษัทเพย์พาลในประเทศอื่นไม่ได้มีการกำหนดเงื่อนไขเช่นนี้ 

 

อย่างไรก็ตามการปรับเปสี่ยนนี้ได้ส่งผลเสียต่อรายอาชีพและรายได้ของแรงงานอิสระในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็นอย่างมากจากการรับเรื่องร้องเรียนจากแรงงานอิสระกว่า700 ราย สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทยพบว่าการปรับเปลี่ยนนโยบายการให้บริการธุรกรรมทางการเงินของบริษัท เพย์พาล(ประเทศไทย)จำกัดได้ส่งผลกระทบกับแรงงานอิสระในประเด็นหลักต่อไปนี้

 

1.สูญเสียอาชีพและรายได้เนื่องจากลักษณะการทำงานของแรงงานอิสระ (Freelance)ไม่เหมาะสมกับการจดทะเบียนนิติบุคคลจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ณ ไตรมาสที่1 ปี 2563 อาชีพคนทำงานอิสระหรือฟรีแลนซ์ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มีจำนวนอยู่ที่ 1.3 แสนคน ประกอบไปด้วย

 

1.กลุ่มอาชีททัศนศิลป์ เช่น นักวาดภาพดิจิทัล งานฝีมือทางศิลปะ นักออกแบบศิลปะ 2. กลุ่มอาชีพสื่อและมัสติมีเดียเช่น ผู้พัฒนาและออกแบบเกมส์ 3. กลุ่มอาชีพหนังสือและสิ่งพิมพ์ เช่น นักเขียน นักแปล 4. กลุ่มอาชีพหัตถกรรมเช่น ผู้ผลิตสินค้าทำมือ 5. กลุ่มอาชีพสถาปัตยกรรม 6. กลุ่มอาชีพนักดนตรี 7. กลุ่มอาชีพศิลปะการแสดง 8.กลุ่มอาชีพผู้ผลิตภาพยนตร์ รวมไปถึงแรงงานสร้างสรรค์ในแขนงอื่น ๆ โดยแรงงานอิสระในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สามารถแบ่งประเภทตามลักษณะการทำงานใด้ 4 ประเภทดังนี้


1. รับจ้างทำของ

การรับจ้างทำของเป็นลักษณะการทำงานที่ใหญ่ที่สุดของแรงงานอิสระในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นการรับจ้างวาดภาพ รับจ้างแปลวรรณกรรม รับจ้างออกแบบสถาปัตยกรรม ฯลฯ โดยส่วนใหญ่ติดต่อจ้างงานผ่านช่องทางออนไลน์รวมถึงแลกเปลี่ยนคำตอบแทนผ่านธุรกรรมการเงินออนไลน์

 

2.ค้าขายสินค้า

การขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ โดยตัวสินค้ามีทั้งแบบเป็นชิ้นจับต้องได้ เช่น รูปวาดบนผืนผ้าใบ สินค้าหัตถกรรมทำมือ และสินค้าแบบเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ภาพกราฟิก

 

3. แรงงานแพลตฟอร์ม

กลุ่มแรงงานอิสระที่ทำงานภายใต้แพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น นักเขียนการ์ตูนบน Line Webtoon, WeCommics นักเขียนนิยายบน ReadAWrite, ธัญวสัยหรือผู้ผลิตวิดีโอบน Youtube ที่ จะได้รับคำตอบแทนตามเงื่อนไขของแพลตฟอร์มนั้นๆ เช่น การจ่ายคำตอบแทนตามยอดผู้เข้าชมคลิปวิดีโอ การแบ่งสัดส่วนเงินจากการขายนิยายให้ผู้เขียนและแพลตฟอร์ม

 

4. รับรายได้จากการบริจาค

กลุ่มผู้ผลิตสื่อออนไลน์ที่มีรายได้จากการบริจาคของผู้รับชมสื่อ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินให้โดยตรงผ่านบัญชีของแรงงาน หรือใช้บริการเว็บไซต์สำหรับการบริจาคผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ เช่น Kofi

 

อย่างไรก็ตาม แรงงานอิสระในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มีจุดร่วมคือความไม่มั่นคงในอาชีพและรายได้เนื่องจากในประเทศไทยมีอัตราค่าแรงการจ้างงานด้านงานสร้างสรรค์ที่ต่ำและมีตลาดการจ้างงานคับแคบ การจ้างงานในกลุ่มอาชีพนี้จึงไม่ต่อเนื่อง

 

ในบางเดือนก็ไม่มีรายได้หรือผู้ว่าจ้าง และส่วนใหญ่เป็นการจ้างงานแบบเดี่ยว
แรงงานในกลุ่มนี้จึงมีทั้งผู้ที่ประกอบอาชีพแรงานอิสระเป็นหลักหรือผู้ที่เป็นแรงงานประเภทอื่นแต่หารายได้เสริมจากการเป็นแรงานอิสระ โดยในจำนวนนั้นอาจจะอยู่ในสถานะนักศึกษาหรือนักเรียนที่มีอายุเริ่มต้นที่ 15 ปีขึ้นไปในแรงงานสร้างสรรค์เหล่านี้

 

มีแรงงานจำนวนมากที่ดำรงชีพด้วยการรับจ้างจากนายจ้างต่างประเทศเพราะแรงงานสร้างสรรค์ไม่สามารถดำรงชีพได้ด้วยการจ้างงานภายในประเทศเพียงอย่างเดียวและบางอาชีพก็ไม่มีผู้ว่าจ้างในประเทศไทย โดยแรงงานเหล่านี้ใช้บริการจาก บริษัท เพย์พาล (ประเทศไทย) จำกัด ในการรับเงินระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านธุรกรรมระหว่างประเทศรายใหญ่และได้รับความนิยมทั้งในไทยและต่างประเทศมากที่สุดบริษัทหนึ่ง การจ้างงานและติดต่อค้าขายส่วนใหญ่ของแรงงานอิสระทั่วโลกจึงทำผ่านบริการของบริษัทนี้ ทั้งช่องทางในการรับเงินยังเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่ผู้ว่าจ้างจะใช้พิจารณาในการเลือกจ้างแรงงานอีกด้วย


ทว่านโยบายใหม่ของบริษัทเพย์พาล (ประเทศไทย) จำกัด ที่บังคับให้แรงงานอิสระต้องจดทะเบียนนิติบุคคล เป็นนโยบายที่ไม่เอื้อต่อรูปแบบการทำงานของแรงงานอิสระดังที่กล่าวในข้างต้นน ดังเหตุผลต่อไปนี้

 

1.แรงงานอิสระในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ส่วนใหญ่อยู่ในสถานะแรงงานรับจ้างทำของ ไม่ใด้เป็นเจ้าของกิจการ

 

2. หากเป็นส่วนของแรงงานอิสระที่เป็นผู้ค้ขายสินค้าก็เป็นร้านค้าขนาดเล็กที่เหมาะสมกับการจดทะเบียนพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดามากกว่า เนื่องจากดำเนินการค้าขายด้วยตัวคนเดียว

 

3. แรงงานอิสระมีการทำงานแบบเดี่ยวแต่การจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลนั้นต้องใช้จำนวนบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

 

4.การจดทะเบียนนิติบุคคลต้องใช้เอกสารและหลักฐานที่ซับซ้อนในการจดทะเบียนราว 10 รายการและอัตราค่าธรรมเนียมกว่า1,000 บาท

 

5. ต้องเดินทางไปจดทะเบียนในหน่วยงานสังกัดกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดซึ่งมีเพียง 87 แห่งทั่วประเทศ

 

6.ต้องใช้เงินหรือทรัพย์สินในการลงทุน

 

7.แรงงานอิสระบางส่วนยังอยู่ในสถานะของนักเรียนและนักศึกษา ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะไม่สามารถจดทะเบียนนิติบุคคลได้

 

8.ต้องจัดทำบัญชีและเอกสารประกอบและยื่นส่งภาษีทุกเดือน ในขณะที่แรงงานอิสระบางส่วนนั้นไม่ได้มีรายได้ประจำทุกเดือน

 

9. และรายละเอียดอื่น ๆ ที่ขับซ้อน ไม่สะดวกต่อการดำเนินการของแรงงานอิสระในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์โดยลำพัง เช่น การจัดทำดวงตราสำคัญของห้าง การจองชื่อห้างหุ้นส่วน การจัดหาหุ้นส่วนและมีการตกลงเรื่องแบ่งส่วนผลกำไรขาดทุน

 

ด้วยความชับซ้อนของกระบวนการเป็นเหตุให้การจดทะเบียนนิติบุคคลส่วนใหญ่ต้องจ้างทนายความในการยื่นเรื่องทว่าแรงงานอิสระในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์นั้นไม่มีทั้งเงินทุนและระยะเวลาที่จะดำเนินการดังกล่าวได้

 

จึงไม่สามารถจดทะเบียนนิติบุค ส่งผลให้ไม่สามารถใช้บริการธุรกรรมทางการเงินของ บริษัท เพย์พาล(ประเทศไทย)จำกัดเป็นเหตุให้แรงงานอิสระในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต้องสูญเสียรายได้และอาจนำไปสู่ในการสูญเสียอาชีพของตนอย่างหลีกเสี่ยงไม่ได้

 

2. เสียผลประโยชน์จากกการปรับเปลี่ยนนโยบายที่ไม่ชัดเจนในระยะเวลาที่กระชั้นชิด การประกาศเปลี่ยนแปลงนโยบายการทำธุรกรรมทางการเงินของ บริษัท เพย์พาล(ประเทศไทย)จำกัด เกิดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 8 พ.ย. 2564 แรงงานอิสระในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้บริการกับทางบริษัทฯ จึงได้ดำเนินการจตทะเบียนพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดาจนเสร็จสิ้นภายในกำหนดวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565

 

ทว่าในภายหลังเมื่อบริษัทเพย์พาล (ประเทศไทย) จำกัด ได้ออกประกาศครั้งที่ 2 ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 บังคับให้ผู้ใช้บริการต้องจดทะเบียนนิติบุคคลภายในวันที่ 7 มีนาคม 2565 นั้น เท่ากับว่าการจดทะเบียนพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดาก่อนหน้าสูญเปล่า อีกทั้งยังให้เวลาผู้ใช้บริการในการจดทะเบียนนิติบุคคลเพียง 1เดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นระยะเวลาที่น้อยมาก

 

3. การจดทะเบียนพาณิชย์มีขั้นตอนการดำเนินงานที่ลำบาก ไม่เอื้อต่อการทำมาหากินของแรงงานอิสระรายเล็ก และไม่ได้รับการปรับปรุงให้เข้ากับการทำงานของแรงงานสมัยใหม่ การจดทะเบียนพาณิซย์ ไม่ว่าจะเป็นในประเภทบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ต่างมีขั้นตอนที่ขับซ้อน ไม่สามารถดำเนินการออนไลน์เพียงอย่างเดียวได้ และมีรายละเอียดที่ไม่ถูกปรับปรุงให้เข้ากับการทำงานของแรงงาน สมัยใหม่ เช่น นักเรียนที่รับจ้างออกแบบกราฟิกจากผู้ว่าจ้างต่างประเทศเป็นครั้งคราวแต่ต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ที่ใช้เวลาดำเนินการหลายวันและต้องเดินทางเข้าตัวเมืองเพื่อยื่นเอกสาร หรือการบังคับให้นักวาดภาพออนไลน์ที่จ้างงานผ่านเว็บไชต์ต้องขึ้นป้ายชื่อร้านด้านหน้าบ้านของตนเอง

 

4.การตีความของ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53)พ.ศ.2564 ที่ไม่เข้าใจสภาพการทำงานของแรงงานอิสระพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฏากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 หรือที่เรียกกันว่า กฎหมาย e- Service ที่ได้เริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2564 ในประเด็นการจัดเก็บภาษีจากผู้ให้บริการต่างประเทศและแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการทางออนไลน์แก่ผู้ใช้ในประเทศไทย ซึ่งเป็นกฎหมายที่ส่งผลให้ บริษัท เพย์พาล(ประเทศไทย) จำกัด ได้ออกประกาศเปลี่ยนแปลงนโยบายการให้ธุรกรรมทางการเงินดังที่เกิดปัญหากับแรงงานอิสระนั้น

 

หน่วยงานภาครัฐไทยได้มีการตีความให้แรงงานอิสระที่ใช้ช่องทางออนไลน์ในการประกอบอาชีพนั้นเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ เพื่อให้เข้ากับการออกกฎหมายการเก็บภาษีดังกล่าว อ้างอิงจากการชี้แจงของ บริษัทเพย์พาล (ประเทศไทย) จำกัด ต่อแรงงานอิสระผู้ใช้บริการ ที่ระบุว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยแจ้งว่าการใช้งานบัญชี PayPalธุรกิจในรูปแบบธุรกิจเจ้าของคนเดียวนั้น เปรียบเสมือนบัญชีประเภทบุคคล ไม่สามารถนำมาใช้งานเป็นบัญชีประเภทธุรกิจได้ซึ่งการตีความกฎหมายนี้ไม่ได้พิจารณาถึงรูปแบบของการทำงานของแรงงานอิสระที่ไม่ได้เป็นเจ้าของธุรกิจออนไลน์แต่ใช้ช่องทางรับเงินจากต่างประเทศในการว่าจ้างงานเท่านั้น


จากผลกระทบต่อแรงงานอิสระในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ดังกล่าว สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย จึงเรียนมายังกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง โปรดดำเนินการแก้ปัญหาของแรงงานอิสระในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ดังต่อไปนี้

 

1. ขอความชัดเจนจากบริษัท เพย์พาล(ประเทศไทย)จำกัด ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านธุรกรรมทางการเงิน ว่าแรงงานอิสระต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อให้สามารถใช้บริการทางการเงินระหว่างประเทศไทยหลังจากวันที่ 7 มีนาคม 2565 โดยเร็วที่สุด

 

2. ให้ บริษัท เพย์พาล (ประเทศไทย) จำกัด ขยายระยะเวลาการให้บริการทางการเงินระหว่างประเทศจนกว่าข้อสรุปเรื่องการจัดการบัญชีให้เหมาะสมกับแรงงานอิสระจะได้รับการแก้ไข

 

3.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขขั้นตอนการจดทะเบียนพาณิชย์ที่ล้าหลังและไม่เอื้อต่อแรงงานอิสระ

 

4.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายของบริษัท เพย์พาล (ประเทศไทย) จำกัดร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร่งด่วน