ข่าว

รู้จัก "โรคขี้เต็มท้อง" ภาวะป่วยของท้องไส้ รู้ทันก่อนระบบขับถ่ายเสียหาย

รู้จัก "โรคขี้เต็มท้อง" ภาวะป่วยของท้องไส้ รู้ทันก่อนระบบขับถ่ายเสียหาย

03 ก.ย. 2565

ทำความรู้จัก "โรคขี้เต็มท้อง" หรือภาวะอุจจาระอุดตัน ท้องใส้เกิดอาการป่วย พวกชอบอั้นระวังให้ดี เปิดพฤติกรรมเสี่ยง พร้อมวิธีดูแลลำไส้ให้สุขภาพดี

จากกรณีที่ "ตุ๊กตา จมาพร" ป่วย "โรคขี้เต็มท้อง" และได้มีการแชร์ประสบการณ์ อาการเบื้องต้น การรักษาเบื้องต้น ไปแล้วนั้นวันนี้จะพาไปทำความรู้จัก "โรคขี้เต็มท้อง" หรือ ภาวะอุจจาระอุดตัน โดย ภาวะอุจจาระอุดตัน หรือ โรคขี้เต็มท้องนั้น คือ ภาวะที่อุจจาระแห้งและอุดตันบริเวณลำไส้ตรง จนไม่สามารถผ่านออกมาได้จนเกิดจากการที่มีปัญหาท้องผูกรุนแรง หรือ ท้องผูกเป็นเวลานาน

 

กลุ่มเสี่ยงภาวะอุจจาระอุดตัน สามารถเกิดขึ้นได้จากฤติกรรมดังนี้

  • กลั้นอุจจาระ อุจจาระไม่เป็นเวลา
  • ดื่มน้ำน้อย ทำให้อุจจาระแข็ง ทำให้ท้องผูก
  • รับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารน้อย
  • รับประทานอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และไขมัน มากเกินไป
  • การออกกำลังกายน้อย ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย ส่งผลต่อการทำงานของระบบขับถ่ายด้วย
  • ลำไส้ทำงานผิดปกติ
  • ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิด ที่ทำให้ลำไส้ลดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NARCOTICS, ยาลดกรด, ยากลุ่มธาตุเหล็กหรืออยากลุ่ม CALCIUM CHANNEL BLOCKERS ซึ่งใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • โรคประจำตัวส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น โรคซึมเศร้า อัลไซเมอร์ ทำให้ขาดการดูแลอาหารการกินที่ดีต่อสุขภาพ

อาการของ "โรคขี้เต็มท้อง" หรือ ภาวะอุจจาระอุดตัน  สามารถพบได้หลายรูปแบบ ดังนี้

  • ปวดท้องแบบบีบๆ
  • เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  • หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่ทั่วท้อง
  • รู้สึกถึงลมในท้องเยอะผิดปกติ ตดเปรี้ยว เลอเปรี้ยว
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้อง
  • ท้องผูก ไม่ถ่ายหลายวัน
  • อุจจาระก้อนเล็ก คล้ายลูกกระสุน  แข็ง บางครั้งมีมูกเลือกปนออกมาจาดว้ย 

รู้สึกว่าอุจจาระแล้ว แต่ยังไม่สุดทำให้ต้องนั่งนาน ยังรู้สึกว่ามีอุจจาระเหลืออยู่ในท้อง ไม่โล่งสบายท้อง 

การขับถ่ายและนั่งถ่ายเพื่อให้ห่างไกลจาก "โรคขี้เต็มท้อง"

1. ฝึกถ่ายอุจจาระให้สม่ำเสมอและเป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายและลำไส้เคยชินกับการขับถ่าย เวลาขับถ่ายที่เชื่อว่าดีที่สุด คือ ตอนเช้าเวลา 5.00 – 7.00 น. หรือหลังอาหารเช้า แต่ถ้าไม่สะดวกในช่วงเวลานี้ อย่างน้อยพยายามหาช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สามารถขับถ่ายได้อย่างเป็นเวลา สม่ำเสมอทุกวัน ควรให้เวลากับการถ่ายอุจจาระอย่างเพียงพอ ไม่เร่งรีบ


2. ดื่มน้ำ 1 แก้วใหญ่ ในตอนเช้าหลังตื่นนอน โดยแนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำปกติ ไม่ควรดื่มน้ำเย็น เพราะน้ำอุ่นจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และจะช่วยกระตุ้นลำไส้ให้เคลื่อนตัวได้ดี ไล่ของเสียในลำไส้ลงมาทำให้ขับถ่ายได้สะดวก


3. อย่ากลั้นอุจจาระ ถ้ารู้สึกปวดก็ควรรีบเข้าห้องน้ำและขับถ่ายทันที  การกลั้นอุจจาระอาจทำให้ลำไส้บีบอุจจาระกลับขึ้นไปที่ลำไส้ อาจทำให้มีอุจจาระที่คั่งค้างที่ผนังลำไส้ได้   ขณะที่เข้าห้องน้ำกำลังขับถ่าย ถ้ายังไม่ปวดอย่าพึ่งเบ่งอุจจาระ เพราะร่างกายจะมีสมดุลการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ ควรรอจังหวะที่ปวดแล้วค่อยเบ่งอุจจาระ เพราะการเบ่งอุจจาระแรงๆ ขณะที่ไม่ปวดจะเหมือนเป็นการกระตุ้นและเพิ่มแรงดันในลำไส้ ทำให้เกิดผลเสียตามมาได้ หากทำบ่อยๆ อาจทำให้ลำไส้โป่งพองเกิดริดสีดวงทวารตามมาได้

4. นวดลำไส้ ถ้าในเด็กให้นวดรอบสะดือ ในผู้ใหญ่ให้นวดตรงท้องด้านล่างซ้ายเลยสะดือไป นวดเบา ๆ โดยค่อยๆ นวดดันลงไปข้างล่าง แล้วทิ้งไว้สักพักจะรู้สึกปวดถ่ายขึ้นมา


5. นั่งถ่ายอย่างถูกวิธี จริง ๆ แล้วท่านั่งที่เหมาะกับการขับถ่ายมากที่สุด คือ นั่งยอง ๆ เพราะจะมีแรงกดจากหน้าขาช่วยให้ขับถ่ายได้คล่องที่สุด แต่ปัจจุบัน ห้องน้ำส่วนใหญ่เป็นชักโครกสำหรับนั่งซึ่งทำให้มีแรงเบ่งอุจจาระที่น้อยกว่า ดังนั้นควรมีท่านั่งที่ถูกต้องช่วยให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น ท่าถ่ายอุจจาระที่เหมาะสม คือ โค้งตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย ถ้าเป็นเด็กและเท้าเหยียบไม่ถึงพื้น ควรมีที่รองเท้าให้เด็ก เพื่อให้ออกแรงเบ่งอุจจาระได้ดีขึ้น คนที่ขับถ่ายยาก ขณะขับถ่ายอาจใช้มือกดท้องด้านซ้ายล่างก็จะช่วยกระตุ้นให้ลำไส้เคลื่อนตัวได้ดีขึ้น


ที่มา: acare