ข่าว

อาการ  "Long COVID" พบกระทบอวัยวะสำคัญอีก 1 อย่าง ทำเหนื่อยหอบเรื้อรัง

อาการ "Long COVID" พบกระทบอวัยวะสำคัญอีก 1 อย่าง ทำเหนื่อยหอบเรื้อรัง

10 ก.พ. 2565

อาการภาวะ "Long COVID" ข้อมูลพบส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญภายใน ทำระบบหายใจบกพร่อง เหนื่อยเรื้อรัง ใครบ้างอยู่กลุ่มเสี่ยงเจออาการรุนแรง

ภาวะ "Long COVID" สามารถเกิดขึ้นได้หลายระบบในร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด  ผู้ป่วยเมื่อหายจากการป่วย โควิด 19 แล้ว และมีอาการคล้ายเป็นโควิด 19 หลัง 3 เดือนขึ้นไป กลุ่มอาการเหล่านี้ เรียกว่า ภาวะ  "Long COVID" สามารถเกิดขึ้นได้หลายระบบในร่างกาย ได้แก่ 

 

  • ระบบทางเดินหายใจ 
  • ระบบประสาท 
  • ระบบทางเดินอาหาร 
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด 

อย่างไรก็ตาม โดยภาวะ "Long COVID" มักพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย รวมถึงผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักตัวมาก ผู้มีประวัติเป็นโรคหัวใจ ผู้ที่มีอาการติดเชื้อโควิด 19 ที่รุนแรง และผู้สูงอายุ อาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะ"Long COVID" คือ 

  • เจ็บหน้าอก 
  • ใจสั่น 
  • เหนื่อยเรื้อรัง 
  • ไอเรื้อรัง


สำหรับแนวทางการดูแลตนเองในผู้ป่วยที่เพิ่งหายป่วย ควรฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ด้วยการออกกำลังกาย ชนิดแอโรบิคแบบเบาๆ และฝึกการหายใจแบบช้าและลึก เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจมีความแข็งแรง และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่  พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงมลภาวะทางอากาศ  และหากพบว่ามีอาการภาวะ  "Long COVID"  กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ควรพบแพทย์      

 

อาการ  \"Long COVID\" พบกระทบอวัยวะสำคัญอีก 1 อย่าง ทำเหนื่อยหอบเรื้อรัง

ด้านรศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊ค นิธิพัฒน์ เจียรกุล บางช่วงบางตอนว่า คนที่ป่วยด้วยโควิดจากโอไมครอน ส่วนใหญ่จะเป็นแบบไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง แต่จะมีบางส่วนของคนกลุ่มนี้ที่เมื่อหายแล้วยังไม่สามารถมีกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เนื่องจากรู้สึกเหนื่อยง่ายขึ้นกว่าเดิมก่อนป่วย ได้มีการศึกษาในคนอเมริกันจำนวน 10 คนที่มีคุณสมบัติดังกล่าว

 

โดยติดตามการทำงานของปอดและหัวใจขณะออกกำลังด้วยการขี่จักรยานอยู่กับที่ (cycle ergometer cardiopulmonary exercise testing) พบว่ามีการลดลงอย่างมากของสมรรถภาพการออกกำลังกาย เป็นผลจากเนื้อเยื่อทั่วร่างกายโดยพาะกล้ามเนื้อ ไม่สามารถดึงออกซิเจนไปใช้งานได้ดีเพียงพอ โดยที่การทำงานของหัวใจยังเป็นปกติ แต่การทำงานของปอดยังมีความบกพร่อง อันเป็นผลากการออกแรงหายใจมากเกินควร (exaggerated hyperventilatory response) ทั้งที่ขณะป่วยส่วนใหญ่ไม่เกิดปอดอักเสบโควิดชัดเจน