"โพล" ชี้ผู้ปกครองกังวล ผลกระทบ "วัคซีนโควิด" ที่ฉีดให้กับเด็ก
นอกจากต้องแบกภาระค่าอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ที่ไม่ตอบโจทย์แล้ว "โพล" ยังระบุว่าผู้ปกครองยุคโควิดไม่มั่นใจ "วัคซีนโควิด" ที่ฉีดให้เด็ก ทั้งเรื่องประสิทธิภาพและผลกระทบ
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีบุตรหลานในวัยเรียน เรื่อง "หัวอกผู้ปกครองในยุคโควิด-19" จำนวนทั้งสิ้น 1,089 คน ระหว่างวันที่ 7-10 กุมภาพันธ์ 2565 พบว่า ผู้ปกครองมีบุตรหลานที่ต้องดูแลรับผิดชอบเฉลี่ยไม่เกิน 2 คน แต่มีภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเทอมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเรียนมากที่สุด
ร้อยละ 78.26 รองลงมาคือ ค่าอาหารการกิน ร้อยละ 76.23
เรื่องที่หนักใจที่สุดของผู้ปกครองคือ การวัคซีนโควิต-19 ร้อยละ 83.79
รองลงมาคือ การเรียนออนไลน์ ร้อยละ 70.63
ส่วนมากไม่ค่อย อยากให้มีการเรียนการสอนออนไลน์ ร้อยละ 55.52
อยากให้โรงเรียน/สถานศึกษาออกแบบการเรียนการสอนที่สนุกและได้สาระความรู้ ไม่เครียด บรรยากาศการเรียน ร้อยละ 87.42 ทั้งนี้ค่อนข้างมีความกังวลกับการฉีตวัคซีนให้กับเด็ก (อายุ 5 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 45.54 สิ่งที่กังวลใจคือเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน โควิดร้อยละ 72.72 และมองว่าสำหรับการป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มบุตรหลานนั้นต้องฉีดวัคซีนและป้องกันตัวเองอย่างเข้มงวดควบคู่กัน ร้อยละ 66.75
โพลยังระบุว่าปัจจุบันผู้ปกครองมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นมากในเรื่องการเรียนของบุตรหลาน อันเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีการเรียนออนไลน์เป็นหลัก ทำให้ผู้ปกครองมีภาระคำใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง และการเรียนออนไลน์ยังคงเป็นปัญหากับผู้ปกครองแ และเด็กในหลาย ครอบครัว โดยเฉพาะในครอบครัวที่เป็นเด็กเล็ก ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากครูและโรงเรียนอาจไม่ตอบโจทย์การเรียนทำกิจกรรมยังไม่หลากหลาย ไม่น่าสนใจ ทำให้ผลลัพธ์การเรียนรู้ของบุตรหลานยังไม่ดีเท่าที่ควร จากนี้ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังมีความกังวลในเรื่องของสุขภาพและการฉีดวัคซีนโควิดเป็นอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลงานวิจัยต่าง ๆ เช่น ประสิทธิภาพ ของวัคซีน และอาการข้างเคียงยังมีไม่มากพอ และการฉีดวัคซีนยังไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100% อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองก็ยังคงปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขคือการฉีดวัคชื่น และให้บุตรหลานป้องกันตนเองอย่างเข้มงวด
จากผลโพลจะเห็นวิกฤติเด็กไทยที่อัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ชัดเจนจากจำนวนบุตรหลานที่ผู้ปกครองดูแลมีประมาณ1-2 คน เท่านั้น แต่ถึงกระนั้นกลับมีภาระค่าใช้จ่ายการเลี้ยงดูอยู่ไม่น้อย และโควิด-19 ก็ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทั้งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ การเรียนออนไลน์ อาหาร การกิน ยิ่งไปกว่านั้นคือการต้องตัดสินใจเกี่ยวกับวัคซีนโควิดของบุตรหลานที่ยังไม่มั่นใจทั้งเรื่องประสิทธิภาพและผลกระทบ แต่ต้องฉีดตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุข