ปลด "โควิด19" จาก ucep ยังคงรักษาฟรี รักษาตัวที่บ้านยัง "เบิกประกันโควิด" ได้
สธ.แจงยิบ ถอด "โควิด19" จาก ucep ประชาชนยังมีสิทธิรักษาฟรี เช็คแบบละเอียดแต่ละสิทธิเข้าสู่ระบบการรักษาโควิดฟรียังไง เผยรักษาโควิดที่บ้าน แบบ Home Isolation "เบิกประกันโควิด" ได้
นพ.ธงชัย กีรติหัตยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวระหว่างแถลง การรักษาโรคโควิด-19 ตามสิทธิการรักษาพยาบาล ว่า จากกรณีการถอด "โควิด19" ออกจากโรควิกฤตฉุกเฉิน UCEP และเข้าสู่ระบบการรักษาตามสิทธิของประชาชนนั้น ต้องชี้แจงว่า
UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้สามารถ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจน พ้นวิกฤตและสามารถคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง โดยอาการที่จัดว่าอยู่ภาวะฉุกเฉินได้แก่
- หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
- หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง
- ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
- เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
- แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
- อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หากพบอาการที่เข้าข่าย
ในกรณีที่เกิดการระบาดของ "โควิด19" เมื่อ 2 ปีที่แล้วมีผู้ป่วยจำนวนมาก สธ.จึงมีแนวทางการนำเอา UCEP เข้ามาควบคุมโรค เพื่อให้สามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาให้ได้มากที่สุด ระยะแรกให้บริการเฉพาะโรงพยาบาลรัฐ ต่อมาได้ขยายไปยังโรงพยาบาลเอกชน และขยายไปโรงพยาบาลสนามเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ แต่ปัจจุบันเรามีความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับโควิดมากยิ่งขึ้น เรารู้ว่าจะต้องรักษา และรับมือกับโควิดอย่างไร ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการน้อยมากไม่จำเป็นจะต้องมารักษาที่รพ.ก็ได้ มีเพียง 10% ที่ต้องเข้ารับบการรักษาที่โรงพยาบาลโดย UCEP โควิดได้มีการสำรองเตียง ไว้สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นเท่านั้น เพราะฉะนั้นทุกคนสามารถดูแลตนเองที่บ้านได้ และจะไม่แพร่เชื้อไปยังผู้อื่น ดังนั้นรักษาผ่านระบบ UCEP เพื่อให้ประชาชนได้รับการรักษาความรวดเร็ว จะดูแลรักษาผู้ป่วยที่วิกฤต ซึ่งขณะนี้มีเตียงรองรับผู้ป่วยวิกฤตกว่า 30,000 กว่าเตียง เตียงรองรับผู้ป่วยอาการน้อย130,00 เตียง สามารถขยายเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยรุนแรงได้ด้วย
ด้าน ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สำหรับสิทธิการรักษาโควิดตามสิทธิต่าง ๆ คนไทยทุกคนมีสิทธิการดูแลรักษาประจำตัวอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น บัตรทอง ประกันสังคม สิทธิข้าราชการ ในช่วงที่เกิด "โควิด19" ระบาดได้มีการเสนอให้เกิดกลไก UCEP เพื่อให้ผู้ที่ติดโควิดสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที แต่สถานการณ์ปัจจุบันพบว่าโอไมครอนอาการน้อยมาก และบางกรณีประชาชนนิยมเข้าไปรักษาโควิดในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ เป็นจำนวนมากทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถดูแลผู้ป่วยคนอื่น ๆ ได้ ดังนั้นจากการประชุมจึงเห็นชอบว่าควรจะปรับให้การรักษาโควิด-19 ตามสิทธิ และยังได้รับการรักษาฟรี เช่นเดิม ดังนั้นเพื่อให้เกิดระบบที่ดีจัดระบบบริการต่าง ๆ ส่วนการเตรียมความพร้อมรองรับให้ผู้ป่วยโควิดกลับไปรักษาตามสิทธิที่ติดตัว ได้มีการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับผู้ป่วยไว้แล้ว
โดยมีรายละเอียดดังนี้ การเข้าสู่ระบบการรักษา "โควิด19" ดังนี้
- กรมบัญชีกลาง ข้าราชการที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ สามารถเบิกจ่ายค่าสวัสดิการรักษาสวัสดิการการักษาได้ตามสิทธิ
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้ถือบัตรทองสามารถรักษาได้ทุกโรงพยาบาลที่เป็นเครือข่ายของสปสช.
- ประกันสังคม อยู่ระหว่างการประชุมคณะกรรมการแพทย์ 15 ก.พ. 2565 แต่คาดว่าน่าจะสามารถเข้ารับการรักษาได้ตามโรงพยาบาล เครือข่าย
- กองทุนเศรษฐกิจสุขภาพ และหลักประกันสุขภาพ ประกันสุขภาพต่างด้าว
-แรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามเข้ารับการรักษาที่ขึ้นทะเบียน และสำนักการแพทย์
-ต่างด้าวไร้สิทธิ เข้ารับการรักษาเข้ารับสิทธิตามโรงพยาาบาลสังกัดรัฐ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักการแพทย์ กทม.
-บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ เข้ารับ ตามโรงพยาาบาลสังกัดรัฐ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักการแพทย์ กทม.
ส่วนการเข้าสู่ระบบ HI ก็สามารถประสานโรงพยาบาลในเครือข่าย หรือตามสิทธิการรักษาได้ แต่หากอาการผิดปกติสามารถเข้าใช้ระบบ UCEP ไรักษาได้ทุก รพ.ทันที ยังเป็นการรักษาฟรีตามสิทธิต่าง ๆ แต่หากรักษาในรพ.เอกชนก็ต้องเสียค่าใช้จ่าย
สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยใช่สิทธิตามประกันชีวิต ก็ให้ถือสิทธิการคุ้มครองให้เป็นไปตามกรมธรรม์ อย่างไรก็สธ. จะ ทำหนังสือยืนยันไปยัง คปภ. ว่าผู้ป่วยโควิด-19 เป็นผู้ป่วยที่สธ.ได้ออกแบบไว้ มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามที่ทำประกัน ไม่ว่าจะเป็น โฮสพิเทล หรือ HI ถือว่าเป็นสถานพยาบาลตามกำหนด ยืนยันยังไม่ยกเลิกระบบฮอทพิเทล ซึ่งเป็นประกาศของ สธ.เพื่อดำเนินการขึ้นมารองรับผู้ป่วย สำหรับใช้ในการดูแลประชาชนยังมีประโยชน์อยู่