ข่าว

เสี่ยง "น้ำมันรั่วไหลลงทะเล" อีก หลังแชร์ว่อน เอกสาร SPRC ขอซ่อมท่อน้ำมัน

เสี่ยง "น้ำมันรั่วไหลลงทะเล" อีก หลังแชร์ว่อน เอกสาร SPRC ขอซ่อมท่อน้ำมัน

17 ก.พ. 2565

เอกสาร SPRC ส่งถึง สภ.มาบตาพุด หลุดแชร์ว่อนเนต ขอซ่อมท่อส่งน้ำมัน เพราะเจอจุดที่มีความเสียหายเพิ่ม มีความเสี่ยงเกิด "น้ำมันรั่วไหลลงทะเล" อีก

หลังเกิดเหตุการณ์ "น้ำมันรั่วไหลลงทะเล" ของ บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) รั่วไหลลงทะเล เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 ซึ่งคราบน้ำมันได้ลอยเข้ามาเกยฝั่ง ทำความเสียหายที่ชายหาดแม่รำพึง โดยบริษัทแจ้งว่ามีจำนวน 47,000 ลิตร ท่ามกลางของสังเกตของหลายฝ่ายว่าจำนวนน้ำมันที่รั่วจริงอาจมีมากกว่านี้ โดยคำนวณจากสารเคมีที่ใช้สลายคราบน้ำมัน

ต่อเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่ง SPRC มีหนังสือแจ้งเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ถึงผู้อำนวยการสำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ประกาศภาวะฉุกเฉินน้ำมันรั่วไหล เทียร์ 1 (น้ำมันรั่วไหลขนาดเล็ก ไม่เกิน 20 ตัน) พบฟิล์มน้ำมันดิบ (สีเงิน) บริเวณทิศเหนือ ห่างจากทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบทุ่นเดี่ยวกลางทะเล หรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล (SPM) ประมาณ 3 ไมล์ ครั้งนี้บริษัทระบุมีน้ำมันรั่ว 5,000 ลิตร ซึ่งเป็นเหตุการณ์ซ้ำสองในเวลาไม่ถึงเดือน 

เสี่ยง \"น้ำมันรั่วไหลลงทะเล\" อีก หลังแชร์ว่อน เอกสาร SPRC ขอซ่อมท่อน้ำมัน

ล่าสุดในโลกออนไลน์พบว่ามีแชร์หนังสือของ SPRC ส่งถึงสถานีตำรวจภูธรมาบตาพุด จ.ระยอง เรื่อง แจ้งขอปฏิบัติงานพันท่อเพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำมัน โดยแนบหนังสือขั้นตอนหยุดการซึมของน้ำมันและพันปิดรอยรั่วที่ท่ออ่อนใต้ทะเล  ซึ่งแสดงว่าพบจุดเสี่ยงน้ำมันรั่วของท่อขนถ่ายน้ำมันกลางทะเลระยองเพิ่มขึ้นอีก

รายละเอียดของหนังสือดังกล่าว อ้างถึงรายงานการเคลื่อนย้ายท่ออ่อนก่อนหน้านี้ทำให้สำรวจพบจุดที่เสียหายเพิ่ม จึงต้องนำวัสดุมาคลุมท่ออ่อนในจุดดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำมัน จึงทำหนังสือขออนุญาตดำเนินการ ซึ่งต้องทำโดยเร็วเพื่อป้องกันน้ำมันรั่วไหลลงทะเล ทั้งนี้หนังสือยังระบุถึงการส่งผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทต่าง ๆ เข้าดูแลควบคุมการปฏิบัติการ โดยคาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการ 3 วัน

นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับการเตรียมการรองรับกรณีฉุกเฉิน คือ

เสี่ยง \"น้ำมันรั่วไหลลงทะเล\" อีก หลังแชร์ว่อน เอกสาร SPRC ขอซ่อมท่อน้ำมัน

     1. ติดตั้งเต็นท์ดักจับน้ำมันบริเวณด้านบนของจุดรอยรั่ว
     2. เตรียมเรืออย่างน้อย 10 ลำ สำหรับลากบูมอย่างน้อย 5 ปาก โดยเรือทุกลำสามารถใช้สำหรับฉีดสารขจัดคราบน้ำมัน dispersant
     3. เตรียมเรืออย่างน้อย 3 ลำ สำหรับการฉีดสาร dispersant พร้อมแขนฉีด
     4. ติดตั้งทุ่นกักน้ำมัน (boom) และอุปกรณ์กวาดน้ำมัน (skimmer) บริเวณที่ปฏิบัติงาน
     5.นักดำน้ำ ดำบริเวณจุดที่มีรอยรั่ว เพื่อสังเกตุตลอดเวลาการทำงาน พร้อมโดรนใต้น้ำเพื่อบินสำรวจใต้ทะเล
     6. โดรนอากาศยาน เพื่อบินสำรวจทางอากาศ