"ประกันสังคม" ใช้สิทธิรักษา "โรคซึมเศร้า" ได้หรือไม่ เช็ครายละเอียดขั้นตอน
"โรคซึมเศร้า" โควิดทำคนป่วยจิตเวชสูงขึ้น "ประกันสังคม" พร้อมดูแลผู้ป่วยซึมเศร้า อาการจิตเวชทุกประเภท เช็คสิทธิรักษาฟรี ขั้นตอนขอความช่วยเหลือที่นี่
สำนักงานประกันสังคม อัปเดตแนวทางการให้บริการของ "ประกันสังคม" เกี่ยวกับการเข้ารับคำปรึกษาอาการป่วย "โรคซึมเศร้า" หรืออาการจิตเวช โดยระบุว่า รายงานของกรมสุขภาพจิตในปี 2564 ที่ผ่านมาพบว่าโควิด - 19 กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้คนไทยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น ว่าแต่โรคซึมเศร้าคืออะไรกันล่ะ?
"โรคซึมเศร้า" คือความผิดปกติของการหลั่งสารเคมีในสมองจนส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ นั่นเลยเป็นสาเหตุว่าทำไมผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าจึงมักจะอาการเศร้าหมอง หดหู่ มองโลกในแง่ลบ และมักจะรู้สึกเบื่อหน่ายอยู่เสมอ โดยที่ปัจจุบันมีคนไทยที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากถึง 1.5 ล้านคนทีเดียว
อาการแบบไหนควรตรวจ "โรคซึมเศร้า"
1.ท้อแท้สินหวัง หงุดหงิดง่าย
2.ขาดความกระตือรือร้น
3.เบื่ออาหาร/อยากอาหารมากขึ้น
4.นอนมาก /น้อยกว่าปกติ
5.เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
6.รู้สึกไร้ค่าโทษตัวเอง
7.สมาธิและการตัดสินใจลดน้อยลง
ไม่แปลกถ้าคุณจะพบว่า มีคนใกล้ตัวป่วยเป็น "โรคซึมเศร้า" แต่อย่าเพิ่งเป็นกังวลไปจนเกินไป เพราะโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หาย โดยที่ผู้ป่วยเองก็มีโอกาสจะกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้อีกครั้งหนึ่ง
ประกันสังคมเองก็ให้ความคุ้มครองในการรักษา "โรคซึมเศร้า"ไปจนถึงโรคจิตเวชทุกประเภท หากพบว่ามีอาการสุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคซึมเศร้า เราแนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ทันที โดยที่คุณสามารถรับสิทธิการดูแลรักษาได้ฟรี ไม่เสียต่าใช้จ่ายที่ โรงพยาบาลตามสิทธิ
ทั้งนี้ หากสถานพยาบาลตามสิทธิไม่สามารถรักษาได้ก็จะส่งตัวไปรักษาที่สถานพยาบาลที่มีศักยภาพในการ ให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน
ตรวจสอบโรงพยาบาลตามสิทธิของคุณได้
โดยลงทะเบียนผ่านไลน์ https://bit.ly/linessothai
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสายด่วน 1506
www.sso.go.th