ข่าว

"โควิด19" ลามนร.ติดเชื้อพุ่ง ศธจ.บุรีรัมย์ สั่งปิดเรียนยกจังหวัด

"โควิด19" ลามนร.ติดเชื้อพุ่ง ศธจ.บุรีรัมย์ สั่งปิดเรียนยกจังหวัด

22 ก.พ. 2565

ศธจ.บุรีรัมย์ ออกหนังสือด่วนที่สุด สั่งสถานศึกษาปิดเรียนทั้ง 1,500 แห่ง ให้งดเรียนออนไซต์ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง หลัง "โควิด19" ลามหนัก ยอดนักเรียนติดเชื้อพุ่งไม่หยุด

แพทย์เตือนแล้ว การแพร่ระบาดของ “โควิด19” รอบนี้ระบบสาธาธรณสุขไทยทำได้2อย่าง คือ ลดจำนวนผู้ติดเชื้ออาการหนัก และลดจำนวนผู้เสียชีวิต ส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อคาดจะเพิ่มเนื่อง ไม่เว้นในกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา ล่าสุดพบมีการสั่งปิดเรียนยกจังหวัด1,500เเห่ง หลังยอดนักเรียนติดเชื้อ “โควิด19” พุ่งไม่หยุดเกือบ700ราย

 

โดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ (ศธจ.บุรีรัมย์) ได้ ออกหนังสือด่วนถึงสถานศึกษาทั้งจังหวัดกว่า1,500เเห่งขอความร่วมมือให้งดเรียนออนไซต์ ปรับเป็นเรียนออนไลน์


ด้านประกาศณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ ให้สถานศึกษาทุกสังกัด จัดการเรียนการสอน ในรูปแบบ Online On-air On-demand หรือ On-hand ทดแทนการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาตั้งแต่ 21 ก.พ.65 - 2 มี.ค. 65หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

 

สำหรับยอดล่าสุดข้อมูลวันที่ 20ก.พ.65นักเรียนติดโควิดสะสมแล้ว 689 รายมีทั้งนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับมหาวิทยาลัย

โดยประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์เรื่อง การป้องกันการระบาดใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. ๒๕๖๕ กำหนดมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ในโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท จังหวัดบุรีรัมย์โดยที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเฉพาะเชื้อไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron)สามารถแพร่ได้เร็วและมีโอกาสทำให้ติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ และประเทศไทย

 

ได้ตรวจพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจของภาคประชาชนในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจังขันแข็งของพนักงานเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายปกครอง และ ฝ่ายความมั่นคง ได้ช่วยให้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อยู่ภายใต้การควบคุม

 

อย่างไรก็ดี ยังคงต้องเพิ่มการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมการระบาดในบางพื้นที่เสี่ยงที่พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อน โดยเฉพาะในชุมชน หรือสถานที่เสี่ยงที่มีการรวมกลุ่มของบุคคล มิให้ได้รับการแพร่ระบาดของเชื้อโรคดังกล่าวในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษานั้น ๆ

จึงเห็นควรกำหนดมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท จังหวัดบุรีรัมย์อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา ๒๒ (๗) และมาตรา ๓๔ (๑) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๖ (๑) ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และ ข้อ ๗ (๑)ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘(ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์

 

โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ ในคราวประชุมครั้งที่ /๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ จึงเห็นควรออกประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ เรื่อง การป้องกันการระบาดใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา20 19 พ.ศ. ๒๕๖๕ กำหนดมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท จังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้

 

ข้อ1 ประกาศนี้เรียกว่า“ ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ เรื่อง การป้องกันการระบาดใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ..ศ. ๒๕๖๕ กำหนดมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท จังหวัดบุรีรัมย์ ”

 

ข้อ 2 ประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

 

ข้อ 3 ให้ผู้บริหาร เจ้าของ ผู้จัดการหรือผู้ดูแลโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ทุกแห่ง ต้องจัดให้บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียนในโรงเรียนหรี่อสถาบันการศึกษาทุกประเภทต้องจัดให้มีการจัดการเรียนการสอน ในรูปแบบการเรียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Online) การเรียนผ่านระบบทางการเรียนทางไกล (On Air) การเรียนผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ (On Demand)

 

และ การเรียนแบบการจัดใบงานหรือแบบฝึกหัดเป็นชุดให้ผู้เรียนนำไปเรียนรู้ด้วยตนเองที่บ้าน โดยมีผู้สอนคอยติดตามผลเป็นระยะ(On Hand) ได้ตามความเหมาะสมที่กระทรวงศึกษาธิการหรือกระทรวงอื่นๆ ที่รับผิดชอบกำหนดทดแทน

 

ข้อ ๔ เมื่อโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท ที่จะดำเนินการจัดการเรียนการสอนปกติ (On Site)ก่อนเปิดทำการจัดการเรียนการสอนปกติ (On Site) ให้นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ต้องตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เบื้องตันด้วยชุดตรวจอย่างง่าย (Antigen Test Kit :ATK) เป็นลบภายใน ๗๒ ชั่วโมง เฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ หรือนักเรียน/ผู้ปกครองที่เดินทางกลับมาจากต่างจังหวัดหรือพื้นที่เสี่ยง หรือผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) หรืออยู่ในพื้นที่/ชุมชนที่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงสามารถดำเนินการจัดการเรียนการสอนปกติ (On Site) ได้

 

 ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ข้อ 3 และข้อ 4มีโทษตามนัย มาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท และ มีความผิดตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

 

อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้ผู้ใดใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา ๓๐วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙

ประกาศ ณ วันที่ 19เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

(นายธัชกร หัตถาธยากูล)

ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์

ประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์

ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดบุรีรัมย์