"รักษาโควิด" แบบ Home Isolation หากอาการทรุดลง ควรปฏิบัติตัวอย่างไร
"รักษาโควิด" แบบ Home Isolation หากอาการทรุดระหว่างกักตัว ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เช็คอาการเบื้องต้นมีลักษณะแบบไหนต้องรีบส่งโรงพยาบาล คนกลุ่มใหนทำ HI ได้บ้าง
อัปเดตสถานการณ์การการะบาดของโควิด19 ซึ่งพบว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น แต่อาการไม่รุนแรง ส่วนใหญ่สามารถดูแล และเข้าสู่ระบบการ "รักษาโควิด" แบบ Home Isolation (HI)ได้ แต่สิ่งที่ยังเป็นเรื่องน่ากังวล คือ หากทำ HI ที่บ้านแล้วอาการทรุดลงเปลี่ยนสถานะจากผู้ป่วยสีเขียว เป็นผู้ป่วยสีเหลืองจะทำอย่างไรก็ โดยล่าสุด สำนักงานส่งเสริมหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ได้มีการกำหนดแนวทางการ"รักษาโควิด" สำหรับการทำ HI ไว้ดังนี้
การดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงแบบผู้ป่วยนอก และแยกกักตัวที่บ้าน(Home Isolation) ยังคงให้บริการควบคู่ ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสะดวกในการเข้ารับบริการของผู้ป่วย โดยทั้ง 2 บริการจะมีการให้บริการที่ต่างกันเพียงบางส่วน ดังนี้
- บริการติดเชื้อโควิดฯ แบบผู้ป่วยนอก แยกกักตัวที่บ้าน จ่ายยาตามอาการ บริการโทรติดตามอาการเมื่อครบ 48 ชั่วโมง มีระบบส่งต่อรักษาเมื่ออาการแย่ลง
- บริการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้าน หรือ Home Isolation แยกกักตัวที่บ้าน จ่ายยาตามอาการ บริการโทรติดตามอาการทุกวัน ได้รับอุปกรณ์ตรวจประเมินอาการ มีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง และได้รับอาหาร 3 มื้อ ในช่วงที่รับการดูแล
การ "รักษาโควิด" ทั้ง 2 รูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น เข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ ซึ่งบริการติดเชื้อโควิดฯ แบบผู้ป่วยนอกจะเข้ามาช่วยเสริมในกรณีผู้ป่วยที่เข้าสู่ระบบ Home Isolation แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับจากหน่วยบริการ ซึ่งการให้บริการจะแตกต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น หากพบว่าอาการของผู้ติดเชื้อเริ่มแย่ลง จากผู้ป่วยอาการสีเขียว เข้าสู่ผู้ป่วยอาการสีเหลือง สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ที่มีการสอบถามอาการได้ทันที เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำตัวผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาพยาบาล และติดตามอาการโดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 วัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1330 ตลอด 24 ชม. หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nhso
สำหรับประชาชนที่ "รักษาโควิด" รูปแบบ Home Isolation สามารถสังเกตุอาการที่เข่าข่ายอันตราย และควรรีบติดต่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันที ดังนี้
- Oxygen Saturation < 96%
- อุณหภูมิร่างกาย > 38 องศาเซลเซียส
- อาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก
- อาการเจ็บ ปวด แน่นหน้าอกอย่างต่อเนื่อง
- ไม่รู้สึกตัว ปลุกไม่ตื่น ไม่ตอบสนอง
- เล็บและริมฝีปากซีดลง หรือมีสีคล้ำขึ้น
คุณสมบัติของผู้ที่สามารถ Home Isolation ได้
- อายุไม่เกิน 60 ปี
- สุขภาพแข็งแรง มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ
- ไม่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน
- อาศัยอยู่คนเดียว หรือมีผู้อาศัยร่วมด้วยไม่เกิน 1 คน
- ต้องไม่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไต โรคหัวใจ-หลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคปอด
นอกเหนือจากนี้ไม่ควรเข้าสู่ระบบการ "รักษาโควิด" แบบ Home Isolation
ข้อมูลจาก : สปสช. ,โรงพยาบาลสมิติเวช