ข่าว

แนะรัฐ "ควบคุมราคาสินค้า" ชะลอปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย รับ "ภาวะสงคราม"

แนะรัฐ "ควบคุมราคาสินค้า" ชะลอปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย รับ "ภาวะสงคราม"

13 มี.ค. 2565

รัฐบาลต้องเร่งสร้างรายได้ ดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่า "ควบคุมราคาสินค้า" ให้ปรับเพิ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป รับวิกฤติ "ภาวะสงคราม"

สุชาติ​ ​ธา​ดา​ธำ​รง​เวช​ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแนะรัฐบาลควบคุมราคาสินค้า ที่จะ​ขึ้นตามภาวะสงคราม โดยใช้งบประมาณอุดหนุน​ เพื่อให้ประชาชนค่อยๆ​ รับกับราคาใหม่ได้ ด้วยการลดรายได้จ่ายด้านการจัดซื้ออาวุธและลดภาษีน้ำมัน​ลงรวมแล้วประมาณสองแสนล้านบาท ​ เพื่อลดค่าครองชีพประชาชน​ และให้ประชาชนใช้เงินที่เขาหามาเอง​ได้มากขึ้น   รัฐบาลต้องรีบสร้างรายได้ให้ประเทศด้วยการเปิดระบบเศรษฐกิจ, เปิดการท่องเที่ยว​ เพื่อประชาชนจะสามารถหารายได้มากขึ้น​ ​ดูแลค่าเงินบาทให้แข่งขันได้ ไม่แข็งจนเกินไป จนไม่มีคนซื้อสินค้าเรา แต่ไม่อ่อนเกินไป จนไปลดฐานะความเป็นอยู่ของคนไทย แนะรัฐ \"ควบคุมราคาสินค้า\" ชะลอปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย รับ \"ภาวะสงคราม\"

ทั้งนี้เพื่อให้การส่งออกและท่องเที่ยวเติบโตมากขึ้น ได้เงินตราต่างประเทศมาแล้ว สามารถแลกเป็นเงินบาทได้มูลค่าสูงขึ้น         ในภาวะสงคราม สินค้าจะขายได้ดี เมื่อประเทศไทยได้เงินตราต่างประเทศจะทำให้มีเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น จะไปเพิ่มการจ้างงาน, เพิ่มรายได้คนทั่วประเทศ, เพิ่มการบริโภค, เพิ่มการออมและการลงทุน ซึ่งจะไปเพิ่มการใช้กำลังการผลิต (capacity utilization) ของไทยที่ยังต่ำอยู่ประมาณ 65-75%  เท่านั้น

รัฐบาลยังต้องปรับเพิ่มค่าแรงงาน​ขั้นต่ำต่อวัน จาก​ 300​ บาท​ เป็น​ 500​ บาท เพื่อให้คนจนมีรายได้เพียงพอ​ ทันกับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น โดยรัฐให้สิ่งจูงใจ,​ ให้การลดหย่อนภาษี​ เพื่อให้ภาคธุรกิจ​ใช้เทคโนโลยี่​ที่สูงขึ้น​ เช่นที่ประธานาธิบดีสหรัฐ​ฯ ได้ประกาศนโยบายเช่นเดียวกันนี้ เมื่อสัปดาห์​ก่อน

แต่ภาวะเงินเฟ้อจาก​ต้นทุน​ที่สูงขึ้น รัฐต้องชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย​ เพราะจะทำให้ เงินบาทแข็งค่า​ ทำให้การส่งออก​และท่องเที่ยวลดลง ต้นทุนการเงินเพิ่มขึ้น​ เช่นเดียวกับการบริโภคและการลงทุน​ในประเทศ ซึ่งจะทำให้​ GDP​ ลดลง แม้ประเทศตะวันตก​ อาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ย​ เพื่อลดเงินเฟ้อ​ จะทำให้ดอกเบี้ยโลกสูงขึ้น​ อาจทำให้เงินไหลออกจากตลาดทุนและตลาดทรัพย์สิน​ของไทยไปบ้าง​ แต่หากเราไม่ขึ้นดอกเบี้ยตามทันที​ เงินบาทก็จะอ่อนค่าลง​ ทำให้​การส่งออก​ และ GDP​ เพิ่มขึ้น​ เงินตราต่างประเทศ​ ก็จะไหลกลับเข้ามาในตลาดทุน​ ในที่สุด