สูตรคำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ "บิ๊กณัฐฎ์"ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม
สูตรคำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ คณิตศาสตร์การเมืองไทย "บิ๊กณัฐฎ์" ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน นั่งตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์พรรคพลัง
วันที่ 13 มีนาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระแสบนกระดานทางการเมืองไทย โดดเด่น สปอร์ตไลต์ฉายส่องไปยัง “บิ๊กณัฐฎ์” ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม กฎหมายมหาชน คนดัง ที่ถูกทาบทาบไปนั่งตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์พรรคพลัง ผู้สื่อข่าวได้สอบถามว่า ตัดสินใจมานั่งประธานยุทธศาสตร์พรรคพลังหรือไม่ ได้รับคำตอบว่า ยังพอมีเวลาในการตัดสินใจ เพราะมีหลายพรรคการเมืองมาทาบทาม เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามว่า สูตรคำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ท่านมีความเห็นว่า อย่างไร “บิ๊กณัฐฎ์” ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม กล่าวว่า กรณีสูตรคำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่อยู่ระหว่างถกเถียงกันว่า จะใช้สูตรใดคำนวน กล่าวว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี 1) พุทธศักราช 2564 มาตรา 83,86,91 แก้ไขระบบเลือกตั้ง ส.ส.เดิมระบบจัดสรรปันส่วนผสมบัตรใบเดียว เปลี่ยนเป็นระบบเลือกตั้งผสมบัตร 2 ใบ ซึ่งในระบบเลือกตั้งทั่วโลกมี 4 ระบบ คือ 1)ระบบเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมา 2)ระบบเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด 3)ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนหรือบัญชีรายชื่อ และ 4) ระบบเลือกตั้งแบบผสม ประเทศไทยได้เปลี่ยนมาใช้ระบบผสม คือ ระบบเขตและระบบบัญชีรายชื่อตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 วิธีการคำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อตามแบบคู่ขนาน ที่ยึดโยงประชาชนมากสุด แต่กำหนดอัตราขั้นต่ำไว้ คือ คะแนนแต่ละพรรคการเมืองขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 5% ถึงจะนำไปคำนวน สส.บัญชีรายชื่อได้ ส่วนรัฐธรรมนูญ 2560 ออกแบบบัตร ใบเดียวสามารถคำนวนได้ 3 อย่างคือ ส.ส.เขต ส.ส.บัญชีรายชื่อและนายกรัฐมนตรี จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเฉพาะระบบเลือกตั้งโดยเฉพาะมาตรา 83 วรรคสอง บัญญัติให้ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ
โดยให้ใช้บัตรเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบละหนึ่งใบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กลับไปใช้ระบบเลือกตั้งเดิมตามรัฐธรรมนูญ 2540,2550 คือ เพิ่มจำนวน ส.ส.เขต จาก 350 คน มาเป็น 400 คน และบัญชีรายชื่อลดลงจาก 150 คน เหลือ 100 คน ตามมาตรา 83 วรรคหนึ่ง สูตรคำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อที่ถกเถียงกัน พบว่า บัญญัติในมาตรา 91 ที่ว่า”..การคำนวนสัดส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งตามบัญชีรายช่ือของแต่ละพรรคการเมืองที่จะได้รับเลือกต้ัง ให้นำคะแนนท่ีแต่ละพรรคการเมืองได้รับการเลือกต้ังมารวมกันท้ังประเทศ แล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมืองเป็นสัดส่วนท่ีสัมพันธ์กันโดยตรง กับจำนวนคะแนนรวมข้างต้น โดยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งมีรายชื่อในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ได้รับเลือกตามเกณฑ์คะแนนท่ีคำนวณได้เรียงตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น..”
.
คำว่า “สัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรง” ตามคณิตศาสตร์การเมืองไทย ต้องตีความตามมาตรา 91 โดยเคร่งครัดสูตรการคำนวณสัดส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง รัฐธรรมนูญให้นำคะแนนของแต่ละพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมารวมกัน แล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งของพรรคการเมือง เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์โดยตรงกับคะแนนรวมข้างต้น เจตนารมณ์ของมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญที่แก้ไข คือให้หารด้วยจำนวน 100 คน เพื่อให้เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์โดยตรง ไม่ใช่ หารด้วยจำนวน 500 คน ซึ่งเป็นโดยอ้อม
หากพิจารณาตามมาตรา 83 เดิมกำหนดให้มี ส.ส.แบบแบ่งเขต จำนวน 350 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ จำนวน 150 คน เปลี่ยนเป็น ให้มี ส.ส.แบบแบ่งเขต จำนวน 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คนและมาตรา 91 เดิม ใช้วิธีคำนวณหา ส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง โดยนำคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคส่งผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต หารด้วย 500 คนแล้วนำผลลัพธ์ไปหารจำนวนคะแนนรวมทั้งประเทศของพรรคการเมืองแต่ละพรรคที่ได้รับการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตทุกเขต เพื่อค้นหา "จำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองพึงมี" แล้วลบด้วยจำนวน ส.ส.แบ่งเขตเลือกตั้งที่พรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้ง จะได้ผลลัพธ์ คือ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่พรรคการเมืองนั้น จะได้รับ หมายความว่า กลับไปใช้ระบบคำนวณปาร์ตี้ลิสต์แบบเดิม โดยใช้บัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ แล้วคำนวณคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับเลือกตั้งมาคำนวณเพื่อแบ่งเก้าอี้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์แทน
.
สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทำให้กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ที่เกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้ง ถกเถียงกันอย่างมาก จะใช้แบบคู่ขนานหารด้วย 100 หรือกลับไปสู่ระบบจัดสรรปันส่วนผสมหารด้วย 500
สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่ กมธ.บางคนเสนอกลับไปใช้ระบบจัดสรรปันส่วนผสมหรือหาร 500 นั้น ตามรัฐธรรมนูญไม่สามารถทำได้ เพราะการกำหนดระบบเลือกตั้งได้ ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ซึ่งเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ส.ส.แบบแบ่งเขต 400 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คนในรัฐธรรมนูญมาตรา 83 วรรคหนึ่ง แต่ถ้าจะกลับไปใช้ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม หมายความว่า ต้องกลับไปแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อกลับไปสู่ระบบเดิม การจะใช้กฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ไปแก้ไขในแง่เนื้อหาหรือเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายแม่ไม่ได้อยู่แล้ว
.
ส่วนที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ แบ่งรับแบ่งสู้ ทั้ง 2 สูตร เพราะมองว่า ร่างกฎหมายลูกเปิดกว้างนั้น คงมองในแง่ว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้แก้อย่างสะเด็ดน้ำ ยังมีบทบัญญัติบางส่วนที่พูดถึง การคำนวณ ส.ส.พึงมี ซึ่งอาจเปิดทางในเชิงเทคนิคทางกฎหมายให้นำบทบัญญัติที่ยังไม่แก้ไข มาตีความว่า อาจกลับไปสู่ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม หรืออาจไปสู่ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมก็ได้เหมือนกัน แต่เจตนารมณ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ต้องการไปสู่ระบบเหล่านั้น แต่ต้องการใช้ระบบบัตรเลือกตั้ง 2 ใบแบบคู่ขนานและเนื้อหาที่แก้ไขก็เป็นลักษณะดังกล่าว เพียงแต่จะมีบทบัญญัติบางส่วนที่ไม่ถูกแก้ ทำให้เกิดการขัดกันเอง แต่โดยหลักกฎหมายทั่วไป กฎหมายใหม่ย่อมยกเลิกกฎหมายเก่า ทั้งในเชิงเนื้อหาและเชิงเจตนารมณ์ การจะใช้เทคนิคทางกฎหมายเพื่อกลับไปสู่ระบบเดิม ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพราะขัดรัฐธรรมนูญ ที่พรรคเล็กอ้างเรื่องคะแนนเสียงไม่ตกน้ำนั้น เนื่องจากพรรคเล็กเสียเปรียบอยู่แล้วกับระบบบัตรเลือกตั้ง 2 ใบแบบคู่ขนาน พรรคเล็กหรือพรรคจิ๋วจึงต้องการระบบเดิม เพราะระบบใหม่ไม่เอื้ออำนวย คะแนนเสียงตกน้ำจึงเกิดขึ้นอยู่แล้ว ในระบบจัดสรรปันส่วนผสมก็มีเสียงตกน้ำ เช่น กรณีคะแนนบางพรรคหายไปร่วม 1 ล้านคะแนน และกลับถูกจับไปเติมให้พรรคจิ๋ว ซึ่งไม่ได้สัดส่วนคะแนนตามจำนวน ส.ส.พึงมี โดยได้มาพรรคละ 1 ที่นั่ง ตรงนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่า ไม่เป็นไปตามเจตจำนงของประชาชน และสะท้อนว่าไม่มีระบบไหนที่จะทำให้คะแนนเสียงไม่ตกน้ำ ถ้าใช้ระบบจัดสรรปันส่วนผสมแน่นอนว่า พรรคเพื่อไทย จะเสียเปรียบ เลือกตั้งปี 2562 พรรคเพื่อไทยไม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อแม้แต่คนเดียว ขณะที่พรรคก้าวไกลหรือพรรคอนาคตใหม่ขณะนั้นได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อจำนวนมาก จากระบบนี้ ขณะเดียวกัน คะแนนเสียงของอนาคตใหม่ก็หายไปส่วนหนึ่งเพราะเอาไปเติมให้บรรดาพรรคจิ๋วแม้ปัจจุบันก้าวไกล จะเป็นพรรคขนาดกลางแต่ไม่มีฐาน”ระดับพื้นที่” แต่ระบบจัดสรรปันส่วนผสมใช้ฐานระดับพื้นที่พอสมควร ฉะนั้น ระบบนี้ถึงอย่างไรพรรคก้าวไกลก็ไม่ได้เปรียบ แต่ระบบที่จะทำให้ได้เปรียบคือ MMP ซึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว ถ้าใช้ 500 หาร พรรคที่จะได้เปรียบคือ พรรคกลาง พรรคเล็กหรือพรรคจิ๋ว ไม่ใช่เพื่อไทย ก้าวไกล หรือพลังประชารัฐ ถ้าจะถูกต้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายลูกที่เสนอแก้ไขเรื่องสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ควรต้องเป็นระบบบัตร 2 ใบแบบคู่ขนานเหมือนรัฐธรรมนูญปี 40 คือ หารด้วย 100 มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ทั้ง 2 ใบจะไม่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เนื่องจากรัฐธรรมนูญเขียนชัดเจนว่า ต้องมี ส.ส.เขต 400 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน อีกเรื่องที่คิดว่าจะมีการถกเถียงกันมากคือ เรื่องเบอร์เดียว ทั่วประเทศหรือไม่ เพราะประเด็นนี้เป็นเรื่องเชิงเทคนิคเช่นเดียวกัน ที่จะส่งผลต่อความได้เปรียบหรือเสียเปรียบของพรรคการเมือง ถ้าใช้เบอร์เดียวทั่วประเทศ พรรคใหญ่จะได้เปรียบมากกว่า ขณะที่พรรคขนาดกลาง พรรคเล็ก หรือพรรคจิ๋ว เสียเปรียบ
.
สูตรการคำนวน เป็นกติกาที่กำหนดเปลี่ยนแปลงเสียงที่ประชาชนเลือกให้เป็นที่นั่งในสภาตามสัดส่วน แบ่งเป็น สูตรค่าเฉลี่ยสูงสุดและเหลือเศษสูงสุด คำว่า สัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรง ตามมาตรา 91 หมายถึง การนำคะแนนของทุกพรรคมารวมกันทั้งหมด แล้วนำไปหารด้วยจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น พรรคพลัง พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคไทยสร้างไทย หรือพรรครวมไทยสร้างชาติ หากส่งผู้สมัคร ส.ส. ครบ 400 เขต เน้นว่าที่ ส.ส.เขต ย่อมไม่เสียเปรียบเช่นกัน