ข่าว

จ่อปลดล็อก "ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์" บ่าย 2-5 โมง 50 ปีที่ใช้มา คอเหล้าเฮ

จ่อปลดล็อก "ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์" บ่าย 2-5 โมง 50 ปีที่ใช้มา คอเหล้าเฮ

17 มี.ค. 2565

รัฐจ่อปลดล็อก "ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์" ช่วงเวลา 14.00-17.00 น. 50 ปีที่ใช้มา คอเหล้าเตรียมเฮ 16 องค์กรภาคบริการ หวังกระตุ้นยอดขาย

นายธนากร คุปตจิตต์ อดีตนายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย และผู้บริหารบริษัทจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เปิดเผยว่า ประเด็นที่จะทำให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลับมาคึกคัก คือการที่รัฐเตรียมปลดล็อกระยะเวลา "ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์" ช่วงเวลา 14.00-17.00 น. ตามที่ 16 องค์กรภาคบริการ อาทิ สมาคมเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สมาคมค้าปลีกสมาคมผู้ประกอบการถนนข้าวสาร สมาคมร้านอาหาร เป็นต้น ร้องขอให้รัฐยกเลิกประกาศช่วงเวลาห้ามขายดังกล่าว ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2515

 

 

ซึ่งก่อนหน้านี้ รัฐบาลเตรียมปรับปรุงและแก้กฎหมายที่ล้าสมัย ทางภาคเอกชนจึงเสนอเรื่องดังกล่าว ล่าสุด รับทราบว่ามีสัญญาณที่ดีที่จะยกเลิกประกาศห้ามขายดังกล่าว และคณะกรรมการพัฒนากฎหมายของรัฐจะเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

 

 

จ่อปลดล็อก \"ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์\" บ่าย 2-5 โมง 50 ปีที่ใช้มา คอเหล้าเฮ

"เรื่องการ "ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์" ช่วงเวลาบ่ายสองถึงห้าโมงเย็นนี้เราใช้มาแล้ว 50 ปี ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลง ความคิดเแบบเดิมทีเกรงว่าจะมีการสั่งซื้อสั่งกินกันในช่วงทำงานนั้นไม่น่าจะเป็นเรื่องที่สอดรับกับสภาพในวันนี้ ที่มีกฎระเบียบการห้ามดื่มในเวลาทำงานอยู่แล้ว" นายธนากรกล่าว

 

 

นายธนากร กล่าวอีกว่า การคลายล็อกจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเวลา 14.00-17.00 น. ไม่ใช่การส่งเสริมการบริโภคแอลกอฮอล์ และยังมีกฎหมายควบคุมการห้ามจำหน่ายให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งมีบทลงโทษรุนแรงกว่ากฎหมายห้ามจำหน่าย

 

 

จ่อปลดล็อก \"ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์\" บ่าย 2-5 โมง 50 ปีที่ใช้มา คอเหล้าเฮ

โดยโทษผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเวลาดังกล่าว ระวางโทษปรับ 10,000 บาท จำคุก 6 เดือน หรือทั้งจำและปรับ แต่หากจำหน่ายให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ระวางโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ

 

 

ทั้งนี้ หากปลดล็อกให้ธุรกิจบริการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเวลาดังกล่าวได้ ย่อมส่งผลดีต่อยอดขายและอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เติบโตตามไปด้วย จากปัจจุบันชะลอตัวจากมาตรการควบคุมโรคระบาด และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป คิดเป็นมูลค่าหลักหมื่นล้านบาท ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด 1.7-1.8 แสนล้านบาท