ข่าว

"ประกันสังคม" ลดเงินสมทบผู้ประกันตนม. 33,39,40 เช็คแต่ละมาตราลดกี่บาท

"ประกันสังคม" ลดเงินสมทบผู้ประกันตนม. 33,39,40 เช็คแต่ละมาตราลดกี่บาท

30 มี.ค. 2565

"ประกันสังคม" ลดอัตราจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 33 ผู้ประกันตนมาตรา 39 และ ผู้ประกันตนมาตรา 40 นาน 3 เดือน เริ่มพ.ค.-ก.ค. 65 แต่ละมาตราลดกี่บาท เช็คที่นี่

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่เดือน พ.ค. -ก.ค. 65 โดยเฉพาะการช่วยเหลือกลุ่มแรงงาน ในระบบ "ประกันสังคม" ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 โดยเห็นชอบลดอัตราเงินสมทบสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

 

ที่ประชุม คร. มีมติ ลดอัตราเงินสบทบของนายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในระบบ "ประกันสังคม" ผู้ประกันตนมาตรา 33 จาก 5% เหลือ 1% เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างสามารถมีกำลังในการใช้จ่ายและผู้ประกอบการสามารถมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในการดำเนินธุรกิจในช่วงถัดไป เป็นระยะเวลา 3 เดือน เริ่มหักเงินสมทบอัตราใหม่ตั้งแต่ พ.ค. -ก.ค. 65 เป็นต้นไป 

 

ตัวอย่างวิธีคำนวนเงินสมทบ ประกันสังคมมาตรา 33 

  • อัตราเดิม เงินเดือน 15,000 (เงินเดือน) x 5% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 750 (จำนวนเเงินที่ถูกหัก)
  • อัตราใหม่ เงินเดือน 15,000 (เงินเดือน) x 1 % (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 150 (จำนวนเเงินที่ถูกหัก)

นอกจากนี้ ครม. ยังเห็นของ ลดอัตราเงินสมทบ "ประกันสังคม" แก่ ผู้ประกันตนมาตรา 39 จาก 9% เหลือ 1.9% และลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40  ลงเหลือ 42 – 180 บาทต่อเดือน   เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพ.ค.-ก.ค. 65  เป็นระยเวลา 3 นาน 
 

อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคม หรือ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะเร่งดำเนินการออกมาตรการทั้งหมดที่กล่าวมา ทั้งนี้ต้องให้เป็นไปตามข้อกฏหมาย และข้อบังคับต่างๆ รวมทั้งนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและอนุมัติเป็นการเร่งด่วน

 

 

ทั้งนี้ รัฐบาล ทุกกระทรวง และทุกหน่วยงาน กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อวางแผนช่วยเหลือพี่น้องประชาชนทุกคนให้ได้มากที่สุด ให้พ้นวิกฤตซ้อนวิกฤตนี้ไปให้ได้ โดยไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และเร่งเดินหน้าตามแผนฟื้นฟูประเทศที่ได้วางไว้ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ทั้งเรื่องโอกาสการค้าการลงทุนกับต่างประเทศ การเปิดประเทศและการท่องเที่ยวในระยะต่อไป เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างอาชีพและรายได้ รวมไปถึงการช่วยลดภาระ แบ่งเบาค่าครองชีพด้วยมาตรการต่าง ๆ และแก้ปัญหาหนี้แก่ประชาชนโดยเร็วที่สุด