ข่าว

รมว.ทส.สั่ง เร่งศึกษาผลกระทบ ขุดร่องน้ำแม่น้ำตรัง  แหล่งหญ้าทะเล ของ "พะยูน"

รมว.ทส.สั่ง เร่งศึกษาผลกระทบ ขุดร่องน้ำแม่น้ำตรัง แหล่งหญ้าทะเล ของ "พะยูน"

26 มี.ค. 2565

รมว.ทส.สั่ง เร่งศึกษาผลกระทบ ขุดลอกร่องน้ำแม่น้ำตรัง  หวั่นซ้ำรอย กระทบระบบนิเวศ แหล่งหญ้าทะเล ของ "พะยูน" กว่า 200 ตัว ชี้ พัฒนาเศรษฐกิจ ต้องมีสมดุล กับการรักษาทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

          


วันที่ 26 มี.ค. จากกรณี โครงการขุดลอกร่องน้ำ บริเวณปากแม่น้ำตรัง เพื่อช่วยสนับสนุนการเดินเรือและการพัฒนาภาคธุรกิจแถบภาคใต้ โดยขยายพื้นที่เพิ่มขนาดความกว้างของร่องน้ำจากเดิม 60 เมตร เป็น 90 เมตร และความลึกมากกว่าเดิม 1 – 2 เมตร กรมเจ้าท่าเตรียมเดินหน้าดำเนินการในปี 2565 หลายฝ่ายเริ่มกังวล เตรียมหารือแนวทางป้องกันผลกระทบ แหล่งหญ้าทะเลและระบบนิเวศทางทะเล   

  นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยืนยันว่า ทางกระทรวงฯ จะไม่อยู่เฉยแน่ๆ ได้เร่งสั่งการให้ นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดทีมนักวิชาการและนักดำน้ำ สำรวจพื้นที่และผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด เพื่อช่วยแก้ปัญหา  รวมถึง นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่กำกับทั้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ต้องลงมือสั่งการแก้ปมปัญหาเรื่องนี้ด้วยตัวเอง อีกทั้ง นายวราวุธ ที่ได้ชื่อว่า เป็นนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คงไม่ปล่อยเรื่องนี้ให้เงียบอย่างแน่นอน ซึ่งบ่อยครั้งได้มีการย้ำในหลายเวทีอยู่เสมอ 

     หากอัตราความเพิ่มขึ้นของเงิน สวนทางกับความสมบูรณ์ของทรัพยากร ความยั่งยืนย่อมไม่เกิด ทรัพยากรธรรมชาติพัง เศรษฐกิจย่อมเดินหน้ายาก การส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างสุดโต่ง โดยไม่คำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติ นับเป็นการกระทำที่ไม่ชาญฉลาดเลย 

ซึ่งปัจจุบัน หลายฝ่ายเริ่มวิตกกับแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤติโควิด-19 และ  ทรัพยากรธรรมชาติ คือ ต้นทุนแห่งการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน การมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไม่คำนึงถึงศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ย่อมไม่เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน นายวราวุธ กล่าว 

      

อย่างไรก็ตาม ในปี 2565  กรมเจ้าท่า เตรียมเดินหน้าโครงการขุดลอกร่องน้ำบริเวณปากแม่น้ำตรังอีกครั้ง เพื่อช่วยสนับสนุนการเดินเรือและการพัฒนาภาคธุรกิจแถบภาคใต้ โดยครั้งนี้จะมีการขยายพื้นที่เพิ่มขนาดความกว้างของร่องน้ำจากเดิม 60 เมตร เป็น 90 เมตร และความลึกมากกว่าเดิม 1–2 เมตร ซึ่งหลายฝ่ายให้ขอให้ศึกษาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้เรียบร้อยก่อน 

ด้าน นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวเสริมว่า แหล่ง "หญ้าทะเล"ของประเทศไทย มีกระจายอยู่หลายพื้นที่ทั้งในฝั่งอ่าวไทย รวม แล้วกว่า 159,829 ไร่ ร้อย 53% ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ปานกลาง และ ร้อยละ 31 อยู่ในสภาพสมบูรณ์ดี สำหรับพื้นที่จังหวัด "ตรัง" นับเป็นแหล่งพื้นที่ปะการังที่ใหญ่ที่สุด และ สำคัญมาก เนื่องจาก พบ "พะยูน" ซึ่งเป็นสัตว์สงวนตามพระราชบัญญัติสงวนแบะคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 กว่า 200 ตัว 

     ในบริเวณดังกล่าว ผลกระทบจากการขุดลอกร่องน้ำเพื่อการเดินเรือบริเวณปากแม่น้ำตรังเมื่อปี 2562–2563 ส่งผลให้แหล่งหญ้าทะเลเสียหายหลายพันไร่


 อย่างไรก็ตาม สำหรับการเตรียมการดำเนินการขุดลอกร่องน้ำที่กรมเจ้าท่า จะดำเนินการในปี 2565 ตนได้สั่งการให้ทีมนักวิชาการ เร่งสำรวจสภาพแหล่งปะการังบริเวณดังกล่าวโดยละเอียด รวมทั้ง ข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย รวมถึง เพื่อกำหนดแนวทางป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งตนได้กำชับหน่วยงานในพื้นที่ให้เร่งประสานกรมเจ้าท่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน พร้อมทั้งให้ถอดบทเรียนของผลกระทบในครั้งก่อน มาประกอบการพิจารณาดำเนินการในครั้งนี้ด้วย นายโสภณ กล่าว 

รมว.ทส.สั่ง เร่งศึกษาผลกระทบ ขุดร่องน้ำแม่น้ำตรัง  แหล่งหญ้าทะเล ของ \"พะยูน\"

รมว.ทส.สั่ง เร่งศึกษาผลกระทบ ขุดร่องน้ำแม่น้ำตรัง  แหล่งหญ้าทะเล ของ \"พะยูน\"

 

 

รมว.ทส.สั่ง เร่งศึกษาผลกระทบ ขุดร่องน้ำแม่น้ำตรัง  แหล่งหญ้าทะเล ของ \"พะยูน\"