ข่าว

31 คน ร่วมชิงชัย "เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม."  "กกต." ขอ 7 วันตรวจสอบคุณสมบัติ

31 คน ร่วมชิงชัย "เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม." "กกต." ขอ 7 วันตรวจสอบคุณสมบัติ

04 เม.ย. 2565

7 วันรู้ผล คุณสมบัติ ผู้สมัคร "เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม." 31 คน ลงชิงเก้าอี้ ครบหรือไม่ "กกต." กทม.ปลื้มคนสนใจมากกว่าทุกครั้ง

นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า จนถึงขณะนี้มีผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) แล้ว 31 คน ซึ่งถือว่าสูงสุดกว่าการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ทุกครั้งที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีความคึกคักอย่างมาก และเชื่อว่าประชาชนจะมีความตื่นตัวมากเช่นกัน 

 

31 คน ร่วมชิงชัย \"เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.\"  \"กกต.\" ขอ 7 วันตรวจสอบคุณสมบัติ

หลังปิดรับสมัครรับเลือกตั้งในวันนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร ( กกต.กทม.) จะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน หากพบว่าขาดคุณสมบัติ ก็จะไม่ประกาศรายชื่อเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งผู้สมัครสามารถยื่นอุทธรณ์ได้
ผู้สมัครรายที่31 ได้แก่นาย วิทยา จังกอบพัฒนา ซึ่งในเคยสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. มาแล้ว เมื่อปี 2547, 2551และ 2552  วิทยา จังกอบพัฒนา เคยให้สัมภาษณว่า นโยบายหลักคือจราจรเป็นอันดับแรก จะไม่ใช้ไฟเขียว ไฟแดง ด้วยการให้ทางเอกวิ่งตรงโดยไม่หยุด ส่วนรถไฟฟ้าไม่จำเป็นต้องมี จะให้ไปใช้รถเมล์แทน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

ก่อนหน้านี้ นายกฤตชัย​ พยอมแย้ม​ ผู้สมัครผู้ว่า​ กทม.​หมายเลข​ 29​ พรรคประชากรไทย พร้อมผู้สมัคร​ สก.​ จำนวน​ 9​ เขต​ ได้เปิดตัวหลังลงสมัครรับเลือกตั้ง​ผู้ว่า​ กทม​ และ​ สก.ด้วยสโลแกน​ว่า​ "ใกล้ ใหม่​ ใหญ่" เพื่อชีวิตที่ดี​ มีคุณภาพ​ ของคนกรุงเทพพรคประชากรไทยถือเป็นพรรคการเมืองที่เคยครองที่นั่งในกรุงเทพจำนวนมาก​  นอกจากนี้ยังมีผู้สมัครฯอีกหลายราย ที่ถูกมองเป็นเพียงไม้ประดับ แต่ก็ยังคงลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.หลายครั้ง  วรัญชัย โชคชนะ เป็นหนึ่งในนั้น โดยเขาสมัครรับเลือกตั้งฯมา7 ครั้งแล้ว 

การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 หรืออีกไม่ถึง 2 เดือนนี้ เป็นการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งแรกในรอบ 9 ปี เลือกตั้ง ส.ก. ครั้งแรกในรอบ 12 ปี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้บริหารสูงสุดของกรุงเทพมหานคร ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีนับแต่วันที่ได้รับเลือกตั้ง ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานคร