ข่าว

ดีป้า ชู ‘HACKaTHAILAND’ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ-ตอบโจทย์ชีวิตวิถีใหม่

ดีป้า ชู ‘HACKaTHAILAND’ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ-ตอบโจทย์ชีวิตวิถีใหม่

23 พ.ค. 2565

ประกาศผลความสำเร็จกับเมกะโปรเจกต์ ‘HACKaTHAILAND’ จัดโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า โครงการที่สร้างความตระหนักรู้ ยกระดับทักษะด้านดิจิทัลแก่ประชาชน รองรับความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเศรษฐกิจในยุคชีวิตวิถีใหม่ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแล้วกว่า 9 แสนคน สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 780 ล้านบาท

ดีป้า ชู ‘HACKaTHAILAND’ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ-ตอบโจทย์ชีวิตวิถีใหม่

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ดีป้า เปิดเผยว่า โปรเจกต์ HACKaTHAILAND ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่

1.การเรียนรู้ผ่านการอบรมในรูปแบบออนไลน์ (HACKaTHAILAND

Online Learning Platform) มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมให้คนไทยสามารถเรียนรู้ทักษะด้านดิจิทัลได้ทุกที่ ทุกเวลา ปัจจุบันมีผู้เข้าเรียนกว่า 10,000 คน ได้ใบรับรองแล้วกว่า 12,000 ใบ สามารถต่อยอดอาชีพผ่านแพลตฟอร์มมากกว่า 20,000 คนโดยหลักสูตร Digital Entrepreneurship, Startup Crash Course และ Web Application Development ได้รับความนิยมจากผู้เรียนสูงที่สุด แสดงให้เห็นว่า คนไทย โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่กำลังปรับตัวและต้องการเสริมสร้างทักษะดิจิทัล ควบคู่ไปกับการเพิ่มองค์ความรู้ด้านธุรกิจ เพื่อนำไปสู่อาชีพใหม่ และทำให้เกิดการจ้างงาน ปัจจุบัน กิจกรรมดังกล่าวยังเปิดให้ผู้สนใจสามารถเข้ายกระดับทักษะของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

2.นิทรรศการจัดแสดงผลงานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลแห่งอนาคต (HACKaTHAILAND Hybrid Exhibition) ทั้งในรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติได้ร่วมสัมผัสประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลด้วยตนเอง

พร้อมเปิดพื้นที่นำเสนอสินค้า และบริการดิจิทัลจากผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อย, พื้นที่แนะนำกลุ่มธุรกิจ Digital Startup, กิจกรรมเพิ่มโอกาสในการหางาน (Job Fest), การแข่งขันโดรน (Drone Competition) และกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 150,000 ราย รวมถึงผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านช่องทางออนไลน์อีกกว่า 800,000 ราย

3. การแข่งขันเพื่อระดมสมองและความคิดค้นหาสุดยอดทีม Hackathon (HACKaTHAILAND Competition & Beyond Hackathon) นำคนรุ่นใหม่ที่มีไอเดียมาร่วมขับเคลื่อน 3 อุตสาหกรรมหลักของประเทศ ได้แก่ ภาคการเกษตร (Agriculture) ภาคการท่องเที่ยว (Tourism) และภาคการขนส่ง (Industrial and Logistics) ในระยะเวลา 168 ชั่วโมง (ระหว่างวันที่ 4-10 เม.ย. ที่ผ่านมา) เพื่อคัดเลือก 10 ทีมสุดท้ายที่จะมาร่วมแก้ไขปัญหากับหน่วยงานภาคเอกชน

ดีป้า ชู ‘HACKaTHAILAND’ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ-ตอบโจทย์ชีวิตวิถีใหม่

ผลงานทั้งหมดนับเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการเติบโตในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลของประเทศ จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะนำพาไทยไปสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในอนาคต

ดีป้า ชู ‘HACKaTHAILAND’ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ-ตอบโจทย์ชีวิตวิถีใหม่

ดีป้า ชู ‘HACKaTHAILAND’ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ-ตอบโจทย์ชีวิตวิถีใหม่

ดีป้า ชู ‘HACKaTHAILAND’ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ-ตอบโจทย์ชีวิตวิถีใหม่

สานต่อซีซั่นสอง ก.ค.นี้

ผู้อำนวยการใหญ่ดีป้า กล่าวอีกว่าทางดีป้าเตรียมต่อยอดโอกาสสู่การเติบโตไปกับ HACKaTHAILAND ภายใต้แนวคิด Digital Possibilities to SEED Thailand มีกลุ่มเป้าหมายหลัก 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มเด็กรุ่นใหม่ที่เป็นผู้ใช้งานดิจิทัล, กลุ่มดิจิทัลที่ครอบคลุมการทำงานแบบทั่วถึง ประชาชนทุกภาคส่วนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมใช้เทคโนโลยีและสามารถทำธุรกิจทางดิจิทัลได้ และกลุ่มของธุรกิจที่ซบเซาจากเศรษฐกิจทำให้ต้องปรับเปลี่ยนธุรกิจ

ทั้ง 3 กลุ่มจะเข้ามาร่วมพัฒนาไปพร้อมกับดีป้าในซีซั่นสองในเดือนก.ค. ที่จะถึงนี้ ส่วนรายละเอียดเบื้องต้นมีดังนี้ 1. การทำงานกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีอื่นๆ มาช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการทั้งโรงแรมและธุรกิจร้านค้า ในรูปแบบของ Natural แพลตฟอร์ม 2. นวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล (Digital Innovation) สำหรับร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง รวมไปถึงหาบเร่และแผงลอยทั่วประเทศ 3.การนำโครงสร้างทางด้าน อินเทอร์เน็ตไร้สายมาปรับใช้ในรูปแบบสมาร์ทโลจิสติกส์กับการขนส่งนักเรียน ให้มีความปลอดภัยในการเดินทาง ผู้ปกครองสามารถติดตามลูกหลานขณะเดินทางไป-กลับโรงเรียนได้

 

เปิดตัวสุดยอดทีม Hackathon

สำหรับทีมสุดยอดจากรายการ Hackathon รางวัลชนะเลิศ 1,000,000 บาท ได้แก่ ทีม Wang: Data Market (ว่าง : ตลาดข้อมูล) โดยกฤตย์ กังวาลพงศ์พันธุ์ และกฤติน เดชหอมชื่น นิสิตจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาแพลตฟอร์ม Wang ช่วยเหลือคนว่างงานให้สามารถสร้างรายได้ผ่านการจัดระเบียบข้อมูลด้วยเอไอ

รองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 500,000 บาท ทีม NBP นำโดยนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.ชยานนท์ ทรัพย์อาภา ผู้พัฒนา Python, Java สร้างแพลตฟอร์ม FISHYU ช่วยเหลือชาวประมงให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าหรือโรงงานโดยตรงลดการรับหัวคิวที่แพง ดูแลเรื่องการขนส่งสินค้า เอกสาร และเครดิตให้กับชาวประมง ทำให้สามารถดำเนินธุรกิจง่ายขึ้นกว่าเดิม

รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 300,000 บาท ทีม unknow นำโดยภรณี วัฒนโชติ อดีตผู้บริหารบริษัทฟินแก๊ส พัฒนาแอปพลิเคชัน Chef’s Table เป็นตัวกลางนำวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านเพื่อส่งต่อ โปรโมท ทำการตลาดให้เป็นที่รู้จักโดยให้ชาวบ้านในพื้นที่สามารถสร้างอาชีพได้ง่ายๆ จากวัตถุดิบที่มีอยู่มาประกอบอาหารท้องถิ่น ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถชิมอาหารพื้นบ้าน และสามารถพูดคุยกับคนในชุมชนนั้นๆ ได้โดยตรง ซึ่งเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน

ส่วนทีมอันดับ 4-10 ได้รับเงินรางวัลทีมละ 50,000 บาท ทั้งนี้ทีมผู้ชนะ 5 อันดับแรกจะเข้าสู่รอบ Investor Pitch ของ depa Digital Startup Fund เปิดโอกาสให้นำเสนอผลงานกับกลุ่มนักลงทุน ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อสร้างเครือข่าย และเป็นแนวทางในการต่อยอดธุรกิจที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจของประเทศต่อไป