ข่าว

"วันสิ่งแวดล้อมโลก"โลตัส ยกเลิกบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิลครบ100%

"วันสิ่งแวดล้อมโลก"โลตัส ยกเลิกบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิลครบ100%

05 มิ.ย. 2565

เนื่องใน"วันสิ่งแวดล้อมโลก"โลตัส ประกาศความสำเร็จในการยกเลิกการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิลครบ 100% สำหรับสินค้าแบรนด์โลตัส ในกลุ่มอาหารสดและสินค้าอุปโภค

เนื่องใน “วันสิ่งแวดล้อมโลก” โลตัส ประกาศความสำเร็จในการยกเลิกการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิล (hard-to-recycle materials) สำหรับสินค้าเฮาส์แบรนด์ของโลตัส ในหมวดหมู่สินค้าอาหารสดและสินค้าอุปโภค ครบทุกรายการ 100% นับเป็นจำนวนสินค้ารวม 4,520 รายการ เร็วกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี ค.ศ. 2025 และจะเดินหน้าเลิกใช้วัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิลในสินค้ากลุ่มที่เหลือให้สำเร็จภายในกรอบระยะเวลาที่วางไว้

\"วันสิ่งแวดล้อมโลก\"โลตัส ยกเลิกบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิลครบ100%

 

นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย กล่าวว่า “ปัญหาขยะที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะพลาสติก เป็นหนึ่งในปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนไม่ใช่แค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ทั่วโลก ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โลตัส มีบทบาทในการร่วมแก้ไขปัญหาขยะจากบรรจุภัณฑ์ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการเลิกให้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เลิกใช้ถาดโฟมและเลิกใช้หลอดพลาสติก ไปจนถึงการเปิดจุดรับบรรจุภัณฑ์จากลูกค้าเพื่อนำกลับไปรีไซเคิล เป็นต้น

นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์

ในระดับต้นน้ำ ในฐานะที่เราเองเป็นเจ้าของสินค้า "แบรนด์โลตัส" ในปี พ.ศ. 2562 โลตัส ได้ประกาศเป้าหมายในการยกเลิกการใช้วัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิลให้ได้ทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2568 (Exit hard-to-recycle materials by 2025) และได้เริ่มทำการศึกษาจำแนกหมวดหมู่ของวัสดุที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์ของสินค้าแบรนด์โลตัสทั้งหมด เป็นสีแดง สีเหลือง และสีเขียว

\"วันสิ่งแวดล้อมโลก\"โลตัส ยกเลิกบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิลครบ100%

 

โดยวัสดุสีแดง ซึ่งประกอบไปด้วย โพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC), โพลีสไตรีน, พลาสติกแตกสลายได้ชนิดอ๊อกโซ, โพลิคาร์บอเนต และ กระดาษแก้ว ถูกจัดให้เป็นวัสดุต้องห้ามเนื่องจากยากต่อการรีไซเคิล

\"วันสิ่งแวดล้อมโลก\"โลตัส ยกเลิกบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิลครบ100%

 

ส่วนวัสดุสีเหลืองและสีเขียว อาทิ กระดาษ, พอลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต (PET), พอลิเอทิลีน (PE), โพลิเอทีลีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE), พอลิโพรไพลีน (PP) และอลูมิเนียม สามารถใช้ได้เนื่องจากสามารถนำไปรีไซเคิลได้ เราทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ผลิตสินค้าแบรนด์โลตัส ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการ SME ไทย ในการเปลี่ยนชนิดบรรจุภัณฑ์จากวัสดุต้องห้ามเป็นใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้

\"วันสิ่งแวดล้อมโลก\"โลตัส ยกเลิกบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิลครบ100%

 

"โดยจากความทุ่มเทของทีมงานโลตัส เรามีความคืบหน้าที่ดีมากกว่าแผนงานที่วางไว้ ณ ปัจจุบันเราสามารถยกเลิกการใช้วัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิลได้ครบ 100% ของหมวดหมู่สินค้าอาหารสดและสินค้าอุปโภค ซึ่งเป็น 2 หมวดหมู่ที่มีจำนวนสินค้าแบรนด์ของโลตัส รวมกัน 4,520 รายการ นับเป็นความสำเร็จก่อนเป้าหมายที่วางไว้ถึง 3 ปี"

อย่างไรก็ตาม เรายังคงเดินหน้าในการเปลี่ยนวัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอีกเพียง 180 รายการ ในหมวดหมู่อาหารแห้งและของใช้ในครัวเรือน โดยจะร่วมกับพันธมิตรในการพัฒนานวัตกรรมและวัสดุทดแทน ที่จะสามารถนำมาใช้สำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าของเรา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนของโลตัส และมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutral ภายในปี 2030 ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ต่อไป

\"วันสิ่งแวดล้อมโลก\"โลตัส ยกเลิกบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิลครบ100%

\"วันสิ่งแวดล้อมโลก\"โลตัส ยกเลิกบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิลครบ100%

 

นอกเหนือจากการเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่รีไซเคิลได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแล้ว การเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคในการแยกขยะและรีไซเคิลก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างระบบปิดของบรรจุภัณฑ์ (closed-loop packaging system) และบริหารจัดการขยะจากบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน โดย โลตัส จะเดินหน้าสร้างการตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกขยะและรีไซเคิลอย่างถูกวิธี และช่วยให้การรีไซเคิลเป็นเรื่องง่ายขึ้น ด้วยการขยายผลจุดรับบรรจุภัณฑ์ไปรีไซเคิลที่สาขาของเราที่เข้าถึงชุมชนทั่วประเทศ อาทิ ขวดน้ำพลาสติก กระป๋องอลูมิเนียม กล่องกระดาษ ฟิล์มพลาสติกห่อสินค้า