"ทนายเดชา" เเนะ ชาวเน็ตทำความเข้าใจ PDPA อยากโพสต์โซเชียลต้องระวัง
สายโซเชียล ชอบถ่ายคลิป ถ่ายภาพ ต้องระวัง "ทนายเดชา" เเนะ ทำความเข้าใจ PDPA อยากโพสต์ต้องรอบคอบ ถ้าไม่อยากทำผิดกฎหมาย
"ทนายเดชา" นายเดชา กิตติวิทยานันท์ ไลฟ์สด ผ่านเฟซบุ๊ก ทนายคลายทุกข์ อธิบายข้อกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ว่า ข้อมูลส่วนบุคคล เช่นกรณี เวลาไปกู้เงินธนาคาร เช่าซื้อรถ เมื่อบุคคลใดให้ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ แก่สถาบันการเงินเก็บไว้ สถาบันการเงินจะไปเผยเพร่ ไปขาย ไปใช้ประโยชน์นอกเหนือจากที่อนุญาตไม่ได้ รวมถึงข้อมูลที่ให้จากการสมัครงาน จะเอาไปขายประกันไม่ได้ นอกจากนี้ หน่วยงานที่ได้รับข้อมูล เก็บข้อมูล จะต้องป้องกันการรั่วไหล จะนำไปขาย หรือไปเปิดเผยไม่ได้เช่นกัน
ซึ่งข้อมูลดังกล่าว อาทิ ชื่อ นามสกกุล เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ทะเบียนบ้าน วันเดือนปีเกิด โฉนดที่ดิน ภาพถ่าย หรือทุกอย่างที่บ่งบอกได้ว่าเป็นตัวเรา ใครจะนำไปใช้โดยไม่อนุญาตไม่ได้
"ทนายเดชา" ยังระบุถึงข้อมูลอ่อนไหวว่า คือข้อมูลที่รู้เเล้วเป็นอันตรายต่อตัวเจ้าของข้อมูล คือ ข้อมูลเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง พฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลอาชญากรรม ประวัติการถูกดำเนินคดี ยกเว้นเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ส่วนกรณีการถ่ายภาพ หรือคลิปวิดีโอ เมื่อเจอร้าย อุบัติเหตุ โจรขึ้นบ้าน คนฆ่ากันตาย สามารถถ่ายได้ เเต่จะนำไปเผยเพร่ไม่ได้ จะไปเปิดเผยโพสต์โซเชียลไม่ได้ ยกเว้นเพื่อประโยชน์สาธารณะ พร้อมยกตัวอย่าง กรณีผัวเมียตีกัน ถ้าโพสต์จ้องเบลอหน้า อย่าให้รู้ว่าเป็นใคร
สำหรับกล้องวงจรในบ้านติดได้ ในรถยนต์ติดได้ ไม่ต้องเเจ้งเตือน เเต่ถ้านอกบ้าน ห้ามส่องเข้าไปในบ้านคนอื่น จะผิดกฎหมาย การถ่ายรูปไปเที่ยว ไปกินข้าวถ่ายติดคนอื่นได้ ไม่ต้องขออนุญาตเพราะไม่ได้ทำใครเสียหาย เเต่หากมีคนเสียหายถือว่ามีความผิด