ข่าว

ชาวบ้านเร่งแปรรูป "ทุเรียน" บ้านเปิ่งเคลิ่ง หลังพ่อค้าสั่งซื้อแต่ไม่มารับ

ชาวบ้านเร่งแปรรูป "ทุเรียน" บ้านเปิ่งเคลิ่ง หลังพ่อค้าสั่งซื้อแต่ไม่มารับ

15 มิ.ย. 2565

ชาวบ้านพลิกวิกฤตเป็นโอกาส แปรรูป "ทุเรียน" บ้านเปิ่งเคลิ่ง "ทุเรียน" พันธุ์พื้นบ้าน อ.อุ้มผาง เพิ่มมูลค่าหลังพ่อค้าสั่งซื้อแต่ไม่มารับ พร้อมเชิญชวนเที่ยวงาน "ทุเรียนเบิ่งเคลิ่งและของดีอุ้มผาง" วันเสาร์ที่ 18 มิ.ย. นี้

15 มิ.ย.  2565   ผู้สื่อข่าวรายงานจากพื้นที่บ้านเปิ่งเคลิ่ง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ว่าขณะนี้  เกษตรกรในพื้นที่ ได้เริ่มมีการวางจำหน่าย ทุเรียนพันธุ์พื้นบ้าน  ซึ่งเริ่มออกผลผลิต สู่ตลาดแล้ว  สำหรับ บ้านเปิ่งเคลิ่ง พื้นที่แนวชายแดนของอำเภออุ้มผางจังหวัดตาก เป็นหมู่บ้านสุดเขตประเทศไทย มีพื้นที่ติดกับประเทศเมียนมา  ประชาชนส่วนใหญ่เป็นพี่น้องชาวปกากะญอ  โดยทุเรียนพื้นบ้านที่ปลูก จะนิยมปลูกด้วยเมล็ด ใช้เวลา นับ 15 ปี จึงจะได้ผลผลิต   การดูแลรักษาเน้นการดูแลแบบอินทรีย์ ไม่ใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง   ปัจจุบันเริ่มมีพ่อค้าสั่งจองรับซื้อ แต่พบปัญหาพ่อค้าบางรายไม่มารับผลผลิตตามนัดหมาย เกษตรกรจึงต้องนำผลผลิตมาแปรูรูปเพื่อป้องกันความเสียหายและสร้างรายได้  

 

 

ชาวบ้านเร่งแปรรูป"ทุุเรียน" บ้านเปิ่งเคลิ่ง" หลังพ่อค้าสั่งซื้อแต่ไม่มารับ

 

 

 

ชาวบ้านเร่งแปรรูป"ทุุเรียน" บ้านเปิ่งเคลิ่ง" หลังพ่อค้าสั่งซื้อแต่ไม่มารับ

 

 

นางพร อายุ 40 ปี  เกษตรกรแปรรูป ทำทุเรียนกวน  ชาวบ้าน  บ้านเปิ่งเคลิ่ง  ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก  กล่าววว่าตนเองเป็นทั้งผู้ปลูก  และผู้รับซื้อขายส่งทุเรียนพื้นที่  จำหน่าย ในราคาย่อมเยาว์  โดยจำหน่ายเป็นกอง ๆ 4 - 5  ลูก  ราคา 200 บาท ในปัจจุบัน ประสบปัญหามีพ่อค้า สั่งซื้อทุเรียนแล้วไม่มารับ จำนวนถึง 1 ตัน   ทำให้ทุเรียนได้รับความเสียหาย เนื่องจากหากผลสุก อยู่ได้เพียง 3 - 4 วัน ก็จะแตกเสียหาย   จึงต้องใช้วิธีแก้ไขปัญหา ด้วยการนำทุเรียน มาแปรรูป ทำทุเรียนกวน   จำหน่ายกิโลกรัมละ 500 บาท  ส่วนเมล็ด จำหน่าย กิโลกรัมละ 35 บาท  ส่วนมากจะมีพ่อค้าสั่งจองไว้แล้ว

 

 

ชาวบ้านเร่งแปรรูป"ทุุเรียน" บ้านเปิ่งเคลิ่ง" หลังพ่อค้าสั่งซื้อแต่ไม่มารับ

 


สำหรับทุเรียนพื้นบ้านเปิ่งเคลิ่ง จะออกผลผลิต บริโภคได้ ในช่วงเดือนมิถุนายน  และออกผลผลิตมากที่สุด  ในเดือน กรกฎาคม   สมัยก่อน จำหน่ายได้ยากและลำบาก    แต่ปัจจุบันถนนหนทางดี การเดินทางจากอำเภออุ้มผาง มายังบ้านเปิ่งเคลิ่ง  ประมาณ 85  กิโลเมตร ซึ่งปัญหาในขณะนี้มีเพียง เรื่องการติดต่อสื่อสาร สัญญาณโทรศัพท์  ในบางวันก็มีบางวันก็ไม่มี เป็นบางพื้นที่ ติดต่อสื่อสารกันยากมาก
     

 

ชาวบ้านเร่งแปรรูป"ทุุเรียน" บ้านเปิ่งเคลิ่ง" หลังพ่อค้าสั่งซื้อแต่ไม่มารับ

 

 

ด้าน  นายรัตนกุล สังขศิลา   ปลัดอำเภออุ้มผางหัวหน้าฝ่ายทะเบียนและบัตร เปิดเผยว่า ตนเองออกหน่วย สำนักทะเบียนที่ว่าการอำเภออุ้มผางเคลื่อนที่  ให้บริการพี่น้องประชาชนร่วมกับสำนักบริหารการทะเบียนภาค 6 พิษณุโลก สาขาจังหวัดตาก  เห็นว่า ทุเรียน พื้นบ้านของอำเภออุ้มผาง มี กลิ่นหอม รสหวาน เห็นปัญหาของชาวบ้าน ในเรื่องของ ทุเรียนพื้นบ้าน ที่มีพ่อค้า สั่งซื้อแล้วไม่มารับ ทำให้เกษตรกร ต้องนำทุเรียนมาแปรรูป ด้วยการกวน จึงฝากถึงนักท่องเที่ยว มาเที่ยวอุ้มผาง เดินทางไปประมาณ 85 กิโลเมตร เส้นทางเป็นถนนลาดยาง มีการเดินทางสะดวกกว่าเดิม ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาอุดหนุนทุเรียนบ้านเปิ่งเคลิ่ง

 

 

ชาวบ้านเร่งแปรรูป"ทุุเรียน" บ้านเปิ่งเคลิ่ง" หลังพ่อค้าสั่งซื้อแต่ไม่มารับ

 

 

 

นายธัญปวัฒน์ ภูริวัฒนเมธา   นายอำเภออุ้มผาง กล่าวว่า ทุเรียน บ้านเปิ่งเคลิ่ง เป็นทุเรียนพื้นบ้าน ที่ปลูกกันมายาวนานหลายสิบปีแล้ว และมีทุเรียนพันธุ์ดี โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดตาก สำนักงาน เกษตรอำเภออุ้มผาง ได้ต่อยอดส่งเสริมปลูกทุเรียนพันธุ์ดี เช่น ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง

 

 

ชาวบ้านเร่งแปรรูป"ทุุเรียน" บ้านเปิ่งเคลิ่ง" หลังพ่อค้าสั่งซื้อแต่ไม่มารับ

 

 

ขอเชิญชวน เที่ยวงาน ทุเรียนเบิ่งเคลิ่งและของดีอุ้มผาง   ในวันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน  2565 ตั้งแต่ 08.00 น.  ซึ่งจะจัดงานที่โรงเรียนท่านผู้หญิงวิไลอมาตยกุล บ้านเปิ่งเคลิ่ง หมู่ที่ 9 ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก  ในงานพบกับเกษตรกร  ร้านค้า  ร้านผลไม้  โดย เฉพาะทุเรียนมาจำหน่ายพืชผักผลไม้ และสินค้าที่ผลิตในอำเภออุ้มผาง มาบริการให้กับพี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวโดยการกิจกรรมครั้งนี้ เทศบาลตำบลแม่จัน  เป็นผู้จัดงานร่วมกับอำเภออุ้มผาง เกษตรอำเภออุ้มผาง

 


จากสภาพปัญหาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการแก้ไขปัญหา เรื่องทุเรียน โดยการแปรรูปทำทุเรียนกวน  และ การแก้ไขปัญหาโดย ผู้นำท้องถิ่นร่วมกันจัดงานกิจกรรม ทุเรียนบ้านเปิ่งเคลิ่งและของดีอำเภออุ้มผาง เพื่อเพิ่มพื้นที่ การขายสินค้า พื้นบ้าน สินค้าการเกษตรพื้นบ้านโดยเฉพาะทุเรียน เพื่อโปรโมทแหล่งท่องเที่ยวและสินค้าการเกษตรของชุมชนโดยเฉพาะทุเรียนพื้นบ้าน ที่อยู่คู่กับหมู่บ้านเปิงเคลิ่งมาอย่างยาวนานและหมากที่ขึ้นชื่อและสร้างรายได้ให้กับชุมชน

 

 

 

ภาพ-ข่าว/ไพฑูรย์  สุขแว่น  ผู้สื่อข่าวจ.ตาก