เช็คเลย 6 โรค ใช้ "กัญชา" รักษา ทางการแพทย์ โรคอื่น อย่าหาทำ
เช็คเลย 6 โรค 4 กลุ่ม ใช้ "กัญชา" รักษา ทางการแพทย์ หลังปลดล็อก กัญชาเสรี โรคอื่น อย่าเพิ่งหาทำ ผลข้างเคียงอันตรายกว่าที่คิด
"กัญชา" กำลังเป็นกระแสที่คนให้ความสนใจ หลังจากมีการปลดล็อก กัญชาเสรี ออกจากบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 5 เนื่องจาก กัญชา ถือเป็นสมุนไพร
ที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ แต่หากใช้ไม่ถูกต้อง ใช้เกินความจำเป็น หรือมีสาร THC เกิน 0.2% ก็ทำให้เกิดโทษได้เช่นกัน
"กัญชา" เป็นพืชที่มีผลออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท และใช้เป็นยารักษาโรคมาตั้งแต่ยุคโบราณหลายพันปีมาแล้ว ก่อนการเกิดศาสนา ซึ่งมีหลักฐานทางโบราณคดีที่เชื่อว่า มนุษย์ในสมัยนั้นใช้กัญชาเพื่อเหตุผลทางจิตวิญญาณ จากการขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์อายุราว 10,000 ปี สันนิษฐานว่ามนุษย์ในยุคนั้นใช้กัญชาเผาไฟที่ด้านในสุดของถ้ำ เพื่อสูดดมควันจากการเผาไหม้ของกัญชา นอกจากนั้น ยังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บ่งชี้ว่า มีการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์ ทั้งจากประเทศอังกฤษที่มีหนังสือกล่าวถึงการใช้กัญชาในการรักษาโรคซึมเศร้า รักษาอาการปวดประจำเดือน
กัญชา มีสารสำคัญหลากหลายชนิด เช่น แคนนาบินอยด์ นำมาใช้ในการรักษา หรือบรรเทาอาการปวดของโรค คำแนะนำในการใช้กัญชามาใช้ในทางการแพทย์ ปี 2564 โดยกรมการแพทย์
6 โรคที่กัญชาได้ประโยชน์ในการรักษา
- ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
- โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
- ภาวะปวดประสาทส่วนกลาง ที่ใช้วิธีรักษาอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักน้อย
- ส่วนการรักษาที่ต้องการการวิจัยเพิ่มคือ โรคมะเร็ง
4 กลุ่มโรคที่น่าจะได้รับประโยชน์จากสารสกัดกัญชา แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุน
- โรคพาร์กินสัน
- โรคอัลไซเมอร์
- โรคปลอกประสาทอักเสบอื่นๆ (ที่ไม่ใช่ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง)
- โรคอื่นๆ ที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการว่าน่าจะได้รับประโยชน์
สำหรับ ผลข้างเคียงของการบริโภคกัญชา อาจมีอาการปากแห้ง คอแห้ง ง่วงนอน วิงเวียน เกิดขึ้น 30 นาที ถึง 3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับปริมาณที่บริโภค เเละอาจทำให้เกิดอาการวิกฤตที่ส่งผลต่อระบบสาธารณสุข และเศรษฐกิจของประเทศได้
ติดตามช่องทาง คมชัดลึก
ที่มา กัญชาทางการแพทย์