"พาณิชย์" โบ้ย "คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ" แก้ปัญหา "น้ำมันแพง"
แก้ปัญหา "น้ำมันแพง" ต้องให้ "คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ" ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เริ่มก่อน กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการไม่ได้เพราะมีกฎหมายเฉพาะ
บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 เวลา 16.00 น.
ซึ่งเป็นเวลาท้องถิ่นของประเทศไอซ์แลนด์ ที่สนามบิน Keflavikประเด็นที่มีข้อเสนอให้กระทรวงพาณิชย์ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 เข้ามากำกับดูแลค่าการกลั่นน้ำมันเพื่อช่วยให้ราคาขายปลีกน้ำมันลดลงว่า ไม่ได้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่แรก เพราะน้ำมันเป็นสินค้าเฉพาะมีข้อกฎหมายเฉพาะในการกำกับดูแล กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันฉบับที่หนึ่ง คือ พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มาตรา 6(2) ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติไว้โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นเลขานุการ
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีหน้าที่กำหนดราคาหรือการวางหลักเกณฑ์เรื่องราคาน้ำมันเชื้อเพลิงต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาและบริหารพลังงานแห่งประเทศ เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของกระทรวงพลังงานซึ่งเห็นได้ชัดว่าใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ปัญหาราคาพลังงาน เพราะวัตถุประสงค์ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่บอกไว้ว่า มีไว้เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในภาวะวิกฤตน้ำมันเชื้อเพลิง
ขณะที่ พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาตรา 27 กำหนดไว้ว่าใครเป็นผู้ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งประกอบด้วยโรงกลั่น ตามมาตรา 27(1) และผู้นำเข้า ตามมาตรา27(2) แม้พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติท้ายกฎหมายจะเขียนไว้ ว่า การบริหารพลังงานของประเทศ กระจัดกระจายตามหน่วยงานต่างๆแต่เพื่อให้มีเอกภาพจึงได้จัดตั้ง คณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมาเพื่อให้การบริหารจัดการเรื่องพลังงาน ณ เวลานี้อำนาจหน้าที่แก้ปัญหาราคาน้ำมันแพงตามกฎหมายจึงเป้นไปตามทีระบุไว้ในกฎหมาย 2 ฉบับนี้
ถามว่าทำไมกระทรวงพาณิชย์ซึ่งกำกับดูแล พรบ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการว่า จึงไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ก็ต้องอธิบายว่าโดยหลักการของกฎหมาย หากมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะสำหรับเรื่องใด นักกฎหมายย่อมเข้าใจดีว่าต้องเริ่มเดินจากตรงนั้นก่อน