ข่าว

"NSDF" จับมือ "ส.ฟุตบอลไทย" พัฒนาเยาวชนตามมาตรฐานฟีฟ่า

"NSDF" จับมือ "ส.ฟุตบอลไทย" พัฒนาเยาวชนตามมาตรฐานฟีฟ่า

29 มิ.ย. 2565

"กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ" หรือ "NSDF"  ร่วมกับ "สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย" เปิดปฐมบทใหม่เพื่อฟุตบอลไทยสู่ความยั่นยืน กับโครงการ "Grow Together" ให้เยาวชนไทยทั่วประเทศ เติบโตเป็นนักฟุตบอลมืออาชีพภายใต้มาตรฐานฟีฟ่า

"กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ" หรือ "NSDF" ร่วมกับ "สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย" ในพระบรมาชูปถัมภ์ (FA Thailand) จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ  " Grow Together" ปฐมบทใหม่เพื่อฟุตบอลไทยสู่ความยั่งยืน (The Revolution of Thai Football’s Ecosystem) ภายใต้การควบคุมมาตรฐานของ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ผ่านการวิจัยและประสานงานระหว่างฝ่ายพัฒนาเทคนิคของสมาคมฯ ณ ห้องไทย จิตรลดา แกรนด์บอลรูม โรงแรมแมริออท มาร์คีส์ ควีนปาร์ค กรุงเทพฯ นับเป็นความร่วมมือครั้งประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นแห่งแรก กับการจัดวางโครงสร้างการพัฒนานักกีฬาฟุตบอลเยาวชนทั้งระบบ โดยการสร้างและจัดเก็บฐานข้อมูล รวมถึงการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ เพื่อการพัฒนาหลักสูตรการอบรมผู้ฝึกสอนอคาเดมีฟุตบอล ศักยภาพนักกีฬา และการจัดการแข่งขันลีกเยาวชน ตลอดจนการทบทวนและวิเคราะห์เพื่อนำผลที่ได้ไปปรับปรุงหลักสูตร ภายใต้มาตรฐานเดียวกันที่จะส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น เปรียบเสมือนระบบนิเวศของวงการฟุตบอลไทยที่ได้รับความร่วมมือจากทั้งสามองค์กร

 

 

โดยภายในงานได้ "อาร์แซน เวนเกอร์Arsène Wenger อดีตผู้จัดการทีมอาร์เซนอล หรือปัจจุบันรับหน้าที่ หัวหน้าแผนกพัฒนาฟุตบอลของฟีฟ่า  มาใช้พัฒนาวงการฟุตบอลไทย ซึ่งแวงแกร์เริ่มออกแบบโปรแกรมจากแนวคิดที่ว่า ฟุตบอลทุกชาติสามารถเป็นหนึ่งเดียวกันได้ และทุกชาติสามารถผลิตเด็กขึ้นมาเป็นนักฟุตบอลที่มีคุณภาพได้เหมือนเป็น Ecosystem ซึ่งการทำ Ecosystem ในการเล่นฟุตบอลให้ถูกต้อง จะช่วยพัฒนาวงการฟุตบอลได้ โครงการ " Grow Together"  จึงเป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสร้างนักฟุตบอล และสามารถพัฒนาศักยภาพเด็กให้เติบโตขึ้นเป็นนักฟุตบอลที่มีประสิทธิภาพภายใต้มาตรฐานเดียวกัน จนทำให้ทีมชาติแต่ละชาติมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ " 

 

ซึ่ง พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า " การที่เด็กจากแต่ละสังกัดถูกส่งลงแข่งตามรายการต่างๆ ที่จัดขึ้นสำหรับเยาวชน เช่น การแข่งขันที่จัดโดยกรมพลศึกษา ฟุตบอลลีกระดับเยาวชน ฯลฯ ซึ่งจะทำให้เด็กที่มีศักยภาพได้รับโอกาสในการลงแข่งขัน แต่สมาคมฯ ไม่สามารถเข้าถึงเด็กเหล่านี้ได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากไม่มีการเก็บข้อมูลนักกีฬาเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลกลางในการค้นหา จึงไม่มีข้อมูลในการติดตามตัว ทำให้พลาดโอกาสสำคัญในการสร้างนักกีฬาเก่งๆ ให้กับวงการฟุตบอลไทย ซึ่งเป็นจุดด้อยที่วิเคราะห์ได้ว่าเกิดจากการที่ระบบ Ecosystem ของวงการฟุตบอลไทยยังไม่มีมาตรฐานที่เป็นแกนกลางในการสอน ทำให้ไม่มีระบบฐานข้อมูลกลางในการเก็บข้อมูลนักกีฬา ส่งผลให้พลาดโอกาสในการดึงตัวนักกีฬาที่มีศักยภาพไปโดยไม่รู้ตัว

 

Website -  www.komchadluek.net
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

 

สมาคมฯ จึงเริ่มแก้ปัญหาด้วยการสร้างหลักสูตร (THE CURRICULUM) สำหรับประเทศไทยขึ้น โดยความร่วมมือของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับวงการฟุตบอลไทย เช่นเดียวกับวงการฟุตบอลในประเทศที่พัฒนาแล้วที่จะมีเพียงหลักสูตรเดียวที่ใช้สอนเหมือนกันทั้งประเทศ เปรียบเสมือนปรัชญาของนักฟุตบอล และนำเสนอแผนงานเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินทุนจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มาปั้นเป็นโครงการ " Grow Together "  ปฐมบทใหม่เพื่อฟุตบอลไทยสู่ความยั่งยืน” ที่สมาคมฯ ร่วมกับฟีฟ่าสร้างขึ้นโดยอ้างอิงข้อมูลจากการวิจัยทางด้านประชากรศาสตร์ของแต่ละประเทศ จากสภาพแวดล้อม สังคม ลักษณะการเติบโต การอยู่อาศัย อาหาร แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรเฉพาะของแต่ละชาติ ซึ่งประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศแรกในโลกที่ได้รับคัดเลือกว่ามีความพร้อมที่จะนำหลักสูตรนี้มาใช้ในวงการฟุตบอล "

 

สำหรับ มร.เคลลี ครอสส์ ผู้แทนจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า  กล่าวว่า " ก่อนการนำแนวความคิดที่จะมาสร้างโครงการ “Grow Together! ในประเทศไทย ทางฟีฟ่าได้ลงพื้นที่วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของวงการฟุตบอลไทยรวมถึงประเทศอื่นๆ เป็นเวลาถึง 3 ปี เพื่อเฟ้นหาประเทศที่มีความพร้อมที่สุด แล้วสรุปออกมาเป็นรายงานในการสร้างแนวทางหลักสูตรระดับชาติ (National Curriculum) ของแต่ละประเทศ จากการเข้ามาเก็บข้อมูลวิเคราะห์เส้นทางการเข้าสู่วงการฟุตบอลของเด็กไทย พบว่า เส้นทางการเริ่มต้นเข้าวงการฟุตบอลของเด็ก 1 คน แบ่งออกเป็นโรงเรียน การเล่นในทีมโรงเรียน, โรงเรียนกีฬา, อคาเดมีแบบไพรเวท เรียนเสริมเสาร์-อาทิตย์, อคาเดมีแบบคลับ ซึ่งจะมีแมวมองมักจะไปเจอเด็กที่สถานที่นี้ และดึงมาเป็นเด็กฝึกในสังกัดต่อไป " 

 

ทางด้าน พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ผู้แทนประธานกรรมการกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ กล่าวว่า " จุดเริ่มต้นของโครงการ "Grow Togethe"  ปฐมบทใหม่เพื่อฟุตบอลไทยสู่ความยั่งยืน” เกิดจากแนวคิดของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ซึ่งเล็งเห็นถึงปัญหาของเด็กไทยในวงการฟุตบอลที่ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงการสนับสนุน รวมถึงเด็กบาง ส่วนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลยังขาดโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจนทำให้ต้องละทิ้งความฝัน ทั้งที่เด็กจำนวนมากมีศักยภาพ มีความสามารถที่จะต่อยอดและพัฒนาตัวเองไปจนถึงระดับทีมชาติหรือในระดับโลกได้ กองทุนฯ จึงเกิดแนวคิดในการสานต่อความฝันของเด็กไทยให้ประสบความสำเร็จและเกิดการพัฒนาวงการฟุตบอลไทยด้วยมาตรฐานใหม่ที่ได้รับการรับรองจากองค์กรฟุตบอลระดับโลก

 

ดร.สุปราณี คุปตาสา ผู้จัดการกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ กล่าวว่า ทางกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติได้จัดการประชุมหารือแสดงความคิดเห็นร่วมกันกับสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และฟีฟ่า เพื่อกำหนดเป้าหมายและข้อตกลงที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการสร้าง Ecosystem ที่เป็นปฐมบทใหม่เพื่อฟุตบอลไทยสู่ความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในวงการฟุตบอลไทย แก้ปัญหาการลื่นไหลในวงกว้างของวงการฟุตบอล เพื่อสร้างโอกาสให้กับเยาวชนไทยที่มีศักยภาพได้มีโอกาสเติบโตในเส้นทางจนได้เป็นนักกีฬาทีมชาติที่มีมาตรฐานอย่างมืออาชีพ และพัฒนาหลักสูตรทุกปี เพื่อทำให้เกิดมาตรฐานในวงการฟุตบอลไทยที่ดีที่สุดและเสถียรที่สุด พร้อมนำวงการฟุตบอลไทยให้ก้าวไกลสู่มาตรฐานระดับโลก

\"NSDF\" จับมือ \"ส.ฟุตบอลไทย\" พัฒนาเยาวชนตามมาตรฐานฟีฟ่า \"NSDF\" จับมือ \"ส.ฟุตบอลไทย\" พัฒนาเยาวชนตามมาตรฐานฟีฟ่า \"NSDF\" จับมือ \"ส.ฟุตบอลไทย\" พัฒนาเยาวชนตามมาตรฐานฟีฟ่า \"NSDF\" จับมือ \"ส.ฟุตบอลไทย\" พัฒนาเยาวชนตามมาตรฐานฟีฟ่า

คมชัดลึก ยังมีเนื้อหาสาระอื่นๆ ดูเพิ่มเติมได้ที่
Instagram - https://www.instagram.com/komchadluek_online/

Youtube - https://www.youtube.com/user/KOMCHADLUEK/
Tiktok - https://www.tiktok.com/@komchadluekonline