ข่าว

"ชัชชาติ"รับ5ข้อเสนอสภาองค์กรผู้บริโภคเล็งเจรจา "บีทีเอส"ฟื้นตั๋วเดือน

"ชัชชาติ"รับ5ข้อเสนอสภาองค์กรผู้บริโภคเล็งเจรจา "บีทีเอส"ฟื้นตั๋วเดือน

29 มิ.ย. 2565

"ชัชชาติ"รับข้อเสนอ 5ข้อ สภาองค์กรผู้บริโภค สะท้อนปัญหาราคารถไฟฟ้า ชี้ ต้องเก็บเงินส่วนต่อขยายระยะสั้น ส่วนราคารวมตลอดทั้งสาย 44 หรือ 59บาท ยังไม่สรุป เล็งเจรจา"บีทีเอส" ฟื้นตั๋วเดือน-ตั๋วนักเรียน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร “ผู้ว่าฯกทม.” เดินทางเข้าหารือร่วมกับ สภาองค์กรของผู้บริโภค โดย น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ถึงประเด็นราคาค่ารถไฟฟ้า โดยใช้เวลาการหารือนานกว่า 30 นาที จากนั้นได้รับหนังสือข้อเสนอแนะจากสภาองค์กรของผู้บริโภค

 

โดยนางสาวสารี ยอมรับว่า การพบ ผู้ว่าฯกทม.วันนี้ เพื่อต้องการให้ กทม.รับฟังปัญหาของผู้บริโภค ที่คนกรุงเทพมหานคร มีความยากลำบากในการใช้บริการรถไฟฟ้า โดยเฉพาะปัญหาเรื่องราคาค่าโดยสารแพง

โดยได้ยื่นข้อเสนอ 5ข้อ คือ

 

  • 1.ขอให้ยกเลิกราคา 59บาท เพราจะทำให้เกิดเพดานราคาสูง ทำให้คนไม่สามารถใช้ได้ทุกวัน ซึ่งถ้าให้เป็นราคาตลอดสายคือ อาจจะทำให้ส่งผลต่อการเข้าถึงการใช้บริการของผู้บริโภาค

 

  • 2.ขอให้กรุงเทพมหานครเก็บค่าโดยสาร 44 บาทตลอดสาย ทั้ง 2 ฝั่งของส่วนต่อขยาย เพื่อดูแลบริษัทรับสัมปทาน คือ บีทีเอส ด้วย และเพื่อเป็นต้นแบบให้กับรถไฟฟ้าสายอื่นต่อไป เพราะไม่มีประเทศไหนที่คิดค่าบริการประชาชนเท่ากับเงินที่ลงทุนไป เพื่อให้เป็นมิตรกับผู้บริโภคที่จะสามารถใช้บริการได้ แต่รัฐบาลจะต้องเข้ามาสนับสนุนค่าบริการบางส่วน

 

  • 3.ขอให้มีการแก้ไขสัญญาการเดินรถที่ต่อสัญญาเกินไปถึงปี 2585 ซึ่งเป็นการทำสัญญาเกิน สัญญาสัมปทาน เพราะสัมปทานจะหมดในปี 2572 จึงขอให้หาทางแก้ปัญหานี้ หากยกเลิกการเดินรถที่เกินสัญญาสัมปทานได้ เชื่อว่าจะทำให้ผู้บริโภคมีราคาที่เป็นมิตรมากขึ้น

 

  • 4.สนับสนุนให้กรุงเทพมหานคร ไม่ต่อสัญญาสัมปทาน และ ขอให้ใช้วิธีการประมูลแข่งขันการทำสัญญากับเอกชน

 

  • 5.เสนอว่าหลังหมดสัญญาสัมปทานในปี 2572 ราคาค่าบริการควรอยู่ที่ 25 บาท และ ขอให้มีการมีตั๋วรายเดือน ตั๋วนักเรียน พร้อมเปิดเผยสัญญาสัมปทานใหม่

นางสาวสารี เสนอว่า หลังหมดสัญญาสัมปทานให้ใช้ราคา25บาท ซึ่งเชื่อว่าราคานี้ทำได้จริง แต่ก่อนหมดสัญญา

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. รับ 5 ข้อเสนอสภาองค์กรของผู้บริโภค

 

ด้าน นายชัชชาติ กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอทั้ง5ข้อนั้น เรื่องเรื่องเงิน 59บาท กับ 44บาท มีส่วนต่อขยายที่ไม่ได้เก็บเงิน จะลองทำตัวเลขกรอบราคา44บาทว่าต้องชดเชยเงินเท่าไร และถ้า59บาทต้องชดเชยเงินเท่าไร แล้วจะนำมาให้สภาผู้บริโภคฯพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งการกำหนดราคา 59 บาท เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาระยะสั้น ตามข้อเสนอแนะของทีดีอาร์ไอ ซึ่งปัจจุบันการให้บริการรถไฟฟ้าในพื้นที่ส่วนที่เป็นไข่แดงเดิม ก็คิดราคา 44 บาทอยู่แล้ว หากคิดราคาตลอดสาย รวมส่วนต่อขยาย ในราคา 44 บาทเท่าเดิม การวิ่งส่วนต่อขยายส่วนที่ 1-2 เท่ากับ กทม.ไม่ได้เงินเลย ดังนั้นต้องไปดูความเป็นไปได้ ว่าจะต้องจ่ายเงินชดเชยเท่าไหร่ และต้องไปเปรียบเทียบกับค่าโดยสารสายอื่นด้วย

 

ส่วนการเปิดเผยสัญญาสัมปทานนั้น ในข้อสัญญามีข้อตกลงว่า ห้ามเปิดเผย ดังนั้นต้องดูข้อกฎหมายว่าจะเปิดได้หรือไม่อีกที

 

ซึ่งวันนี้เป็นการรับข้อเสนอ ส่วนตัวถือว่าเป็นเรื่องที่ดี และจะต้องดูให้สมดุล มีทั้งคนที่ใช้รถไฟฟ้าบีทีเอส และไม่ใช้บีทีเอสซึ่งจะต้องดำเนินการส่วนนี้ด้วย

 

ทั้งนี้สัญญาว่าจ้างเดินรถที่เซ็นไว้แล้ว จากปี 2572 ไปสิ้นสุดปี 2585 คือปัญหาหลัก ทำให้ขยับตัวในการตัดสินใจของกรุงเทพมหานครยาก เพราะมีการเซ็นต์สัญญาไปแล้ว และค่าใช้จ่ายกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี ต้องไปดูว่าทำอย่างไรให้สัญญาการจ้างเดินรถไม่ต้องถึงปี 2585 และหากได้กลับมาหมดสัญญาสัมปทานปี 2572 ก็จะทำให้เกิดการประมูลใหม่มีการแข่งขันที่เป็นธรรมขึ้น

 

ส่วนประเด็นภาระหนี้ที่กรุงเทพมหานคร ยังติดค้างจ่ายเอกชนค่าจ้างเดินรถ และหน่วยงานรัฐ จากหนี้โครงสร้างพื้นฐาน นายชัชชาติ ยืนยันว่า หากจะต้องจ่ายก็จะต้องมีความชัดเจน ว่าหนี้ที่มีนั้น ที่มาที่ไปของภาระหนี้ที่เกิดขึ้น ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่โดยเฉพาะจากเอกชน และจะต้องมาพิจารณาดูด้วยว่าเงินที่จะนำมาชำระ จะมาจากแหล่งเงินกู้ใด ซึ่งหากกู้เงินจากหน่วยงานรัฐ ดอกเบี้ยก็จะถูกกว่าเอกชน และส่วนใดที่รัฐบาลจะเข้ามาสนับสนุน กรุงเทพมหานคร(กทม.)