ข่าว

เงินเฟ้อ คนไทย แบก "ค่าใช้จ่ายครัวเรือน" 18,088 บ. เกิน ค่าจ้างขั้นต่ำ 2 เท่า

เงินเฟ้อ คนไทย แบก "ค่าใช้จ่ายครัวเรือน" 18,088 บ. เกิน ค่าจ้างขั้นต่ำ 2 เท่า

10 ก.ค. 2565

ยิ่งกว่าหาเช้ากินค่ำ คนไทยแบก "ค่าใช้จ่ายครัวเรือน" เฉลี่ย 18,088 ต่อเดือน เงินเฟ้อ ค่าครองชีพ สูงเกิน "ค่าจ้างขั้นต่ำ" ถึง 2 เท่า ส่วนใหญ่เป็นค่าเดินทาง ค่าเช่าบ้าน และสาธารณูปโภค

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หรือ สนค. รายงาน "ค่าใช้จ่ายครัวเรือน" เดือน มิถุนายน 2565  โดยพบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน มิถุนายน 2565 อยู่ที่ร้อยละ 7.66 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน หากมองในมิติการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้พบว่า ปัจจัยหลักยังคงเป็นราคาพลังงาน ทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 61.83 ทำให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัวร้อยละ 7.66  ทั้งนี้ สนค. ได้รายงานสรุป "ค่าใช้จ่ายครัวเรือน" เดือน มิถุนายน 2565 รวมค่าใช้จ่ายรายเดือน 18,088 บาท ซึ่งสูงกว่า "ค่าจ้างขั้นต่ำ" วันละ 300 บาท ถึง 2 เท่า 

 

"ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน" เเบ่งออกเป็น 14 ประเภท พบว่า สัดส่วน ค่าใช้จ่ายสูงสุดต่อครัวเรือน เป็นค่าใช้จ่าย เรื่อง ค่าเดินทาง ค่าเช่าบ้าน และค่าสาธารณูปโภค สูงถึง 8,432 บาท คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของ "ค่าใช้จ่ายครัวเรือน" ทั้งหมด หรือ ร้อยละ 46.62

"ค่าใช้จ่ายครัวเรือน" สูงสุด เรียงตามอันดับ ได้เเก่

อันดับ 1 ร้อยละ 24.75  เป็นค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์มือถือ 4477 บาท

 

อันดับ 2 ร้อยละ 21.87  ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม เครื่องใช้ในบ้าน 3955 บาท

 

อันดับ 3 ร้อยละ 9.68   เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ 1752 บาท

 

อันดับ 4 ร้อยละ 8.76   อาหารบริโภคในบ้าน delivery 1585 บาท

 

อันดับ 5 ร้อยละ 6.71   อาหารบริโภคนอกบ้าน ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง KFC pizza 1214 บาท

 

อันดับ 6 ร้อยละ 5.35   ค่าเเพทย์ ค่ายา และค่าบริการส่วนบุคคล 967 บาท

 

อันดับ 7 ร้อยละ 5.08   ผักและผลไม้ 918 บาท
 

อันดับ 8 ร้อยละ 4.19   ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียน และการกุศลต่าง ๆ 758 บาท 

 

อันดับ 9 ร้อยละ 3.62   ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง 655 บาท

 

อันดับ 10 ร้อยละ 2.42   เครื่องปรุงอาหาร 438 บาท

 

อันดับ 11 ร้อยละ 2.13   เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 386 บาท

 

อันดับ 12 ร้อยละ 2.07   ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า 375 บาท

 

อันดับ 13 ร้อยละ 2.04   ไข่เเละผลิตภัณฑ์นม 370 บาท

 

อันดับ 14 ร้อยละ 1.32   ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 239 บาท


เงินเฟ้อ คนไทย แบก \"ค่าใช้จ่ายครัวเรือน\" 18,088 บ. เกิน ค่าจ้างขั้นต่ำ 2 เท่า