ข่าว

"เซี่ยงไฮ้"อากาศร้อนเป็นประวัติการณ์ เเตะ 40 องศาเซลเซียส

"เซี่ยงไฮ้"อากาศร้อนเป็นประวัติการณ์ เเตะ 40 องศาเซลเซียส

14 ก.ค. 2565

"เซี่ยงไฮ้" อากาศร้อนเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่เริ่มเก็ยสถิติในปี1873 อุตุนิยมรายงานอุณหภูมิในเมืองสูงแตะ 40.9 องศาเซลเซียส เมื่อช่วงบ่ายวันพุธ (13 ก.ค.) ซึ่งเทียบเท่าสถิติอุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์ของเมืองเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2017

"เซี่ยงไฮ้" อากาศร้อนเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่เริ่มเก็ยสถิติในปี1873  อุตุนิยมวิทยารายงานอุณหภูมิในเมืองสูงแตะ 40.9 องศาเซลเซียส เมื่อช่วงบ่ายวันพุธ (13 ก.ค.) ซึ่งเทียบเท่าสถิติอุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์ของเมืองเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2017

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาเซี่ยงไฮ้ แจ้งเตือนอุณหภูมิสูง ระดับสีส้ม ตอน 08.00 น. ของวันพุธ (13 ก.ค.) ก่อนจะยกระดับเป็นสีแดง ซึ่งเป็นระดับสูงสุด โดยประกาศดังกล่าวนับเป็นการแจ้งเตือนระดับสีแดง ครั้งที่ 2 ในรอบ 3 วันเซี่ยงไฮ้มีวันที่อุณหภูมิสูงเกิน 35 องศาเซลเซียสในปีนี้ รวม 14 วัน เมื่อนับถึงวันพุธ (13 ก.ค.) ซึ่งรวมถึงวันที่อุณหภูมิสูงเกิน 37 องศาเซลเซียส 8 วัน และวันที่อุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส 2 วันทั้งนี้ ข้อมูลการพยากรณ์ล่าสุดระบุว่าเซี่ยงไฮ้จะยังคงมีอุณหภูมิสูงต่อไปอีก 3-4 วัน และคาดว่าจะสูงถึง 39-40 องศาเซลเซียส ในวันพฤหัสบดี (14 ก.ค.) และคาดว่าตลอดทั้งสัปดาห์นี้จะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก ที่ผ่านมาเซี่ยงไฮ้เคยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เพียง 15 วัน นับตั้งแต่เริ่มเก็บสถิติในปี 1873 ในขณะที่บางพื้นที่ของมณฑลเหอเป่ยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดถึง 44.2 องศาเซลเซียส

และเมื่อวันที่ 12 กรกฏาคมที่ผ่านมา รัฐบาลจีออกประกาศเตือนให้ 86 เมือง อยู่ในระดับสีแดง ซึ่งเป็นระดับเตือนภัยสูงสุด โดยเตือนว่าอุณหภูมิจะอยู่สูงกว่า 40 องศาเซลเซียสใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า จึงให้ระงับการก่อสร้างและงานกลางแจ้งอื่น ๆ โดยหนึ่งในเมืองที่ได้รับการเตือน คือ เซี่ยงไฮ้ ซึ่งขณะนี้ยังคงต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทางการได้เตือนประชาชน 25 ล้านคน ให้เตรียมพร้อมสำหรับอากาศร้อนจัดในสัปดาห์นี้ คาดร้อนแตะ 40 องศาเซลเซียส

 

และยังมีอีกหลายเมืองที่เผชิญความร้อนรุนแรงเช่นกัน โดยเมืองทางตอนใต้ของมณฑลเจียงซี มีรายงานว่า ส่วนหนึ่งของผิวถนนเริ่มโค้งงอขึ้นอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เนื่องจาก ความร้อน ส่วนเมืองหนานจิง เปิดบริการให้ประชาชนใช้หลุมหลบภัยใต้ดินในยามสงคราม มาหลบร้อน โดยภายในมีไวไฟ ตู้น้ำเย็น และเตาอบไมโครเวฟให้บริการ ในขณะที่เมืองฉงชิ่งอากาศร้อนมากจนทำให้กระเบื้องหลังคาแบบจีนโบราณแตกเสียหาย เนื่องจาก ตัวประสานหลังคาหลอมละลาย ทางการต้องใช้รถบรรทุกฉีดน้ำให้ถนนเย็นลง

 

 

ฤดูร้อนในปีนี้ จีนเจอภัยจาก "คลื่นความร้อน" และฝนที่ตกหนักต่อเนื่อง ซึ่งเจ้าหน้าที่กล่าวว่า สาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และได้เตือนถึงภัยพิบัติทางสภาพอากาศที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม ซึ่งมักจะเป็นช่วงเวลาที่พื้นที่ในประเทศจีนมีอากาศร้อนที่สุดและอีกฝนตกชุกที่สุดของปี

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website -  www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek