ข่าว

"สินิตย์" ดันเส้นใย "กัญชง" เป็นวัตถุดิบ ผลิตงาน ศิลปหัตถกรรมไทย

"สินิตย์" ดันเส้นใย "กัญชง" เป็นวัตถุดิบ ผลิตงาน ศิลปหัตถกรรมไทย

18 ก.ค. 2565

“สินิตย์” ผลักดันพืช "กัญชง" เผยประโยชน์จากเส้นใยที่มีคุณภาพใช้ในงาน สิ่งทอ ลดอุณหภูมิ ใส่ไม่ร้อน ระบายอากาศได้ดี เหมาะกับประเทศไทย มีความเหนียว ทนทาน พร้อมส่งไม้ต่อ sacit ต่อยอด สร้างสรรค์เป็นงานศิลปหัตถกรรมไทย เพิ่มมูลค่า ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

นายสินิตย์ เลิศไกร

 

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า “กัญชง” เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีประโยชน์และถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในงาน ศิลปหัตถกรรมไทย ประเภทงานทอผ้ามาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในกลุ่มชาวม้ง ที่ใช้ภูมิปัญญา ทักษะฝือ และวัตถุดิบที่เป็นเส้นใยจากกัญชงมาถักทอเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสวมใส่ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเส้นใยจากกัญชงมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัว คือ ใส่สบาย ไม่ร้อน ระบายอากาศได้ดี และยังมีความเหนียวทนทาน เมื่อเทียบกับเส้นใยธรรมชาติอื่น ๆ ยิ่งในช่วงของการปลดล็อคพืชกัญชงออกจากยาเสพติด ที่ได้ประกาศเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ก็จะยิ่งช่วยให้การปลูกต้น "กัญชง" เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ รวมถึงด้านงานศิลปหัตถกรรมไทย สามารถดำเนินงานได้คล่องตัวมากขึ้น เพราะนอกจากการนำมาถักทอเป็นผืนผ้าที่ได้เป็นเส้นใยจากธรรมชาติ 100% แล้ว กระบวนการปลูกก็เป็นวิถีชาวบ้านที่ไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ผ้าจากเส้นใยกัญชง เป็นงานศิลปหัตถกรรมไทยที่ตอบโจทย์เทรนด์รักษ์โลกอีกด้วย 

\"สินิตย์\" ดันเส้นใย \"กัญชง\" เป็นวัตถุดิบ ผลิตงาน ศิลปหัตถกรรมไทย

 

\"สินิตย์\" ดันเส้นใย \"กัญชง\" เป็นวัตถุดิบ ผลิตงาน ศิลปหัตถกรรมไทย

 

\"สินิตย์\" ดันเส้นใย \"กัญชง\" เป็นวัตถุดิบ ผลิตงาน ศิลปหัตถกรรมไทย

 

"ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน)  หรือ sacit ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้สร้างสรรค์งาน ศิลปหัตถกรรมไทย ไม่ว่าจะเป็นครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรมไทย ทายาทช่างศิลปหัตถกรรมไทย ตลอดจนผู้ประกอบการด้านงานศิลปหัตถกรรมไทย ให้มีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามามีบทบาทร่วมกับภูมิปัญญา และกรรมวิธีการผลิตชิ้นงาน ให้มีคุณภาพ มีความประณีต สวยงาม และที่สำคัญคือสอดรับกับความต้องการของตลาดและโลกที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ Green Product หรือ นำเอาเทรนด์แฟชั่นมาใส่ในชิ้นงาน เป็นต้น

 

เสื้อผ้า หมวก กระเป๋า และของใช้ จากต้นกัญชง

 

เสื้อผ้า หมวก กระเป๋า และของใช้จากต้นกัญชง

 

เช่นเดียวกับ ผลิตภัณฑ์จากเส้นใย "กัญชง" ซึ่งในอดีตจะมีการทอใช้งานกันในรูปแบบดั้งเดิม เป็นเสื้อผ้าที่ใส่ในชีวิตประจำวัน แต่ปัจจุบัน sacit ก็ได้มีการพัฒนาชิ้นงานเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น อาทิ เสื้อผ้าแฟชั่น หมวก กระเป๋า ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ที่สามารถนำมาประดับตกแต่งให้มีความทันสมัย และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับใยกัญชงได้ เป็นการช่วยยกระดับงานศิลปหัตถกรรมไทยให้มีความน่าสนใจมากขึ้น และสร้างรายได้ให้กับกลุ่มผู้ผลิตงานหัตถกรรมจากใยกัญชงได้เป็นอย่างดี" รมช.พาณิชย์ กล่าวทิ้งท้าย

ครูธัญพร ถนอมวรกุล ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2564 ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการสร้างสรรค์ผ้าเขียนเทียนใยกัญชง

 

การสร้างสรรค์ผ้าเขียนเทียนใยกัญชง

 

ด้าน นายพรพล เอกอรรถพร รักษาการแทน ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันแต่ละท้องถิ่นได้มีการหันมาปลูกต้น "กัญชง" เพื่อใช้ในงาน ศิลปหัตถกรรมไทย เพิ่มมากขึ้น เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนดาวม่าง งานผ้าใยกัญชง กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดย ครูธัญพร ถนอมวรกุล ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2564 ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการสร้างสรรค์ผ้าเขียนเทียนใยกัญชง โดยเริ่มตั้งแต่นำต้นกัญชงมาลอกเส้นใยและผ่านกรรมวิธีเฉพาะจนกลายเป็นผืนผ้า นำมาย้อมสีธรรมชาติ และบรรจงเขียนลวดลายลงบนผืนผ้าด้วยเทียนตามแบบฉบับชาวม้ง ก่อนนำมาตัดเย็บเป็นสินค้าแฟชั่นมากมาย

ครูนวลศรี พร้อมใจ ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2557

 

เสื้อผ้า หมวก กระเป๋า และของใช้จากต้นกัญชง

 

เสื้อผ้า หมวก กระเป๋า และของใช้จากต้นกัญชง

 

รวมถึง ครูนวลศรี พร้อมใจ ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2557 ก็เป็นอีกหนึ่งท่านที่บุกเบิกนำต้นกัญชงมาใช้ประโยชน์ โดยแปรรูปให้เป็นเส้นใย ก่อนนำมาถักทอเป็นสินค้าเสื้อผ้า หมวก กระเป๋า และของใช้อื่นๆ ที่สามารถใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบชิ้นงานให้สามารถตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้น และสามารถสร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชนอย่างยั่งยืน