ข่าว

เปิดความรุนแรง "แผ่นดินไหว" ระดับสั่นสะเทือน ควรเฝ้าระวัง

เปิดความรุนแรง "แผ่นดินไหว" ระดับสั่นสะเทือน ควรเฝ้าระวัง

28 มี.ค. 2568

รู้จักหน่วยแมกนิจูด แทนค่าพลังงานที่ปล่อยจากจุดศูนย์กลาง เปิดค่าความรุนแรง "แผ่นดินไหว" ระดับไหนอันตราย ควรเฝ้าระวัง

วันนี้ (28 มีนาคม พ.ศ. 2568) เวลา 13:22 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.9 แมกนิจูด บริเวณห่างจากประเทศไทยประมาณ 32 กิโลเมตร คาดว่าศูนย์กลางอยู่ในประเทศพม่า แรงสั่นสะเทือนสามารถรับรู้ได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย 

 

 

 

ในกรุงเทพมหานคร ผู้อยู่อาศัยในอาคารสูงรู้สึกถึงแรงสั่นไหว ส่งผลให้บางคนอพยพลงจากอาคารด้วยความตื่นตระหนก นอกจากนี้ ยังมีรายงานการรับรู้แรงสั่นสะเทือนในจังหวัดอื่นๆ เช่น นครราชสีมา เชียงใหม่ เชียงราย และนนทบุรี 

 

ตามข้อมูลจากกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา แผ่นดินไหวขนาด 4.9 แมกนิจูดจัดอยู่ในระดับที่ผู้คนทั้งภายในและภายนอกอาคารสามารถรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนได้ วัตถุที่ห้อยแขวนอาจแกว่งไกว แต่โดยทั่วไปไม่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อโครงสร้างอาคาร 

 

เปิดความรุนแรง \"แผ่นดินไหว\" ระดับสั่นสะเทือน ควรเฝ้าระวัง

 

 

ทำความรู้จัก หน่วย แมกนิจูด

 

หน่วย แมกนิจูด (Magnitude) ที่ใช้กับแผ่นดินไหว ไม่ใช่ "หน่วย" แบบ กิโลกรัม หรือเมตร แต่เป็น "ค่าทางคณิตศาสตร์" ที่ใช้บอก ขนาด หรือ พลังงาน ที่ปลดปล่อยออกมาจากแผ่นดินไหว

  • ระบบการวัดแมกนิจูด 

ปัจจุบันนิยมใช้หน่วยที่เรียกว่า โมเมนต์แมกนิจูด (Moment Magnitude Scale: Mw) ซึ่งแทนค่าพลังงานรวมที่ปล่อยจากจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหว

 

ลักษณะของค่าความแรง 

 

  • แผ่นดินไหว ขนาด 2.5 หรือต่ำกว่า – มักไม่รู้สึก
  • 2.5 – 5.4 – รู้สึกได้แต่ไม่ค่อยเสียหาย
  • 5.5 – 6.9 – อาจทำให้เกิดความเสียหายในพื้นที่เล็ก
  • 7.0 – 7.9 – แรง อาจเกิดความเสียหายมาก
  • 8.0 ขึ้นไป – รุนแรงมาก เสี่ยงเกิดภัยพิบัติใหญ่

 

หมายเหตุ : ค่าความแรงแผ่นดินไหวเป็น ลอการิทึมฐาน 10
เช่น แผ่นดินไหวขนาด 6.0 ปล่อยพลังงานมากกว่าขนาด 5.0 ถึง 32 เท่า

 

เปิดความรุนแรง \"แผ่นดินไหว\" ระดับสั่นสะเทือน ควรเฝ้าระวัง

 

 

ขนาดและความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหวตามหน่วยมาตราริคเตอร์ และ มาตราเมอร์แคลลี่ 

 

ขนาดและความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหวจะมีหน่วยเป็น มาตราริคเตอร์ และ มาตราเมอร์แคลลี่ ความรุนแรงของแผ่นดินไหวสามารถวัดได้ทั้งขณะเกิดและหลังเกิด คนอาจจะรู้สึกได้ถึงการเกิดแผ่นดินไหว มีอาคารเสียหายหรือมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง

 

 

โดยขนาดและความสัมพันธ์โดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้จุดศูนย์กลางตามมาตราริคเตอร์ แบ่งได้เป็น 5 ช่วง คือ

  • ความรุนแรง 1.0-2.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มรู้สึกถึงอาการสั่นไหว บางครั้งรู้สึกเวียนศีรษะ
  • ความรุนแรง 3.0-3.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน
  • ความรุนแรง 4.0-4.9 เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคารและนอกอาคารรู้สึกถึงการสั่นสะเทือน วัตถุที่ห้อยแขวนมีการแกว่งไปมา
  • ความรุนแรง 5.0-5.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
  •  ความรุนแรง 6.0-6.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
  • ความรุนแรง 7.0 ขึ้นไป เกิดการสั่นไหวอย่างร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างได้รับความเสียหายอย่างมาก แผ่นดินเกิดการแยกตัว วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น

 

เปิดความรุนแรง \"แผ่นดินไหว\" ระดับสั่นสะเทือน ควรเฝ้าระวัง

 

 

ลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบตามมาตราแคลลี่อันดับที่ แบ่งเป็น 12 ระดับ ดังนี้

  • ความรุนแรงระดับ 1 เป็นอันดับอ่อนมาก ความสั่นสะเทือนสามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือ
  • ความรุนแรงระดับ 2 คนที่อยู่ในอาคารสูงและอยู่นิ่ง ๆ สามารถรู้สึกได้
  • ความรุนแรงระดับ 3 คนที่อยู่ในบ้านสามารถรู้สึกได้
  • ความรุนแรงระดับ 4 ผู้ที่อยู่ในบ้านรู้สึกว่าบ้านสั่นไหว
  • ความรุนแรงระดับ 5 รู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว
  • ความรุนแรงระดับ 6 ทุกคนรู้สึกถึงการสั่นไหว ของหนักในบ้านเริ่มเคลื่อนไหว
  • ความรุนแรงระดับ 7 ผู้คนตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มปรากฏความเสียหาย
  • ความรุนแรงระดับ 8 อาคารธรรมดาได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก
  • ความรุนแรงระดับ 9 สิ่งก่อสร้างที่ได้รับการออกแบบไว้เป็นอย่างดีได้รับความเสียหายมาก
  • ความรุนแรงระดับ 10 อาคารพัง รางรถไฟบิดงอ
  • ความรุนแรงระดับ 11 อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบนพื้นดินอ่อน
  • ความรุนแรงระดับ 12 ทุกสิ่งทุกอย่างบนพื้นดินแถบนั้นเสียหายโดยสิ้นเชิง พื้นดินเคลื่อนตัวเป็นลูกคลื่น

เปิดความรุนแรง \"แผ่นดินไหว\" ระดับสั่นสะเทือน ควรเฝ้าระวัง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก อาจารย์อ๊อด รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์