
วิธีรับมือ "แผ่นดินไหวไทย" เปิดข้อห้าม เฝ้าระวัง "Aftershock"
28 มี.ค. 2568
เปิดวิธีรับมือ "แผ่นดินไหวประเทศไทย" สิ่งที่ควรทำ ขณะอยู่ในอาคาร นอกอาคาร กล้างแจ้ง เปิดข้อห้าม เฝ้าระวัง! "Aftershock"
วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 13:22 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.9 แมกนิจูด บริเวณห่างจากประเทศไทยประมาณ 32 กิโลเมตร คาดว่าศูนย์กลางอยู่ในประเทศพม่า แรงสั่นสะเทือนสามารถรับรู้ได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ขณะที่ในกรุงเทพมหานคร ผู้อยู่อาศัยในอาคารสูงรู้สึกถึงแรงสั่นไหว ส่งผลให้บางคนอพยพลงจากอาคารด้วยความตื่นตระหนก นอกจากนี้ ยังมีรายงานการรับรู้แรงสั่นสะเทือนในจังหวัดอื่นๆ เช่น นครราชสีมา เชียงใหม่ เชียงราย และนนทบุรี
ทำความรู้จักแผ่นดินไหว เปิดสาเหตุและระดับความรุนแรง
ขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหว ระดับการสั่นสะเทือนใกล้จุดศูนย์กลางตามมาตราริคเตอร์ แบ่งเป็น
- ความรุนแรง 1.0-2.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มรู้สึกถึงอาการสั่นไหว บางครั้งรู้สึกเวียนศีรษะ
- ความรุนแรง 3.0-3.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน
- ความรุนแรง 4.0-4.9 เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคารและนอกอาคารรู้สึกถึงการสั่นสะเทือน วัตถุที่ห้อยแขวนมีการแกว่งไปมา
- ความรุนแรง 5.0-5.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
- ความรุนแรง 6.0-6.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
- ความรุนแรง 7.0 ขึ้นไป เกิดการสั่นไหวอย่างร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างได้รับความเสียหายอย่างมาก แผ่นดินเกิดการแยกตัว วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น
วิธีการรับมือขณะเกิดเหตุ "แผ่นดินไหว"