"แก้วมังกร"ระวัง!โรคจุดสัน้ำคาล-"หอมแดง"โรตเหี่ยวต้นเน่า!
โดน - โต๊ะช่าวเกษตร
อากาศร้อน ลมกระโชกแรง ฝนตกหนัก และหนาวในเวลากลางคืน กรมวิชาการเกษตรเตือน อากาศเช่นนี้ ขอให้เกษตรกรปลูกหอมแดงทุกระยะของการเจริญเติบโต และชาวสวนแก้วมังกร ที่อยู้ในช่วงออกดอกและติดผล ให้ระวังโรครุมเร้าเพราะสภาพอากาศเหมาะสม
1.แก้วมังกร จะพบโรคจุดสีน้ำตาลระบาด อาการเริ่มแรกที่กิ่งและผลเป็นจุดสีเหลือง จากนั้นจะพัฒนาเป็นตุ่มนูนเล็กๆ สีน้ําตาลคล้ายสีสนิมเหล็ก บางครั้งพบแผลสีเหลืองฉ่ำน้ํา เมื่ออาการรุนแรงแผลจะเน่า โดยถ้าเป็นที่กิ่งจะทําให้เนื้อเยื่อตรงแผลหลุดเห็นเป็นรูหรือเว้าแหว่ง สำหรับผลถ้าอาการรุนแรงจะทําให้กลีบผลไหม้แห้งเป็นสีดำและผลเน่าในที่สุด
การป้องกัน 1.เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แข็งแรงปลอดโรค 2.ลดการให้ปุ๋ยไนโตรเจน เนื่องจากเป็นพืชอวบน้ําอาจ ทําให้พืชอ่อนแอเกิดโรคง่ายขึ้น 3.หมั่นกำจัดวัชพีชในแปลงปลูกเพื่อลดความชื้น 4.งดให้น้ําช่วงบ่ายหรือเย็น ให้เฉพาะช่วงเช้า เพื่อลดความชื้นสะสมในทรงพุ่ม 5.ตรวจแปลงอย่างสม่ําเสมอเมื่อพบโรคตัดแต่ง ส่วนที่เป็นโรคอย่างระมัดระวังให้มีแผลน้อยที่สุด การตัด แต่งกิ่งควรตัดตรงส่วนที่เป็นรอยต่อของข้อระหว่างกิ่ง แล้วนำส่วนท ี่เป็นโรคไปเผาทําลายนอกแปลงปลูก
6.ไม่นําเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นเป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติและควรทําความสะอาดก่อนนำไปใช้ใหม่ทกครั้ง 7.กรณีพบโรคเพียงเล็กน้อย ป้องกันการระบาดโรคโดยตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออกไปเผาทําลาย แล้วพ่นด้วยสารป้องกันกําจัดโรคพืช โพรคลอราซ 45% อีซีอัตรา 20-40 มลลิลิตรต่อน้ํา 20 ลิตร หรือไอโพรไดโอน 50% ดับเบิ้ลยูพีอัตรา 30-60 กรมั ต่อน้ํา 20 ลิตร หรือแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ํา 20 ลิตร พ่นให้ทั่วต้น ทุก 5-7 วัน 2 ครั้ง และพ่นอีกครั้งในระยะติดดอก โดยพ่นให้ทั่วทุกต้นในทุก 7 วัน
โรคต้นเน่า หรือโรคเหี่ยว
2.หอมแดง ในทุกระยะการเจริญเติบโต จะประสบปัญหาโรคเหี่ยวหรือต้นเน่า ที่เกิดจากเชื้อรา อาการเริ่มแรกใบเหลือง ต่อมาเหี่ยวแห้ง โดยเริ่มจากปลายใบของ ใบล่างหรือใบที่อยู่รอบนอกก่อน แล้วลุกลามทั่วทั้งต้น เมื่อถอนต้น จะหลุดจากด้นง่าย พบรากและลำต้นเน่าเปื่อยเป็นสีน้ําตาล หัวหอมแดงจะนิ่ม ถ้าอาการรุนแรง จะทําให้เน่าทั้งต้น เมื่อความชื้นสูงจะเห็นเส้นใยสีขาวฟูของเชื้อราที่โคนต้นหรือบริเวณแผลที่เน่า
การป้องกัน 1.หลีกเลี่ยงการปลกหอมแดง ในพื้นที่ที่เคยมีการ ระบาดของโรคนี้ 2.ควรเลือกแปลงปลูกที่ดินไม่เป็นกรดจัด หรือปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรดจัด โดยใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์อัตรา 300-400 กิโลกรัมต่อไร่แล้วใส่ปุ๋ย อินทรีย์อย่างน้อย 1-2 ตันต่อไร่และแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี 3.ใช้หัวพันธุ์จากแหล่งปลูกทไมี่ ่เคยมีโรคนี้ระบาดมาก่อน และใช้หัวพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ
4.หมั่นตรวจแปลงอย่างสม่่ำเสมอ หากพบโรค ถอนต้นที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกแล้วราดด้วยสารป้องกันกําจัดเชื้อราคาร์บอกซิน 75% ดับเบิ้ลพี อัตรา 14 กรัมต่อน้ํา 20 ลิตร หรือควินโตซีน 28% อีซีอัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ํา 20 ลิตร หรือ อีไตรไดอะโซล+ควินโตซีน 6%+24% อีซีอัตรา 30-80 มิลลิลิตรต่อน้ํา 20 ลิตร โดยราดดินตรงจุดที่พบโรคและบรเวณใกล้เคียง 5.แปลงที่มีการระบาดของโรค ควรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน