ข่าว

จับตาพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ "โกโก้ไทย"ไปต่อไม่รอแล้วนะ

จับตาพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ "โกโก้ไทย"ไปต่อไม่รอแล้วนะ

24 ต.ค. 2563

จับตาพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ "โกโก้ไทย"ไปต่อไม่รอแล้วนะ

การเปิดตัวโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์โกโก้ของบริษัท โกโก้ไทย โปรดักส์ จำกัด ม.2 ต.กุดนกเปล้า อ.เมือง จ.สระบุรี โดยมีนายอลงกรณ์พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในพิธี เป็นสิ่งยืนยันและสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรที่ปลูกพืชโกโก้ในระดับหนึ่งว่าจากนี้ไปผลผลิตโกโก้จะไม่มีปัญหาในเรื่องตลาดรองรับอย่างแน่นอน
 โกโก้ เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ อีกชนิดที่รัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เพราะมองว่าเป็นพืชแห่งอนาคตที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยได้นำเข้าผลิตภัณฑ์จากโกโก้และช็อคโกแลตหลายหมื่นตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ขณะที่ประเทศไทยมีสภาพพื้นที่และภูมิอากาศเหมาะสมสำหรับการปลูกโกโก้ไม่แพ้ที่ใดโลก

  จับตาพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ \"โกโก้ไทย\"ไปต่อไม่รอแล้วนะ

                              อลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารมว.เกษตรฯ

“เบลเยี่ยมเป็นประเทศชั้นนำของโลกที่ผลิตช็อคโกแลตคุณภาพดีเยี่ยมที่ใช้วัตถุดิบในการผลิตจากโกโก้ แต่เราไม่ได้ถือเป็นคู่แข่ง เราถือเป็นคู่ค้าคู่ขาย รัฐบาลได้ประกาศนโยบายฟิวเจอครอปหรือพืชแห่งอนาคต ซึ่งก็มีหลายตัว หนึ่งในนั้นก็คือโกโก้” บางช่วงบางตอนที่นายอลงกรณ์ พลบุตรกล่าวในระหว่างเป็นประธานในพิธีเปิดโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์โกโก้ของบริษัท โกโก้ไทย 2017 จำกัด พร้อมยืนยันว่า
 รัฐบาลต้องการให้ประเทศไทยเป็นฮับของอาเซียนในการปลูกรูปโกโก้ เป็นเป้าหมายที่หนึ่ง หลังจากทุกวันนี้ไทยอยู่อันดับ2 รองจากอินโดนีเซียในการผลิตพืชเศรษฐกิจอย่างโกโก้

จับตาพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ \"โกโก้ไทย\"ไปต่อไม่รอแล้วนะ
  จากข้อมูลศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยระบุว่า ปี 2560 ผลผลิตโกโก้โลกอยู่ที่ 4.6 ล้านตัน   ผลผลิตจากทวีปแอฟริกามีมากที่สุด 72% ของผลผลิตโลก ตามด้วยลาตินอเมริกา 18% และเอเชีย 10%   ขณะที่ความต้องการของโลกอยู่ที่ 3.5 ล้านตัน โดย ยุโรปเป็นตลาดใหญ่ที่สุดที่มีความต้องการคิดเป็นสัดส่วน 40%  
 ขณะที่ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อินโดนีเซียได้ลดการผลิตลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากหันไปปลูกปาล์มแทน โดยในปี 2560 ผลิตได้ 2.9 แสนตัน กว่า 70% ของผลผลิตปลูกอยู่ที่เกาะสุลาเวสี ทางตอนใต้ของประเทศ   จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะเป็นผู้นำในการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดนี้แทน
  “บีที โกโก้ ที่อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและแปรรูปโกโก้ใหญ่ที่สุดในเอเชีย เขาบอกว่าถ้าประเทศไทยมีผลผลิตมมากพอ เขาก็พร้อมย้ายโรงงานผลิตมาที่ประเทศไทย”ที่ปรึกษารมว.เกษตรฯกล่าวย้ำ 

จับตาพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ \"โกโก้ไทย\"ไปต่อไม่รอแล้วนะ

                                ดร.อานนท์ สุทนต์  นักวิจัยผู้คิดค้นสายพันธุ์โกโก้ไทย1
  ขณะที่   ดร.อานนท์ สุทนต์  ผู้อำนวยการศูนย์สาธิตเกษตรศิลป์แม่โจ้ จ.เชียงใหม่ ในฐานะผู้วิจัยคิดค้นสายพันธุ์โกโก้ไทย1 เผยว่า ปกติโกโก้เป็นพืชประจำถิ่นของใต้ โดยมีสายพันธุ์ที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ชุมพร ซึ่งเป็นพื้นเมืองมีปัญหาผลผลิตน้อย ไม่ทนต่อโรคและแมลง ที่สำคัญมีการแยกเพศตัวผู้ตัวเมีย ซึ่งจะเป็นปัญหาหากเกษตรกรนำไปปลูก
 แต่หลังจากบริษัท โกโก้ 2017 จำกัดได้ให้งบมาเพื่อปรับรุงพันธุ์ จนในที่สุดได้พันธุ์ที่เหมาะในทุกสภาพอากาศในประเทศไทย ได้แก่โกโก้ไทย1 ซึ่งใช้เวลาในการทดลองวิจัยมาก 10 ปีกว่าสายพันธุ์จะนิ่ง   เป็นสายพันธุ์ที่ทนแล้งได้ดี   สามารถปลูกได้ในทุกภูมิภาคของประเทศ  โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสาน
 “หลายพื้นที่ปลูกในอีสานให้ผลผลิตดีมาก ปลูกได้ทั้งเชิงเดี่ยวและเป็นพืชอาศัยไม่ว่าจะปลูกในสวนปาล์ม ยางพาราหรือสวนไม้ผลอื่น ๆ ก็ให้ผลผลิตดี ตอนนี้เราพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ากว่า 20 จังหวัดสามารถปลูกโกโก้ได้”
  นักวิจัยเจ้าของสายพันธุ์โกโก้ไทย1 กล่าวถึงข้อดีของโกโก้สายพันธุ์นี้ 1.ทนแล้งสามารถปลูกได้ทุกจังหวัดในประเทศไทย 2.ต้นเตี้ยเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่าย 3.แตกกอขยายกิ่งรวดเร็ว ซึ่งไม่มีไม้ผลไหนจะแตกกอได้รวดเร็วเหมือนโกโก้ไทย1 เนื่องจากยิ่งแตกกอขยายกิ่งเพิ่มก็จะทำให้ผลผลิตมากขึ้นตามไปด้วย
  “โกโก้จะออกลูกตามกิ่ง ตามต้น ถ้ากิ่งยิ่งเยอะ ผลผลิตจะเยอะตาม จะเห็นว่าโกโก้ไทย1ให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์อื่นถึง 3-5 เท่า ซึ่งมีทั้งผลงานวิจัยและแปลงปลูกของเกษตรยืนยันได้อย่างชัดเจน”
  ดร.อานนท์ ย้ำด้วยว่าสำหรับข้อดีอีกอย่างของโกโก้ไทย1 ที่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่นก็คือจะไม่มีการแยกเพศ โกโก้สายพันธุ์นี้จะไม่มีต้นตัวผู้ตัวเมีย  จึงทำให้มั่นใจได้ว่าให้ผลผลิตทุกต้นที่ปลูกลงดิน ทำให้เกษตรกรไม่ต้องกังวลในเรื่องผลผลิตแต่อย่างใด และที่สำคัญสายพันธุ์โกโก้ไทย1นั้นได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

จับตาพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ \"โกโก้ไทย\"ไปต่อไม่รอแล้วนะ
  ด้าน ดร.รุ่งโรจน์ วรามิตร ประธานบริษัท โกโก้ไทย 2017 จำกัดกล่าวว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทางบริษัท โกโก้ไทย 2017 จำกัดได้ส่งเสริมการปลูกโกโก้กับเกษตรกรหลายจังหวัดทั่วประเทศ โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่9มาปรับใช้เพื่อให้เกษตรกรมีอาชีพที่มั่นคงอยู่แบบพอเพียง อีกทั้งยังสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในระยะยาว
 "สาเหตุที่เกษตรกรตัดสินใจร่วมปลูกโกโก้กับเรา เพราะมองว่าโกโก้เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่ตลาดโลกต้องการสูงและยังได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลอีกด้ว0ย ที่สำคัญเรายังการันตีราคารับซื้อขั้นต่ำตามเกษตรพันธสัญญาหรือคอนแทกฟาร์มมิ่งในการรับซื้อจากเกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจแล้วยังมีทีมงานเข้าไปส่งเสริมดูแลการบริหารจัดการแปลงของสมาชิกในเครือข่ายตัง้แต่เริ่มต้นปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตอีกด้วย”
  ประธานบริษัท โกโก้ไทย 2017 จำกัดยอมรับว่าประเทศไทยมีพืชเศรษฐกิจหลายตัวที่ปลูกก่อนหน้านี้ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาด้านการตลาด เมื่อผลผลิตออกมาเป็นจำนวนมากส่งผลให้ราคาจะไม่ดี  จึงเป็นประเด็นที่ตนเองผลักดันเรื่องโกโก้  เนื่องจากเมืองไทยเป็นพื้นที่ปลูกโกโก้ที่มีคุณภาพอันดับต้น ๆ ของโลก  แต่ที่ผ่านมากลับไม่ได้รับการส่งเสริมปลูกอย่างจริงจัง ขณะเดียวกันจุดอ่อนของโกโก้ไทยคือเรื่องการตลาด เพราะยังไม่มีการตลาดมากพอ ทำให้เกษตรกรไม่มีความมั่นใจในการปลูก ทั้ง ๆ ที่เป็นพืชที่มีความต้องการของตลาดโลกสูงมาก
 “นโยบายตลาดนำการผลิตของรัฐบาลเป็นการตอบโจทย์โกโก้ไทย ตอนนี้มีเกษตรกรร่วมกับเราประมาณ 1.3 หมื่นไร่ ถือว่าพร้อมแล้วสำหรับการเปิดโรงงานนำร่อง เป็นโมเดลเพื่อให้เกษตรกรเห็นว่าเรารับซื้อจริง  ขณะนี้ได้ขยายพื้นที่ปลูกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ มากกว่า 20 จังหวัด หากจังหวัดใดหรือมีพื้นที่ใดปลูกโกโก้เกิน 3 หมื่นไร่เราก็จะมีการตั้งโรงงานที่นั่นทันทีเพื่อรองรับผลผลิต”
 ดร.รุ่งโรจน์ระบุอีกว่า ขณะที่ทางภาคใต้เรามองพื้นที่ตั้งโรงงานไว้ที่จ.สงขาและพัทลุง  เพราอยู่กึ่งกลางของภูมิภาคและเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกโกโก้มากที่สุดในภาคใต้ขณะนี้   โดยจะมีการทำสัญญารับซื้อผลผลิตตามเกษตรพันธสัญญาหรือคอนแทคฟาร์มมิ่ง คือรับซื้อในราคาประกันถึงสวนเกษตรกร  
 “เราประกันราคาขั้นต่ำอยู่ที่ตันละ 5 พันบาท หรือกิโลละ 5 บาท โดยราคาจะอิงตลาดโลก ณ ปัจจุบันตลาดโลกอยุ่ที่ 7.8 บาทต่อกิโล  แต่เราบวกเพิ่มให้อีก 2 บาท เป็น 9.8 บาทต่อกิโล เนื่องจากเราไม่มีการนำเข้า ไม่ต้องจ่ายภาษี จึงนำเงินส่วนนี้มาเพิ่มให้กับเกษตรกร เพราะจากการคำนวณต้นทุนแล้วพบว่าอย่าให้ต่ำกว่า 5 บาทเกษตรกรสามารถอยู่ได้”ดร.รุ่งโรจน์กล่าวในที่สุด 

คูปองส่วนลด 11 % FREE ส่งฟรี

จับตาพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ \"โกโก้ไทย\"ไปต่อไม่รอแล้วนะ