"โลนวูล์ฟ-ป่วนเมือง"ได้เวลายกเครื่องรปภ.
นักวิชาการจุฬาฯด้านความมั่นคง ให้ข้อคิดเห็นอย่างน่าสนใจ จ่าคลั่ง ปฏิบัติการ"โลนวูล์ฟ" ยกเครื่อง รักษาความปลอดภัย
9 กุมภาพันธ์ 2563 สองประเด็นที่พูดถึงกันมากหลังเกิดเหตุการณ์"จ่าทหาร"คลั่งกราดยิงประชาชนทั้งในและนอกห้างสรรพสินค้า คือ
หนึ่ง นี่คือปฏิบัติการของคนที่ถูกจัดประเภทว่าเป็น"โลนวูล์ฟ"หรือไม่ เพราะก่อเหตุเพียงคนเดียว ไม่มีผู้ช่วย วางแผนและปฏิบัติการเองทั้งหมด
สอง มาตรการรักษาความปลอดภัยในเขตเมือง มีความจำเป็นต้องยกเครื่องทั้งระบบ เพราะปฏิบัติการของผู้ก่อการร้าย รวมไปถึง โลนวูลฟ์ ในระยะหลัง พุ่งเป้าไปที่ย่านชุมชนและย่านเศรษฐกิจในเมืองใหญ่ ซึ่งมีประชาชนผู้บริสุทธิ์อยู่เป็นจำนวนมาก
อ่านข่าว ไม่จบแค่วิสามัญ"ดีอีเอส"ถกเฟซบุ๊กปัญหาไลฟ์สด
จนท.เปิดใจ 6 เหตุสุดหินปิดเกมจ่าคลั่งไม่ง่าย
ลุ้นช็อตต่อช็อต ก่อนปลิดชีพจ่าคลั่ง
อาจารย์สุรชาติ บำรุงสุข ศาสตราจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง เคยกล่าวเอาไว้ว่า "สิ่งที่แตกต่างระหว่างกลุ่มก่อการร้าย หรือผู้มีความคิดสุดโต่ง กับคนธรรมดา คือ กลุ่มคนเหล่านี้มีระเบิดอยู่ในมือ แต่คนธรรมดาที่เดินถนนไม่มี ทำให้เราไม่สามารถแยกออกได้เลยว่าใครคือผู้ก่อการร้าย"
อาจารย์สุรชาติ ยังเคยให้คำจำกัดความคำว่า "โลนวูล์ฟ" (Lone Wolf) เอาไว้ว่า หากแปลคำนี้ตรงๆ จะแปลว่า "หมาป่าโดดเดี่ยวที่ออกล่าเหยื่อ" โดยลักษณะร่วมของคนที่เป็นโลนวูล์ฟ คือ มักจะอยู่คนเดียว แปลกแยกจากสังคม และซึมซับอุดมการณ์ก่อการร้ายหรือใช้ความรุนแรง บางคนจึงปฏิบัติการคนเดียว มีเหตุการณ์ตัวอย่างคือการยึดร้านช็อคโกแลตกลางเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปลายปี 2557 โดยคนพวกนี้จะไม่มีประวัติอาชญากรรม จึงเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่หนักใจในการป้องกัน เพราะไม่มีจุดสังเกตอะไรที่ชัดเจน นอกเหนือจากความต่อเนื่องทางความคิดที่จะก่อเหตุซ้ำๆ
สิ่งที่น่ากังวลในความเห็นของ อาจารย์สุรชาติ คือ พื้นที่ก่อเหตุ หรือสมรภูมิของกลุ่มก่อการร้าย หรือพวกที่มีแนวคิดนิยมความรุนแรง ได้เปลี่ยนจากพื้นที่ป่าเขาห่างไกล มาเป็นการก่อวินาศกรรมขนาดใหญ่ใจกลางเมือง ฉะนั้นมาตรการป้องกันรักษาเมือง จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรับมือการก่อการร้ายสมัยใหม่
บทเรียนเหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา เช่น ที่ฝรั่งเศส อังกฤศ สเปน สหรัฐ รวมถึงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างอินโดนีเซีย หรือแม้แต่ประเทศไทยของเราเอง ก็เคยเกิดเหตุลักษณะนี้ อย่างเหตุระเบิดที่ศาลท่านท้าวมหาพรหม สี่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2558 ซึ่งถือเป็นบทเรียนครั้งยิ่งใหญ่ที่ประเทศไทยควรศึกษาถึงระบบการป้องกันเหตุรุนแรงในเมือง เพราะความเป็นเมืองสมัยใหม่มีความเปราะบางสูงมาก คนในแวดวงความมั่นคงเห็นตรงกันว่า เมืองเป็นเป้าหมายที่ป้องกันได้อย่างยากลำบาก ทั้งยังสามารถทำร้ายประชาชนได้อย่างไม่จำแนก สามารถลงมือได้ทุกเวลา ซึ่งไม่ใช่แค่ห้างสรรพสินค้า แต่ยังรวมไปถึงสถานที่ที่ประชาชนไปรวมตัวทำกิจกรรมเป็นจำนวนมาก
ฉะนั้นประเทศไทยต้องการการคิด "ระบบป้องกันเมืองแบบใหม่" เหมือนที่หลายชาติในยุโรปจัดทำขึ้นหลังเหตุการณ์ 911 ที่สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถพิสูจน์ทราบและจับกุมตัวผู้ก่อเหตุได้อย่างรวดเร็ว อย่างระบบกล้องซีซีทีวีที่มีความสำคัญกับโลกสมัยใหม่ รวมถึงระบบการอพยพประชาชนในพื้นที่ที่เกิดเหตุร้าย และควรให้ประชาชนได้เรียนรู้ว่าในชีวิตประจำวัน เราอาจจะต้องประสบกับเหตุก่อการร้ายหรือพวกสุดโต่งได้ทุกเวลา เช่นเดียวกับเหตุรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องมีระบบการป้องกันหลายๆ อย่างที่ปัจจุบันยังไม่มี
นอกจากนั้น การให้ความรู้กับประชาชนก็เป็นเรื่องสำคัญ ตั้งแต่ความรู้พื้นฐานที่ว่าวัตถุระเบิดมีรูปร่างหรือลักษณะอย่างไร เมื่อเจอวัตถุต้องสงสัยควรปฏิบัติตัวอย่างไร รวมถึงระบบการอพยพประชาชนในพื้นที่เกิดเหตุ การอพยพคนออกจากตึกสูงซึ่งมีความยากลำบาก
"วันนี้ประเทศไทยทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนจะต้องมีการร่วมในการป้องกันเมือง" เป็นคำฝากของอาจารย์สุรชาติ ที่เคยเตือนเอาไว้ และวันนี้วิกฤตินี้ได้เกิดขึ้นแล้วในบ้านเรา
โลนวูล์ฟ-ป่วนเมือง" ได้เวลายกเครื่องมาตรการรปภ.
------------------------------
สองประเด็นที่พูดถึงกันมากหลังเกิดเหตุการณ์ "จ่าทหาร" คลั่งกราดยิงประชาชนทั้งในและนอกห้างสรรพสินค้า คือ
หนึ่ง นี่คือปฏิบัติการของคนที่ถูกจัดประเภทว่าเป็น "โลนวูล์ฟ" หรือไม่ เพราะก่อเหตุเพียงคนเดียว ไม่มีผู้ช่วย วางแผนและปฏิบัติการเองทั้งหมด
สอง มาตรการรักษาความปลอดภัยในเขตเมือง มีความจำเป็นต้องยกเครื่องทั้งระบบ เพราะปฏิบัติการของผู้ก่อการร้าย รวมไปถึง โลนวูลฟ์ ในระยะหลัง พุ่งเป้าไปที่ย่านชุมชนและย่านเศรษฐกิจในเมืองใหญ่ ซึ่งมีประชาชนผู้บริสุทธิ์อยู่เป็นจำนวนมาก
อาจารย์สุรชาติ บำรุงสุข ศาสตราจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง เคยกล่าวเอาไว้ว่า "สิ่งที่แตกต่างระหว่างกลุ่มก่อการร้าย หรือผู้มีความคิดสุดโต่ง กับคนธรรมดา คือ กลุ่มคนเหล่านี้มีระเบิดอยู่ในมือ แต่คนธรรมดาที่เดินถนนไม่มี ทำให้เราไม่สามารถแยกออกได้เลยว่าใครคือผู้ก่อการร้าย"
อาจารย์สุรชาติ ยังเคยให้คำจำกัดความคำว่า "โลนวูล์ฟ" (Lone Wolf) เอาไว้ว่า หากแปลคำนี้ตรงๆ จะแปลว่า "หมาป่าโดดเดี่ยวที่ออกล่าเหยื่อ" โดยลักษณะร่วมของคนที่เป็นโลนวูล์ฟ คือ มักจะอยู่คนเดียว แปลกแยกจากสังคม และซึมซับอุดมการณ์ก่อการร้ายหรือใช้ความรุนแรง บางคนจึงปฏิบัติการคนเดียว มีเหตุการณ์ตัวอย่างคือการยึดร้านช็อคโกแลตกลางเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปลายปี 2557 โดยคนพวกนี้จะไม่มีประวัติอาชญากรรม จึงเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่หนักใจในการป้องกัน เพราะไม่มีจุดสังเกตอะไรที่ชัดเจน นอกเหนือจากความต่อเนื่องทางความคิดที่จะก่อเหตุซ้ำๆ
สิ่งที่น่ากังวลในความเห็นของ อาจารย์สุรชาติ คือ พื้นที่ก่อเหตุ หรือสมรภูมิของกลุ่มก่อการร้าย หรือพวกที่มีแนวคิดนิยมความรุนแรง ได้เปลี่ยนจากพื้นที่ป่าเขาห่างไกล มาเป็นการก่อวินาศกรรมขนาดใหญ่ใจกลางเมือง ฉะนั้นมาตรการป้องกันรักษาเมือง จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรับมือการก่อการร้ายสมัยใหม่
บทเรียนเหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา เช่น ที่ฝรั่งเศส อังกฤศ สเปน สหรัฐ รวมถึงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างอินโดนีเซีย หรือแม้แต่ประเทศไทยของเราเอง ก็เคยเกิดเหตุลักษณะนี้ อย่างเหตุระเบิดที่ศาลท่านท้าวมหาพรหม สี่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2558 ซึ่งถือเป็นบทเรียนครั้งยิ่งใหญ่ที่ประเทศไทยควรศึกษาถึงระบบการป้องกันเหตุรุนแรงในเมือง เพราะความเป็นเมืองสมัยใหม่มีความเปราะบางสูงมาก คนในแวดวงความมั่นคงเห็นตรงกันว่า เมืองเป็นเป้าหมายที่ป้องกันได้อย่างยากลำบาก ทั้งยังสามารถทำร้ายประชาชนได้อย่างไม่จำแนก สามารถลงมือได้ทุกเวลา ซึ่งไม่ใช่แค่ห้างสรรพสินค้า แต่ยังรวมไปถึงสถานที่ที่ประชาชนไปรวมตัวทำกิจกรรมเป็นจำนวนมาก
ฉะนั้นประเทศไทยต้องการการคิด "ระบบป้องกันเมืองแบบใหม่" เหมือนที่หลายชาติในยุโรปจัดทำขึ้นหลังเหตุการณ์ 911 ที่สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถพิสูจน์ทราบและจับกุมตัวผู้ก่อเหตุได้อย่างรวดเร็ว อย่างระบบกล้องซีซีทีวีที่มีความสำคัญกับโลกสมัยใหม่ รวมถึงระบบการอพยพประชาชนในพื้นที่ที่เกิดเหตุร้าย และควรให้ประชาชนได้เรียนรู้ว่าในชีวิตประจำวัน เราอาจจะต้องประสบกับเหตุก่อการร้ายหรือพวกสุดโต่งได้ทุกเวลา เช่นเดียวกับเหตุรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องมีระบบการป้องกันหลายๆ อย่างที่ปัจจุบันยังไม่มี
นอกจากนั้น การให้ความรู้กับประชาชนก็เป็นเรื่องสำคัญ ตั้งแต่ความรู้พื้นฐานที่ว่าวัตถุระเบิดมีรูปร่างหรือลักษณะอย่างไร เมื่อเจอวัตถุต้องสงสัยควรปฏิบัติตัวอย่างไร รวมถึงระบบการอพยพประชาชนในพื้นที่เกิดเหตุ การอพยพคนออกจากตึกสูงซึ่งมีความยากลำบาก
"วันนี้ประเทศไทยทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนจะต้องมีการร่วมในการป้องกันเมือง" เป็นคำฝากของอาจารย์สุรชาติ ที่เคยเตือนเอาไว้ และวันนี้วิกฤตินี้ได้เกิดขึ้นแล้วในบ้านเรา