ข่าว

ต้นละแสน แพงตรงไหน...เปิดใจ บ.ร่วมประมูลเสาไฟกินรี

ต้นละแสน แพงตรงไหน...เปิดใจ บ.ร่วมประมูลเสาไฟกินรี

11 มิ.ย. 2564

ต้นละแสน แพงตรงไหน...เปิดใจ บ.ร่วมประมูลเสาไฟกินรี

จากกระแสวิพากษ์วิจารณ์โครงการจัดซื้อจัดจ้างเสาไฟฟ้ากินรีโซล่าเซลล์ในพื้นที่อบต.ราชาเทวะ ซึ่งหลายคนมองว่า ราคาและอุปกรณ์ต่างๆของเสาไฟกินรีมีราคาสูงจนน่าตกใจ วันนี้  เราได้สอบถามข้อมูลจากหนึ่งในบริษัทที่เข้าร่วมประมูลในโครงการนี้ ซึ่งเจ้าของบริษัทแห่งนี้ ได้เปิดเผยรายละเอียดทุกแง่มุมให้กับ “คมชัดลึก” แบบเจาะลึกทุกประเด็น

ผู้สื่อข่าวโทรศัพท์สอบถามรายละเอียดข้อมูลกับเจ้าของบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่เข้าร่วมประมูลในโครงการนี้  เจ้าของบริษัทแห่งนี้ บอกว่า ราคาวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างเสาไฟกินรี จะต้องแยกรายละเอียดของวัสดุแต่ละจุดอย่างชัดเจน ซึ่งขอบอกว่า การกำหนดสเปคของเสาไฟกินรี ในวงการเรียกกันว่า “สเปคเทพ” เดี๋ยวเรามาไล่เรียงกันที่ละจุด
เจ้าของบริษัทที่เข้าร่วมประมูลโครงการนี้ บอกว่า ราคาวัสดุอุปกรณ์จะประกอบด้วยกันหลายจุด เริ่มจากตอหม้อที่ใช้เป็นฐานของเสาไฟ หากเป็น “ตอม่อแบบสำเร็จรูป” จะอยู่ที่ 4,500 บาท แต่หากเป็น “ตอม่อแบบสว่านเกลียว” อยู่ที่ 12,000 บาท

ขณะที่เสาไฟนั้น จะต้องมี “แม่พิมพ์อะลูมีเนียม” ซึ่งเป็นแบบแม่พิมพ์ของเสาไฟที่หล่อออกมาใช้ทั้งหมดในโครงการ โดยราคาของ “แม่พิมพ์อะลูมีเนียม” สนนราคาอยู่ที่หลักล้านบาทขึ้นไป ส่วนตัวของเสาไฟกินรี จะเป็นเหล็กคุณภาพสูงที่ชุบด้วยสังกะสีร้อน เพื่อกันสนิท ราคาอยู่ที่ 45,000 บาท  

 

ต้นละแสน แพงตรงไหน...เปิดใจ บ.ร่วมประมูลเสาไฟกินรี

 

ต้นละแสน แพงตรงไหน...เปิดใจ บ.ร่วมประมูลเสาไฟกินรี
 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปปป.ลุยตรวจสอบ "เสาไฟกินรี" ต้นล่ะแสนตั้งถี่ยิบ ด้าน อบต.ยันโปร่งใส

 

เจ้าของบริษัทท่านนี้ ยังบอกอีกว่า นอกจากวัสดุในการทำต้นเสาไฟกินรี จะมีราคาสูงแล้ว ในส่วนของราคาอุปกรณ์ของไฟส่องสว่างแบบโซลาเซลล์ รวมถึงตัวประติมากรรมอย่างกินรี ก็ราคาสูงไม่แพ้กัน โดยตัวประติมากรรมกินรีที่มีความสูง 1.20 เมตร จะอยู่ที่ตัวละ 12,000 บาท 

ส่วนอุปกรณ์ส่องสว่างอย่าง หลอดไฟและโคมไฟ จะใช้ขนาดเกิน 100 วัตต์ขึ้นไป ราคาอยู่ที่ 7-8 พันบาท ขณะที่แผงไฟ อยู่ที่ 5-6 พันบาท  แบตเตอรี่ลิเทียม ราคา 20,000 บาทขึ้นไป และตัวไดรฟ์เวอร์ที่ใช้เก็บพลังงานแสงอาทิตย์ อยู่ที่ 3-4 พันบาท

เจ้าของบริษัทที่เคยเข้าร่วมประมูลโครงการนี้ บอกอีกว่า กระแสข่าวที่เกิดขึ้น ตนมองว่า มีความต้องการโจมตีต่อกัน ตนเองพูดในฐานะที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพราะหากเราลองไปเทียบราคากับเสาไฟของกรมทางหลวง ซึ่งเป็นเสาไฟที่ไม่ได้มีประติมากรรมอะไรเลย ราคาก็อยู่ที่ครึ่งแสนบาทแล้ว

นอกจากนี้ ประเด็นข้อสงสัยที่ว่า ทำไมถึงมีบริษัทเข้าร่วมประมูลโครงนี้จำนวนน้อย เนื่องจากการเข้าร่วมประมูลจะต้องมีค่าคำประกันในการยื่นซองอยู่ที่ 7 ล้านบาท รวมถึงการแสดงผลงานด้านประติมาที่บริษัทเคยทำมาก่อนด้วย ซึ่งเป็นไปตามระเบียบของราชการ ส่วนกรณีของบริษัทที่ประมูลชนและได้งานไป ตนมองว่า เขาได้งานเนื่องจากมีโรงงานผลิตเสาเป็นของตัวเอง ทำให้ต้นทุนในการผลิตถูกลง ซึ่งแตกต่างจากบริษัทตน ที่ต้องซื้ออุปกรณ์ทุกอย่างมาประกอบกัน จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูง 

 

ต้นละแสน แพงตรงไหน...เปิดใจ บ.ร่วมประมูลเสาไฟกินรี

 

ต้นละแสน แพงตรงไหน...เปิดใจ บ.ร่วมประมูลเสาไฟกินรี



 

ขณะที่ประเด็นที่มีข้อสงสัยว่า ทำไมการติดตั้งเสาไฟกินรีของ อบต.ราชาเทวะ จึงมีการติดตั้งที่ถี่จนน่าตกใจนั้น เจ้าของบริษัทรายนี้ บอกว่า ในฐานะที่ตนเองเคยทำงานร่วมกับหน่วยงานราชการมาหลายปี รวมถึงหลายหน่วยงาน จะต้องขึ้นอยู่กับตัวของผู้ว่าจ้าง เพราะพวกตนมีหน้าที่แค่ติดตั้งตามคำสั่งของเขาเท่านั้น แต่ระยะติดตั้งที่เป็นมาตรฐาน จะอยู่ที่ 30-35 เมตรต่อเสา ส่วนข้อสงสัยเรื่องความถี่ของระยะเสาไฟ ไม่สามารถตอบแทนทาง อบต.ราชาเทวะ ได้ 

 แต่หากมองอีกมุมก็คือ เขาอาจจะไม่มีพื้นที่ไปติดตั้ง จึงเอามาลงไว้ก่อน หรืออาจเป็นความต้องการของชาวบ้านที่ต้องการให้ติดตั้งถี่ๆก็ได้ เพราะการตั้งงบประมาณในการทำโครงการต่างๆจะมาจากการตรวจสอบความต้องการของชาวบ้านเป็นหลัก ทั้งการพื้นที่การติดตั้ง จำนวนเสาไฟที่ต้องการให้ติดตั้ง 

สอบถามถึงเรื่องของ “ค่าดำเนินการ” หรือที่เรียกว่า “ค่าน้ำร้อนน้ำชา” ที่ต้องแอบจ่ายให้กับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้รับคำตอบว่า ตนทำงานกับหน่วยงานรัฐมาหลายหน่วยแล้ว จะต้องมีการจ่าย “ค่าน้ำร้อนน้ำชา” เป็นธรรมเนียมอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับราคาที่แต่ละพื้นที่เสนอมา หรือขึ้นอยู่กับกำไรที่ตนเองได้รับ ไม่ว่าจะหลักหมื่นหรือหลักแสน ก็เคยจ่ายมาแล้ว ตนขอย้ำว่า การทำงานกับหน่วยงานราชการไทย ไม่มีคำว่า “ฟรี” แน่นอน มันต้องดูแลกันอยู่แล้ว

ต้นละแสน แพงตรงไหน...เปิดใจ บ.ร่วมประมูลเสาไฟกินรี

ต้นละแสน แพงตรงไหน...เปิดใจ บ.ร่วมประมูลเสาไฟกินรี

ต้นละแสน แพงตรงไหน...เปิดใจ บ.ร่วมประมูลเสาไฟกินรี