บุกจับโรงงานลักลอบผลิต"เครื่องสําอาง"เถื่อน เช็กเลยมีอะไรบ้าง
ปคบ. ร่วม อย. บุกจับโรงงานลักลอบผลิต"เครื่องสําอาง"เถื่อน เช็กเลยมีอะไรบ้าง
เมื่อวันที่ 8 ก.ค. พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ. ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลง ผลการปฏิบัติ กรณีจับกุมผู้ลักลอบผลิตและจําหน่ายเครื่องสําอางโดยไม่ได้รับอนุญาต สืบเนื่องจาก สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีประกาศเรื่อง ผลการตรวจสอบหรือวิเคราะห์ เครื่องสําอางที่พบสารห้ามใช้ กรณีครีมสมุนไพรสาหร่าย ยี่ห้อ MEIYONG (ครีมตลับสีขาว ฝาสีน้ําเงิน ทาก่อนนอน) ตรวจพบสารไฮโดรควิโนนและกรดเรทิโนอิก , ครีมสมุนไพรสาหร่าย ยี่ห้อ MEIYONG (ครีมตลับสีขาว ฝาสีเขียว ทาเช้า - ก่อนนอน) ตรวจพบสารประกอบของปรอท ซึ่งเป็นเครื่องสําอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ กฎหมายกําหนดโทษสําหรับ ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้นําเข้าเพื่อขาย และผู้ขายเครื่องสําอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ คือ จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
แต่ปรากฏว่ายังพบผู้ลักลอบผลิตเครื่องสําอางยี่ห้อดังกล่าวออกมาจําหน่ายในท้องตลาด จึงได้ประสาน กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค สืบสวนหาแหล่งผลิต และตัวผู้กระทําความผิด
ต่อมา กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา สืบสวนจนทราบแหล่งผลิตเครื่องสําอางรายใหญ่ จึงได้นําหมายค้น เข้าตรวจค้นบ้านพักย่านแขวงบางมด เขตจอมทอง กทม. พบว่าบ้านหลังดังกล่าวถูกใช้เป็นสถานที่ผลิตเครื่องสําอาง ประเภทครีม จํานวนหลายยี่ห้อ เช่น ครีมสมุนไพรมะระ ยี่ห้อ Kissing , ครีมขมิ้นเฮอร์เบิล , ครีมสมุนไพรบ้านตะวัน , ครีมบํารุง ผิวหน้า ยี่ห้อเลนาว , พีแคร์ครีม สมุนไพรขิง , ครีมไข่มุกผสมบัวหิมะ และพบเครื่องจักร , อุปกรณ์ในการผลิตครีม จํานวนหลายรายการ ตรวจสอบพบว่าครีมดังกล่าวไม่ได้ขออนุญาตในการผลิตจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา จัดเป็นเครื่องสําอางปลอม
เจ้าหน้าที่ตํารวจจึงได้ตรวจยึดเป็นของกลางนําส่งพนักงาสอบสวน กองกํากับการ 4 กอง บังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อดําเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
จากการตรวจสอบพบว่าการกระทําดังกล่าวเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติเครื่องสําอาง พ.ศ.2558 ฐาน “ผลิตเครื่องสําอางที่สงสัยว่ามีวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสําอาง (เครื่องสําอางที่เคยประกาศผล วิเคราะห์แล้ว)” มีอัตราโทษ จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ , ฐาน “ผลิต เครื่องสําอางไม่จดแจ้ง” มีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ , ฐาน “ผลิตเครื่องสําอางที่ใช้ฉลากไม่ถูกต้อง” มีอัตราโทษ จําคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
พล.ล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ ผบก.ปคบ. ฝากถึงพี่น้องประชาชนผู้บริโภคควรเลือกซื้อเครื่องสําอางจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งที่น่าเชื่อถือ และมีหลักฐานการซื้อขายที่ ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้ขายอย่างชัดเจน และแจ้งเตือนผู้ที่กําลังกระทําความผิด ลักลอบผลิตและจําหน่าย เครื่องสําอาง โดยไม่ได้รับอนุญาต ให้หยุดการกระทําดังกล่าวทันที ถ้าตรวจพบจะดําเนินคดีถึงที่สุด หากพี่น้องประชาชนพบเห็นการ กระทําความผิดสามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน ปคบ.1135 หรือเพจ ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภค
ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ตามนโยบายของกระทรวง สาธารณสุขโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสําคัญทั้ง เรื่องการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โควิด 19 ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย จึงได้มอบ นโยบายให้สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเร่งรัดดําเนินการเพื่อคุ้มครองประชาชน สําหรับปฏิบัติการในครั้งนี้ สามารถยึดวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเครื่องสําอาง ยาสเตียรอยด์ที่ลักลอบใส่ในเครื่องสําอาง และผลิตภัณฑ์สําเร็จรูปของกลางได้ เป็นจํานวนมาก ในจํานวนนี้เป็นเครื่องสําอางที่ อย. เคยตรวจพบสารห้ามใช้จําพวก สเตียรอยด์ สารปรอท สารไฮโดรควิโนน กรดเรทิโนอิก ซึ่ง อย. และสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทลายแหล่งลักลอบผลิตและจําหน่ายพร้อมแจ้งเตือนประชาชน อยู่หลายครั้ง เช่น ครีมเหมยหยง ครีมโสมผสมบัวหิมะ ครีมประทินผิวฝาน้ําเงิน ฝาน้ําตาล เป็นต้น เครื่องสําอางเหล่านี้ มักขายทางตลาดนัด ร้านเช่าในห้างสรรพสินค้า หรือช่องทางออนไลน์ จึงขอเตือนประชาชนให้เพิ่มความระมัดระวังใน การเลือกซื้อเครื่องสําอาง อย่าซื้อเพียงเพราะหลงเชื่อคําโฆษณาว่า เครื่องสําอางนี้ช่วยรักษาสิว ฝ้า กระ รอยดําลดลง ช่วยให้ผิวกระจ่างใส ให้ผลเร็ว เพราะมักพบว่า มีการลักลอบใส่สารห้ามใช้ ซึ่งเมื่อใช้ไประยะหนึ่ง จากผิวที่ดูขาวจะ กลายเป็นดําคล้ำเป็นฝ้าถาวร หรือรอยแผลเป็นถาวร ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ก่อนซื้อขอให้ตรวจสอบเลขที่ จดแจ้งและติดตามข่าวสารการแจ้งเตือนเครื่องสําอางที่ไม่ปลอดภัย ทางเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หรือ ไลน์ @fdathai หากพบการลักลอบผลิต นําเข้า จําหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งมาที่สายด่วน อย. 1556
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กให้ดี "ซื้อของออนไลน์" ก่อนโดนเพจปลอมหลอกขายสินค้า ไม่ตรงปก
กลุ่มผู้เสียหายร้องถูกหลอกลงทุน"เงินดิจิตอล" สูญเงินกว่า 46 ล้านบาท