"ราชกิจจานุเบกษา" ออกประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจ "สารเสพติด-แอลกอฮอล์"
เปิดระเบียบ "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจพิสูจน์ การมี"สารเสพติด"ในร่างกาย พร้อมกับ การตรวจปริมาณ"แอลกอฮอล์"ในร่างกายฉบับใหม่ ประกาศลงราชกิจจาฯ มีผลบังคับใช้ 30 วัน นับแต่วันประกาศ
เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา "ราชกิจจานุเบกษา" เผยแพร่ระเบียบ"สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจพิสูจน์การมี"สารเสพติด" หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในร่างกาย ของผู้ขับขี่หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่ซึ่งอยู่ในภาวะหมดสติ หรือได้รับอันตรายแก่กาย จนไม่สามารถให้ความยินยอมได้ กรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น พ.ศ.2565 พร้อมกันนี้ "ราชกิจจานุเบกษา" ยังได้เผยแพร่ ระเบียบ สตช.ในการตรวจปริมาณ"แอลกอฮอล์"ในร่างกาย ฉบับใหม่อีกด้วย
ฉบับแรก ระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการสำหรับพนักงานสอบสวน ในการขอให้แพทย์ทำการตรวจพิสูจน์ การมี"สารเสพติด" หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ในร่างกายของผู้ขับขี่ หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่งในกรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น และบุคคลดังกล่าวอยู่ในภาวะหมดสติ หรือได้รับอันตรายแก่กาย จนไม่อาจให้ความยินยอมในการทดสอบการมีสารอยู่ในร่างกายตามมาตรา 43 ทวิ วรรคสอง ได้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 43 ทวิ/1 แห่ง พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ระเบียบ"สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจพิสูจน์การมี"สารเสพติด" หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในร่างกายของผู้ขับขี่ หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่ ซึ่งอยู่ในภาวะหมดสติ หรือได้รับอันตรายแก่กายจนไม่สามารถให้ความยินยอมได้ กรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น พ.ศ.2565
ระเบียบ"สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจพิสูจน์ปริมาณ"แอลกอฮอล์"ในร่างกายของผู้ขับขี่ หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่ซึ่งอยู่ในภาวะหมดสติ หรือได้รับอันตรายแก่กาย จนไม่สามารถให้ความยินยอมได้กรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น พ.ศ. 2565