ข่าว

ทนายสุกิจ ย้ำ คดี "บอส อยู่วิทยา" เป็น กระบวนการยุติธรรมที่สังคมกดดัน

ทนายสุกิจ ย้ำ คดี "บอส อยู่วิทยา" เป็น กระบวนการยุติธรรมที่สังคมกดดัน

05 ธ.ค. 2565

ทนายสุกิจ ย้ำ คดี "บอส อยู่วิทยา" เป็น กระบวนการยุติธรรมที่สังคมกดดัน ป้อง เนตร นาคสุข รอง อสส.สั่งไม่ฟ้องตามพยานหลักฐาน กลับถูกออกจากราชการ

วันที่ 5 ธันวาคม 65 นายสุกิจ พูนศรีเกษม ทนายความชื่อดัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับการปฏิรูป กระบวนการยุติธรรมทางอาญากับการกระทำผิดทางอาญา ศึกษากรณี "บอส อยู่วิทยา" ที่สังคมกดดันให้เป็นผู้กระทำผิด  ความว่า กระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้นมีวัตถุประสงค์สําคัญเพื่อที่จะนําตัวผู้กระทําผิดมาลงโทษ  โดยมิได้ให้ความสําคัญต่อการแก้ไขปัญหาในสังคม ให้มีการยุติข้อพิพาท ในชั้นเจ้าหน้าที่ตํารวจหรือชั้นพนักงานอัยการเท่าที่ควร 

คดี"บอส อยู่วิทยา"  ไม่ใช่ปัญหาอาชญากรรมที่กระทําต่อรัฐหรือกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของรัฐ  แต่เป็นเรื่องของความประมาท ในกรณีความผิดเกี่ยวการใช้รถใช้ถนน เชื่อว่าวิญญูชนโดยทั่วไปไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

แต่เมื่อกระแสสังคมกดดัน ที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ส่วนบุคคลระหว่าง ผู้กระทําผิด ผู้เสียหาย ที่เป็นเหยื่อของกระแสสังคมให้เป็นผู้กระทำความผิด 

ทั้งที่พยานหลักฐานในที่เกิดเหตุได้เป็นข้อบ่งชี้ว่า ถึงการกระทำแก่คู่กรณีว่า   ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผบ.หมู่งานปราบปราม สน.ทองหล่อเปลี่ยนช่องทางเดินรถ จากซ้ายสุดไปชนกับรถยนต์ที่ขับมาทางตรง ในช่องทางขวาสุด  ทั้งที่รถจักรยานยนต์ของผู้ตายไม่ได้เปิดไฟหน้ารถ ของตนเองด้วย 

แต่เพื่อมนุษย์ธรรม ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา คือ "บอส อยู่วิทยา" ได้บรรเทาความเสียหายต่อผู้ตายที่ทุกฝ่ายท่ีได้รับผลกระทบ จนเป็นที่พอใจแล้ว

ในชั้นเจ้าหน้าที่"ตำรวจ"หรือ ชั้นพนักงานอัยการ  จึงควรที่จะได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดจากเดิม ที่เน้นในเรื่อง กระบวนการยุติธรรมเชิงแก้แค้นทดแทน (Retributive Justice) มาเน้นในเรื่อง แนวคิด“กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์(Restorative Justice) แทน  ทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจึงควรที่จะต้องเข้ามามีบทบาท 
มีส่วนร่วมในการเข้ามาแก้ไขปัญหาท้ังระบบโดยมี จุดมุ่งหมายสําคัญเพื่อสร้างสันติสุขและการนําความสมานฉันท์กลับคืนสู่สังคม

แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ คดีไม่ใช่ปัญหาอาชญากรรมที่กระทําต่อรัฐหรือกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของรัฐ กับกลายเป็นคดีการเมืองมีการเพิกถอนหนังสือเดินทางมีการขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน มีการขอให้รื้อคดีขึ้นไหม่ จากไม่ผิด
กลายเป็นผู้กระทำความผิด ทั้งที่เจตนาของกฏหมายไม่เปิดช่องให้ กระทำได้

แต่กระแสสังคมกดดันให้ขบวนการยุติธรรมของตำรวจและอัยการทำได้ โดยไม่คำนึงถึง หลักนิติธรรม 

บอสอยากกลับไทย มาใช้ชีวิตเหมือนผู้บริสุทธิ์ทั่วไป แต่กระแสสังคมกดดัน ทำให้กฏหมาย ไม่มีความศักดิ์สิทธิ ใช้ดุลยพินิจตามกระแสสังคม อันเป็นการประจานขบวนการยุติธรรม ผู้ถูกกล่าว เกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม

ทั้งนี้ "เนตร นาคสุข" รองอัยการสูงสุด ชึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้สั่งคดีตามพยานหลักฐาน ว่า รถของผู้ตาย เปลี่ยนช่องทางเดินรถอย่างกระชั้นชิด
มิใช่เป็นผลโดยตรงที่ทำให้เกิดการเฉี่ยวชนจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2553  
ถึงมีการรื้อฟื้นคดีใหม่ก็จะสั่งไม่ฟ้องอีก นั้น ยังถูกให้ออกจากราชการจึงเป็น กรณีศึกษา 
ที่จะต้องปฏิรูป กระบวนการยุติธรรม ในชั้น"ตำรวจ"และ "อัยการ" เพื่อให้มีอำนาจถ่วงดุลกันอย่างแท้จริง  ไม่ใช่ใช้อำนาจกระแสสังคมมาทำลายพยานหลักฐานจากไม่ผิดเป็นผู้กระทำผิดได้อีก