'สำนักงานตำรวจแห่งชาติ'โชว์ผลงาน 7 ด้าน ในรอบ 6 เดือน กวาดล้างคดีกว่า 4 แสนคดี
'สำนักงานตำรวจแห่งชาติ' แถลงผลงาน 7 ด้าน รอบ 6 เดือน ระดมกวาดล้างกว่า 4 แสนคดีอาชญากรรม ทั้งการปราบปรามยาเสพติด ภัยออนไลน์ งานจราจร ความจริงจังทางกฎหมาย คุณภาพชีวิต ขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน ครอบคร้ว รวมถึงการบูรณาการทำงานกับทุกภาคส่วน
4 เม.ย.2566 พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (โฆษก ตร.) นำแถลงผลงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) รอบ 6 เดือน ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2565 ถึง 31 มี.ค. 2566 ใน 7 ด้าน ดังนี้
1.การกวาดล้างอาชญากรรม
คดีอาญา 4 กลุ่ม จำนวนคดี 422,831 คดี จับกุมได้ 392,693 คดี (คิดเป็น 93%) ผลระดมปราบปรามอาชญากรรม กวาดล้างอาวุธปืนช่วงก่อนการเลือกตั้ง (18-25 มี.ค.66) จับกุมรวม 3,116 ราย ยึดของกลาง 67,980 รายการ
ระดมกวาดล้างอาชญากรรมก่อนช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ 2566 ช่วง 29 มี.ค.-10 เม.ย.66 จับกุม อาชญากรรมทั่วไป 15,707 คดี ผู้ต้องหา 16,670 คน และอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1,284 คดี ผู้ต้องหา 1,272 คน
2. การป้องกันปราบปรามยาเสพติด
ผลการจับกุม 152,231 คดี ผู้ต้องหา 153,315 คน ยึดทรัพย์ของกลาง 620 ล้านบาท และทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง 12,662 ล้านบาท ยาบ้า 240 ล้านเม็ด เฮโรอีน 314 กก., ไอซ์ 8,080 กก, เคตามีน 2,403 กก., ยาอี 85,960 เม็ด และโคเคน 9 กก. นำผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ป่วยจิตเวช เข้าสู่กระบวนการบำบัด รวม 271,408 คน จัดอบรมครูเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด สร้างวิทยากรภาคีเครือข่าย ให้ความรู้การดำเนินโครงการชุมชนยั่งยืนและเป็นชุดปฎิบัติการชุมชนยั่งยืนในชุมชน หมู่บ้าน,
โครงการหนองบัวลำภูต้นแบบสีขาวปลอดยาเสพติดครบวงจร ดำเนินการการแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยแนวคิด Change for Good , รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ และแจ้งเบาะแสการกระทำผิด, จัดชุดคัดกรองและดูแลผู้ป่วยจิตเวช ตั้งทีมผู้พิทักษ์ และชุดนาคาพิทักษ์ หากมีผู้ป่วยคลุ้มคลั่ง, จัดทำข้อมูลท้องถิ่น
จากการ Re X-ray พบผู้เสพ 2,044 คน ผู้ค้า 389 คน ผู้ป่วยจิตเวช 320 คน และอีกส่วนได้คัดกรองในชุมชนแบบทั่วไป พบผู้เสพอีก 701 คน
ในด้านปราบปราม ได้สนธิกำลังตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด ถนนสายหลัก 7 จุด ถนนสายรอง 721 จุด ทำการสุ่มตรวจ 644 ครั้ง ตรวจพัสดุไปรษณีย์ 6 ครั้ง ขยายผลเครือข่ายยาเสพติดทำการยึดทรัพย์แล้ว 2 คดี และได้สุ่มตรวจเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อหาสารเสพติด 76 หน่วย 3,783 ราย พบมีสารเสพติด 43 ราย
3. การปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
จับกุมผู้ต้องหารวม 332 ราย มูลค่าความเสียหายรวม 3,638 ล้านบาท อายัดเงินได้ 449,190,107 บาท สำหรับประเภทคดีสูงสุด 5 อันดับได้แก่ หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ(ไม่เป็นขบวนการ), หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงานฯ, หลอกให้กู้เงิน, หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์, ข่มขู่ทางโทรศัพท์(Call Center) บังคับใช้ พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 ตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค.66 เป็นต้นไป
ระงับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ บัญชีที่มีความเสี่ยงสูง หรือ บัญชีม้า ดำเนินการแล้ว 693 ราย 1,381 บัญชี
จัดทำ MOU กับภาคเอกชน ประชาสัมพันธ์สื่อสร้างภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สร้างเครือข่ายในการยับยั้ง ป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกัน ในทุกช่องทางการสื่อสาร , ปรับปรุงศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ 1441 ขยายคู่สายการให้บริการจากเดิม 4 คู่สาย เป็น 15 คู่สาย
ร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ เปิดปฏิบัติการ “Shell Game” ซึ่งผู้เสียหายชาว USA ได้ถูกแก๊ง Call Center ข่มขู่ว่าเหยื่อเกี่ยวข้องกับคดีและให้โอนเงินไปตรวจสอบ และถูก Hack และส่งไวรัสให้เหยือเห็นว่ามีเงินโอนผิดและหลอกให้โอนเงินคืน ซึ่งคดีเกิดใน USA ระหว่าง ค.ศ.2020-2021 จำนวน 72,000 คดี มูลค่าความเสียหายกว่า 3,000 ล้านเหรียญ โดยในประเทศไทยจะเป็นฐานในการเปิดปัญชีม้า แล้วมีกระบวนการฟอกเงินแล้วโอนกลับไปยังคนร้ายที่อยู่ต่างประเทศ
4. การจราจร
จัดทำ MOU กับกรมการขนส่งทางบก เชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายจราจรทางบก ลดการกระทำผิดกฎหมาย ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยกำหนด 2 มาตรการ คือ 1.การตัดคะนนความประพฤติ ซึ่งได้เริ่มไปเมื่อ 9 ม.ค. 2566 ที่ผ่านมา 2. การชะลอการออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี สำหรับรถที่มีใบสั่งค้างชำระ จะเริ่มบังคับใช้ 1 เม.ย.66
การตัดคะแนนความประพฤติ (9 ม.ค.2566 – 31 มี.ค.2566) มีผู้ถูกตัดคะแนนแล้วทั้งสิ้น 47,495 ราย ยังไม่มีผู้ถูกสั่งพักใบอนุญาต โดย 3 ข้อหาที่มีการตัดคะแนนมากที่สุด คือ 1.ใช้รถไม่แสดงเครื่องหมายเสียภาษีประจำปี 13,442 ราย 2.ไม่สวมหมวกนิรภัย 8,943 ราย และ 3ใช้รถไม่มีแผ่นป้ายทะเบียน 7,845 ราย โดยจังหวัดที่มีการบันทึกและตัดคะนนมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพฯ ,ชัยนาท และเพชรบุรี จำนวน ใบสั่งทั้งหมด 21,604,518 รายการ ชำระค่าปรับแล้ว 4,374,639 รายการ (คิดเป็น 20.25%)
มาตรการบังคับใช้กฎหมายและอำนวยความสะดวกด้านการจราจร ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2566 แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงก่อนควบคุมเข้ม , ช่วง 7 วันควบคุมเข้มข้น และช่วงหลังควบคุมเข้มข้น ( โดยสั่งการให้ บก.ทล.เป็นศูนย์ควบคุมสั่งการหลัก รับผิดชอบทางหลวงแผ่นดินและเส้นทางหลัก ให้ บก.จร.รับผิดชอบในเขตกรุงเทพและปริมณฑล เตรียมประกาศช่องทางเดินรถพิเศษ(Reverdible Lane) และเส้นทางที่ห้ามรถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไปผ่าน เน้นบังคับใช้กฎหมาย 10 ข้อหาหลัก
5. การยกระดับการบริการประชาชนของสถานีตำรวจ
โครงการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติงานตำรวจระดับสถานี มีกลุ่มประชากร มี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. ประชาชนทั่วไป 2. ผู้เสียหาย 3. ผู้แจ้ง 191 จำนวน 2 ครั้งในระหว่างเดือน มี.ค. – เม.ย.2566 และ มิ.ย. – ก.ค.2566 ในพื้นที่สถานีตำรวจ 1,484 แห่ง ครอบคลุม 80,000 หมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อพัฒนาการปฏิบัติราชการของสถานีตำรวจทั่วประเทศ
6. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างขวัญกำลังใจ ใน 4 โครงการ ประกอบด้วย
- โครงการ “Depress We Care ซึมเศร้าเราใส่ใจ” เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับนักจิตวิทยา เพื่อช่วยเหลือและให้คำปรึกษาปัญหาความเครียดโรคซึมเศร้า มีสถิติผู้รับบริการผ่านช่องทาง Inbox เพจเฟซบุ๊ก 2,075 ครั้ง เป็นตำรวจ 133 ครั้ง และผ่านสายด่วน 081-9320000 จำนวน 5,447 ครั้ง เป็นตำรวจ 344 ครั้ง
- โครงการประเมินและสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตข้าราชการตำรวจ มีการประเมินฯ 195,963 นาย พบมีความเครียดหรือปัญหาสุขภาพจิตในระดับที่เสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรง 250 นาย(0.13%) จึงได้ตรวจวินิจฉัยและรักษา จำนวน 193 ราย
- โครงการธรรมนำใจ จัดให้ข้าราชการตำรวจและครอบครัวรวมถึงผู้มีจิตศรัทธา ร่วมฟังพระธรรมและเจริญจิตภาวนา โดยจัดให้มีโครงการธรรมนำใจเป็นประจำทุกเดือน
- โครงการทำดีมีรางวัล มอบเกียรติบัตร จำนวน 36 เรื่อง จำนวน 137 นาย เป็นข้าราชการตำรวจ 98 นาย, เจ้าหน้าที่ รพ.ตร. 4 นาย, พลเมืองดี 35 นาย
7. การแสวงหาความร่วมมือกับภาครัฐภาคเอกชน รวม 7 แห่ง