'กัณวีร์' จี้จัดการ 'จ่ายส่วย' จ่อหารือสภา ช่วยเหลือเหยื่อ 'พลุระเบิด'
'กัณวีร์'ห่วงผู้ประสบภัย 'มูโนะ' เสนอรัฐเร่งจัดหาพื้นที่พักพิงชั่วคราว จัดการ 'รับส่วย' ทบทวนกฎหมายควบคุมพลุไฟ เตรียมหารือต่อสภา เร่งฟื้นฟูช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผู้ประสบภัย 'พลุระเบิด' อย่างเป็นระบบ
2 ส.ค. 2566 นายกัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ลงพื้นที่บ้านมูโนะ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ให้กำลังใจผู้ประสบภัยจากเหตุโกดัง "พลุระเบิด" ซึ่งมีบ้านที่พังเสียหาย ครอบครัวผู้เสียชีวิต พบว่าต่างยังฝันร้ายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แรงระเบิดทำให้บ้านพังทั้งหลัง หลายคนบาดเจ็บ และสูญเสียคนที่รัก จึงถือเป็นเหตุความรุนแรงที่ประเมินค่าไม่ได้
"ผมได้ให้กำลังใจครอบครัวของผู้เสียชีวิต ซึ่งต้องเร่งเยียวยาให้กับพวกเขา นอกจากการสูญเสียครอบครัว สูญเสียบ้านแล้ว การดูแลสภาพจิตใจ พลุระเบิด เป็นเรื่องสำคัญ เช่นเดียวกับการวางแนวทางในการฟื้นฟูด้วย"
นายกัณวีร์ เปิดเผยว่า สภาพความเสียหายไม่ต่างจากสงคราม คงต้องใช้เวลาในการเยียวยาทั้งร่างกาย จิตใจ และฟื้นฟูบ้านเรือนที่เสียหายอย่างหนัก ซึ่งไม่สามารถเปิดมูลค่าความเสียหายได้
"ความเสียหายไม่ต่างจากพื้นที่สงคราม ผมต้องขอแสดงความเสียใจกับทุกคนมากๆครับ ตอนนี้คงต้องช่วยกันบริหารจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ผมมาลงพื้นที่จะรวบรวมปัญหาเพื่อขอหารือในสภาฯ วันที่ 3 ส.ค. 2566 ซึ่ง สส. หลายท่านจะนำเรื่องนี้ไปหารือต่อสภาผู้แทนราษฎร"
นายกัณวีร์ เปิดเผยว่า จะนำเรื่องนี้ขอหารือต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 3 สิงหาคมนี้ รวมถึงการทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวกับดอกไม้เพลิงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีความละเอียดอ่อนทางความมั่นคง มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องถึง 5 กระทรวง ทำไมวัตถุไวไฟจำนวนมากถึงเล็ดลอดสายตาของเจ้าหน้าที่มาเก็บในโกดังกลางชุมชนแบบนี้ได้ ต้องหาต้นตอของปัญหา พลุระเบิด เรื่องนี้ต้องมีผู้รับผิดชอบอย่างแน่นอน
การควบคุมกฎหมายดอกไม้เพลิงมีอยู่แล้ว 5 กระทรวง เรายังไม่ทบทวนแนวปฏิบัติ ว่าจะมีผลกระทบกับประชาชน การจะมีโรงงานหรือโกดังดอกไม้ไฟ ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าหน้าที่ จึงเป็นไปไม่ได้ ที่มีปล่อยให้มีการเก็บดอกไม้เพลิง ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนพิจารณา ต้องมาผ่านธรรมนูญชุมชน ธรรมนูญประชาชน ให้ท้องถิ่นดูแล และไม่มีทางถ้าไม่มีเจ้าหน้าที่รู้เห็น
นายกัณวีร์ ย้ำว่า ถ้าไม่มีการปล่อยปะละเลยเรื่องกฎหมาย การรับผลประโยชน์ เช่น "ส่วย" เรื่องแบบนี้คงไม่เกิดขึ้น กลายเป็นช่องว่างที่ทบทวนการใช้กฎหมาย รวมถึงการจัดการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแบบครอบคลุม ก็ต้องทำ เพราะมีผู้ประสบภัยหลายกลุ่มมาก ทั้งที่บ้านพังเสียหาย ผู้ประสบภัย ต้องมีพื้นที่พักพิงที่ปลอดภัย เช่น Collective Center อาจต้องไปเช่าตึกหรืออาคาร ให้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราว และวางแผนในการฟื้นฟูความเสียหายในระยะยาวด้วย
"เมื่อ 7 เดือนก่อนผมก็ได้ลงพื้นที่บ้าน "มูโนะ" ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่ 2 ครั้ง และยังมาเกิด "พลุระเบิด" ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความสูญเสียหลายครั้ง ก็ต้องให้กำลังใจและให้การช่วยเหลือฟื้นฟูกันอย่างมากเลยครับ" นายกัณวีร์ กล่าวย้ำ