ข่าว

'วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล' ต่อต้านทุจริต 'ไม่ทำ ไม่ทน ไม่เฉย รวมไทยต้านโกง'

'วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล' ต่อต้านทุจริต 'ไม่ทำ ไม่ทน ไม่เฉย รวมไทยต้านโกง'

09 ธ.ค. 2566

9 ธันวาคม 'วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล' ร่วมต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน BREAK THE CORRUPTION "ไม่ทำ ไม่ทน ไม่เฉย รวมไทยต้านโกง"

'วันต่อต้านการทุจริตสากล' หรือ 'วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล' (International Anti-Corruption Day) ถือกำเนิดขึ้นหลังจากที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ (The United Nation : UN) ที่มีมติเห็นชอบอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต พ.ศ.2546 เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2546 จากนั้นประเทศภาคีสมาชิก จำนวน 191 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามในอนุสัญญาระหว่างวันที่ 9-11 ธ.ค. 2546 ณ เมืองเมอริด้า ประเทศเม็กซิโก ด้วยเหตุนี้ UN จึงได้กำหนดให้ทุกวันที่ 9 ธันวาคม ของทุกปีเป็น 'วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล'

 

ประเทศไทยและประเทศต่างๆ ได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 (United Nations Convention against Corruption 2003, UNCAC) ณ ประเทศเม็กซิโก เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2546 ดังนั้น สหประชาชาติ จึงประกาศให้วันที่ 9 ธันวาคม ของทุกปี เป็น 'วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล' (International Anti-Corruption Day) และต่อมาประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นรัฐภาคีในอนุสัญญาดังกล่าว เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2554 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2554

 

 

สำหรับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 ได้กำหนดประเด็นความร่วมมือที่สำคัญของรัฐภาคี 3 ประการ ดังนี้

 

1. ด้านมาตรการเชิงป้องกัน : ทุกประเทศต้องมุ่งป้องกันปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นอันดับแรก

2. ด้านการบัญญัติความผิดทางอาญา : ทุกประเทศต้องถือว่าการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบคืออาชญากรรม 

3. ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ : ทุกประเทศต้องให้ความร่วมมือในการทำให้อนุสัญญามีผลในทางปฏิบัติได้จริง

 

วันที่ 9 ธันวาคม ของทุกปี นับเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลจะรวมมือกับ สำนักงาน ป.ป.ช. องค์กรต่อต้าน คอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมมือกันทำงาน เพื่อแสดงเจตนารมณ์มุ่งมั่นในการแก้ไข ปัญหาการทุจริตอย่างต่อเนื่อง และปลุกกระแสสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ภายใต้แนวคิด "Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต" โดยเน้นว่าถึงเวลาแล้วที่คนไทยต้องลุกขึ้นมาทำหน้าที่และปกป้องสิทธิของตนเองและประเทศไทย ด้วยการไม่ทนต่อการทุจริต มีจิตสำนึกที่ถูกต้อง ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม และความพอเพียง พร้อมทำหน้าที่ตรวจสอบและเฝ้าระวัง การทุจริต เพื่อให้ประเทศไทยโปร่งใสและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล 

 

 

โดยในปีนี้กิจกรรมเนื่องไน 'วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล' ในประเทศไทย ถูกจัดขึ้นภายใต้แนวคิด BREAK THE CORRUPTION "ไม่ทำ ไม่ทน ไม่เฉย รวมไทยต้านโกง" โดยมีหลากหลายหน่วยงานได้จัดกิจกรรม ทั้ง สำนักงาน ป.ป.ช. และ สสส.