ข่าว

'อัยการคดีพิเศษ' ชงกฎหมายฟอกเงิน ยึดสินทรัพย์ดิจิทัล

'อัยการคดีพิเศษ' ชงกฎหมายฟอกเงิน ยึดสินทรัพย์ดิจิทัล

12 ม.ค. 2567

'อัยการคดีพิเศษ -ปปง.' หนุนพัฒนาร่างกฎหมายฟอกเงินใหม่ โดยเฉพาะยึดสินทรัพย์ดิจิทัล ชี้หากศาลพิพากษา มีแนวโน้มลดมูลค่าหรือไม่มีมูลค่าเลย ด้าน 'เอกรักษ์’ ชี้ช่องโหวยกเคสบริษัทสตาร์คผู่ต้องหาโยกเงินไปอังกฤษ 8 พันล้าน

นายวิรุฬห์ ฉันท์ธนนันท์ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด เเละนายเทพสุ บวรโซติดารา เลขาธิการ ปปง. สำนักงาน ปปง. ร่วมกันเป็นประธานเปิดงานสำนักงานโครงการบูรณาการการปฏิบัติงานตามกฎหมายฟอกเงินและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 

 

โดยมีผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานอัยการสูงสุดเข้าร่วม อาทิ นายประยุทธ เพชรคุณ เเละนายสมคิด สายเจริญ รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (รองเลขาฯ ป.ป.ง.) พร้อมด้วยข้าราชการจากสำนักงานอัยการคดีพิเศษเเละสำนักงาน ปปง.เข้าร่วมสัมนา

 

นายวิรุฬห์ กล่าวว่า โครงการสัมมนากฎหมายฟอกเงิน นับเป็นโครงการที่มีประโยชน์เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานปปง. ในเรื่องของขั้นตอนการดำเนินงานตามกฎหมายการฟอกเงินหรือ พรบ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมถึงประเด็นแนวทางที่ต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ทิศทางในการดำเนินคดี หรือเรื่องขั้นตอนและประสบการณ์ต่างๆ

ซึ่งขณะนี้เทคโนโลยีได้ก้าวล้ำไปมากจนเราต้องเดินตามให้ทันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโทเคอร์เรนซี เนื่องจากก้าวล้ำไปถึงออกลักษณะที่แตกต่างกับการฟอกเงินโดยทรัพย์สินอื่น เช่น ทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์อื่น ก็ต้องขอบคุณสำนักงานปปง. ที่ได้เชิญผู้ที่ ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิตอลมาร่วมสัมมนาในวันนี้ด้วย 

นายวิรุฬห์ ฉันท์ธนนันท์

ซึ่งผู้บริหารสำนักงานปปง.ได้ให้ความเห็นไว้อย่างน่าฟังว่า  สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเทคโนโลยีใหม่ ในขณะที่มีการซื้อขายในขณะเกิดเหตุหรือกระทำความผิดมันจะมีมูลค่าอาจจะสูง แต่พอมีการบังคับคดี หลังจากศาลที่ให้ยึดทรัพย์สินมูลค่าจะลดลงหรือมากขึ้นก็ได้ หรืออาจจะไม่มูลค่าเลย ซึ่งหากว่าไม่มีมูลค่าเลยหรือมูลค่าต่ำมากๆการบังคับคดีหลังจากศาลพิพากษาและมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สินแล้ว มันจะไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายหรือไม่ เพราะถ้ามันไม่มีมูลค่าเลย หากอายัดมาก็เสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการโอนต่างๆและยังมีการแลกเปลี่ยนกันในเรื่องปัญหาที่ประสบมาในแง่กฎหมายและในด้านข้อเท็จจริง พยานหลักฐานขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินคดีของสำนักงาน ปปง.และอัยการในสำนักงานคดีพิเศษ 

 

นายวิรุฬ กล่าวว่า จริงๆแล้วกฎหมายฟอกเงินถือว่าเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่ามีคดีเป็นจำนวนมากและเป็นคดีที่ยากแก่การดำเนินคดีมากกว่าคดีทั่วๆไป และเป็นคดีที่มีอยู่ทั่วราชอาณาจักร อยู่ในอำนาจของสำนักงานอัยการในภูมิภาคด้วยโดยเฉพาะคดีอาญา แต่ถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับขอให้ริบทรัพย์ไม่ว่าจะเกิดที่ใด ก็จะเป็นอำนาจของสำนักงานปปง.และสำนักงานอัยการคดีพิเศษในการขอให้มีทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน แต่ในด้านของคดีอาญาอยู่ในอำนาจของอัยการในส่วนกลาง

สำนักงานคดีพิเศษจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะให้อัยการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องข้อกฎหมายข้อเท็จจริงขั้นตอนและพยานหลักฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งอัยการที่เข้าใหม่ บางทีพอไปเจอคดีแบบนี้เข้า ซึ่งก็เกิดขึ้นมาแล้วมันมีผู้เสียหายจำนวนมากในความผิดมูลฐานพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารมีเป็นหลายลังหลายกล่องต่อ1คดี ยากแก่การดำเนินคดี ไม่ว่าจะระบุพยาน ตรวจพนาน ว่าความ สั่งคดี ยากมากจึงเป็นความรู้ใหม่ที่มันจำเป็นต้องใช้ได้อย่างเข้าใจอย่างถ่องแท้ก็ถือว่าโครงการนี้มีประโยชน์เป็นอย่างมาก

 

จะเห็นได้ว่า การขอยึดทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกา หรือตามความเห็นของอัยการคดีพิเศษหรือ ปปง.ก็ดี จะเห็นว่าการขอยึดทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินหรือการฟอกเงิน ไม่ได้เป็นคดีเเพ่ง โดยเนื้อเเท้ จึงมีการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความเเพ่งมาใช้โดยอนุโลม หรือก็คือยืมมาใช้เท่านั้น

 

ซึ่งทางผู้บริหารของสำนักงาน ปปง. เองก็ตั้งข้อสังเกตว่า ต่อไปควรจะมีขั้นตอนการดำเนินคดีฟอกเงิน เช่นเดียวกับกฎหมาย วิ.เเพ่ง เช่นจะออกมาในรูปของกฎหมายวิธีพิจารณาความคดีฟอกเงินต่างๆหรือไม่ หรืออาจจะออกมาในแง่กฎระเบียบของหน่วยงาน อันนี้เป็นแนวทางของการปรับปรุงกฎหมาย 

\'อัยการคดีพิเศษ\' ชงกฎหมายฟอกเงิน ยึดสินทรัพย์ดิจิทัล

ในแง่ของข้อเท็จจริงแล้วก็พยานหลักฐานต่างๆที่ส่งมาในฐานะอัยการในฐานะเจ้าหน้าที่ปปง.ก็จะมาแลกเปลี่ยนกันว่ามีประสบการณ์ที่เห็นแล้วว่ามีอุปสรรคอย่างไรก็จะมาแลกเปลี่ยนและมาแชร์กันแนวทางการแก้ไข แล้วก็ก้าวต่อไปของทั้งในด้านกฎหมายการดำเนินคดีต่อไปว่าควรทำอย่างไรถึงจะเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในขณะนี้ไอทีหรือเทคโนโลยีมันได้ก้าวไปมากเราก็ต้องติดตามและตามติดให้ทันสำนักงานสำหรับการดำเนินคดีฟอกเงินในลักษณะประเภทเทคโนโลยีเป็นต้น

 

"ตอนนี้มาตรา 59 ของ พ.ร.บ.ป้องกันเเละปราบปรามการฟอกเงิน ให้ขั้นตอนการดำเนินคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของแผ่นดินอันมีมูลหากแต่การฟอกเงินให้ประมวลกฎหมายวิธีความแพ่งโดยมาใช้โดยโดยอนุโลมเท่านั้น โดยอนุโลมคือยืมมาใช้เพราะมันไม่ใช่คดีแพ่งโดยเนื้อแท้ แต่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยและเห็นสมควรให้เอาไว้ดังนั้นก็ควรจะต้องแยกขั้นตอนการดำเนินคดีฟอกเงินในส่วนของการยึดทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินแยกออกมาตามฐานจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ ควรจะมีกฎหมายและขั้นตอนพิเศษต่างจากคดีแพ่งทั่วไปซึ่งคดีแพ่งทั่วไปจะเริ่มจากโจทก์ไปยื่นฟ้องต่อศาล แต่กระบวนการของกฎหมายฟอกเงินหรือการดำเนินคดีฟอกเงินจะเริ่มจากการตรวจสอบของสำนักงานปปง. ซึ่งเป็นพนักงานของรัฐในการพิจารณาตรวจสำนวนของอัยการก่อนที่จะนำคดีนี้ขึ้นสู่ศาลจะต้องมีการดำเนินคดีแยกออกมาต่างหากรวมทั้งวิธีการสืบพยาน แนวคิดต่างๆจากกฎหมายแพ่งเพราะว่าแนวคิดของมันเนี่ยเกี่ยวกับการริบทรัพย์สินที่เกิดจากการฟอกเงินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการทำผิดมันมีแนวคิดเพื่อตัดวงจรอาชญากรรม มันมีแนวคิดเป็นกรณีที่มุ่งตัวทรัพย์สินมากกว่าตัวบุคคล ซึ่งต่างจากคดีอาญาการฟอกเงิน ภาระการพิสูจน์ก็จะเเตกต่างกันออกไป ดังนั้นคิดว่าในส่วนของการแก้ไขกฎหมายฟอกเงินโดยแยกขั้นตอนดำเนินคดีออกไปต่างหากดังเช่นที่ผู้บริหารของสำนักงานปปง.เเละอัยการเราห็นสอดคล้อง”อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ ระบุ

 

ด้าน พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รองเลขาฯ ปปง.ได้กล่าวในงานสัมนช่วงหนึ่งว่า เราอาจจะมานั่งเขียนกฎหมายไว้ว่าเจ้าหน้าที่ ปปง. มีอำนาจในการสอบสวนคล้ายๆกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ คือ คดีต้องเข้าหลักเกณฑ์ มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค ต้องมีผู้มีความรู้ความสามารถในเรื่องนี้มานั่งทำ จึงจะทำให้คดีไวขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันสุดท้ายอย่างที่นายวิรุฬห์กล่าวไว้ คดีฟอดเงินเป็นคดีไฮบริดที่เป็นอาญาส่วนหนึ่งและแตะคดีแพ่ง วันนี้หากเรามานั่งรวมข้อมูลเสร็จและปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติหรือการเทียบเคียงกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาใช้กับสำนวน 

 

พล.ต.ต.เอกรักษ์ ยังกล่าวอีกประเด็นว่าต่อไปการยึดทรัพย์ว่า รถ ปืนเงินสด ทองคำ อัญมณี มีแนวโน้มจะลดลงเนื่องจากกฎหมายฟอกเงินเอามาใช้ตั้งแต่ปี2542 ซึ่ง20ปีมานี้คนร้ายมีพัฒนาการและดูทีวีเห็นว่าคนอื่นโดนปปง. ยึดโดนตำรวจยึดอะไรได้บ้างเพราะฉะนั้นแนวโน้มในการเก็บรักษาทรัพย์ในการฟอกเงินที่ได้จากการกระทำผิดมาในอนาคตจาก สินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Physical Asset) มาเป็น สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) ซึ่งกฎหมายเราเองยังเขียนไม่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนเงินหรือทรัพย์สินที่มีค่ากลายเป็นคริปโทเคอร์เรนซี แล้วออก E wallet (กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์) ออกไปต่างประเทศ เราจะทำอย่างไร โดยเฉพาะคดีทุจริตในบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น โกงเงินไปกว่า 2หมื่นล้านบาทจากข้อมูลทางการสืบสวนสอบสวนที่เรามี เชื่อว่านายชนินทร์ โยกเงินไปอยู่ที่อังกฤษอีกประมาณ 8,000 ล้าน แต่เส้นทางการเงินมันไม่ได้โอนจากธนาคารไทยพาณิชย์ไปยังธนาคารเเบงค์ออฟลอนดอนมันไม่ใช่เเบบนั้น มันมีการขนย้ายถ่ายเท ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ที่มาที่ไปได้ แต่ปลายทางอยู่ดีๆเขามีเงิน 8 พันล้านบาท ที่อังกฤษได้เสวยสุขในทางกฎหมาย ถ้า ปปง. ต้องการตามมันกลายเป็นกองคดีระหว่างประเทศของอัยการ มันกลายเป็นตำรวจต่างประเทศมันกลายเป็นหน่วยงานอื่น ซึ่งเงินของคนไทยที่ถูกโกงไปเราจะเอากลับมาทำอย่างไรในขั้นตอนที่มันสั้นและมีประสิทธิภาพตรงนี้อาจจะต้องมานั่งระดมความเห็นเพราะว่าการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ตอนนี้กำลังจะเข้าสภานิติบัญญัติในหลักการโอเคแต่ว่าปลีกย่อยจะต้องแปลญัตติในชั้นกรรมาธิการถ้าได้ข้อคิดเห็นหรือข้อมูลเป็นประโยชน์จากอัยการ มันจะทำให้เราสามารถไปชี้แจงกับกระบวนการนิติบัญญัติแล้วเขียนกฎหมายให้สมบูรณ์ออกมาแล้วจะเป็น ปปง.หรืออัยการคดีพิเศษก็สามารถใช้กฎหมาย นี้บังคับใช้กับคนร้ายเเละทรัพย์สินที่อยู่ในกระบวนการของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตรงนี้ก็ต้องรบกวนช่วยเหลือ เพราะว่าความเห็นบางเรื่องก็ต้องมองว่าอัยการสำนักงานคดีพิเศษส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์ค่อนข้างเยอะในขณะเดียวกัน ปปง.เองก็ทำงานในกึ่งแพ่ง บางทีมุมมองหลายมุมมองที่เราอาจจะมองไม่เห็นแต่อัยการมองเห็นก็ให้คำชี้แนะเพื่อเรานำมาเป็นข้อมูลและนำไปใช้ได้ต่อไป

\'อัยการคดีพิเศษ\' ชงกฎหมายฟอกเงิน ยึดสินทรัพย์ดิจิทัล