'ศาลยุติธรรม' เป็นเจ้าภาพ หารือตัวแทนศาลในเอเชีย พัฒนาการให้บริการ
'ศาลยุติธรรม' เป็นเจ้าภาพพร้อมตัวแทนศาลหลายประเทศในเอเชีย จัดโครงการ กระบวนการยุติธรรมที่ทุกคนออกแบบได้ ระดมความเห็นหาทางออกปัญหาบริการศาลตอบสนองประชาชนทุกกลุ่ม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20-21 มี.ค. ที่ผ่านมาที่อาคารสํานักงาน ศาลยุติธรรม ถนนรัชดาภิเษก สํานักงานศาลยุติธรรม ร่วมกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สถาบัน เพื่อความยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และบริษัทลูกคิดจํากัด ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาแลกเปลี่ยน ความรู้ในหัวข้อ “Unlocking Innovations in the Judicial Systems” โดยมีตัวแทนจากศาลหลากหลาย ประเทศ ได้แก่ ประเทศลาว อินโดนีเซีย ไต้หวัน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน ศรีลังกา มัลดีฟ ปากีสถาน และลิธัวเนีย จีน มองโกเลีย และมาลาวี รวมถึง ตัวแทนจากหน่วยงานยุติธรรมอื่นในประเทศไทย เช่น ศาล ปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ สถาบันนิติวัชร์ สํานักงานอัยการสูงสุด และองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ สหรัฐ (USAID) เข้าร่วมการสัมมนาทั้งในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์
โดยงานสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ในครั้งนี้ จัดขึ้นด้วยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนและส่งต่อความคิดริเริ่ม ของสํานักงานศาลยุติธรรมในการจัดโครงการ “Justice by Design: กระบวนการยุติธรรมที่ทุกคนออกแบบได้” เพื่อพัฒนานวัตกรรมในชั้นศาลผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design-Thinking) ที่มุ่งเน้นให้ประชาชน ผู้ใช้บริการศาล เข้ามามีส่วนร่วมในการถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้สึก และความต้องการเมื่อต้องเข้ามาใช้ บริการของศาลยุติธรรม เพื่อทําความเข้าอกเข้าใจผู้ใช้บริการศาลให้มากที่สุด
อีกทั้งยังให้ประชาชนผู้ใช้บริการศาล ร่วมหาทางออกให้กับปัญหาการให้บริการของศาลยุติธรรม โดยศาลยุติธรรมจะนําทางออกที่มาจากเสียงของ ประชาชนโดยแท้ไปประยุกต์ให้เกิดผลขึ้นจริงต่อไปในอนาคตอันใกล้ เป็นไปตามนโยบายของประธานศาลฎีกาที่มุ่ง สร้างสรรค์ความยุติธรรมที่ยั่งยืนโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Foster Sustainable Justice with a People- Centric Approach)
นอกจากนี้ ระหว่างการสัมมนาได้มีการสาธิตการใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมของ ศาล (Mini Design-Thinking Workshop) โดยกําหนดโจทย์จําลองเรื่องการสร้างศาลยุติธรรมที่เป็นมิตรแก่ ผู้สูงอายุ ผู้ต้องการการสนับสนุนเป็นพิเศษทางร่างกาย ผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก และผู้ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับ กระบวนการศาล โดยผู้เข้าร่วมสัมมนามีโอกาสร่วมกันใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design-Thinking) ในการ แก้ไขโจทย์จําลองที่กำหนดขึ้นด้วย
การจัดงานสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ในครั้งนี้เป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นและความตั้งใจของสํานักงานศาลยุติธรรมในการค้นหาเครื่องมือสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่อยู่บนพื้นฐานความต้องการของ ประชาชนผู้ใช้บริการศาล (People-Centered Innovation) เพื่อให้บริการของศาลสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดี และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มโดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง