ข่าว

ปคบ.-อย. บุกจับ 'อาหารเสริม' ลวงโลก ขายความหวังรักษาโรค ค่ากว่า 10 ล้านบาท

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ตำรวจ 'ปคบ.' ร่วม 'อย.' บุกทลายเครือข่ายโฆษณาจำหน่าย 'ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร' ลวงโลก ขายความหวังรักษาโรคร้าย ยึดของกลาง มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท

28 มี.ค. 2567  ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ร่วมกับ  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)นำกำลังเข้าตรวจค้น  2 จุด ตรวจยึด ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จำนวน 7,327 ขวด มูลค่ากว่า 10,000,000 บาท


สืบเนื่องจาก กก.4 บก.ปคบ. ได้รับการประสานงานจาก อย.ให้ทำการตรวจสอบการโฆษณาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อหนึ่ง ในลักษณะอวดอ้างสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ หรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร และไม่ได้รับอนุญาต ด้วยภาพ เสียงและข้อความ ซึ่งได้มีการดำเนินคดีในความผิดฐาน “โฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร และโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต” ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับไปแล้วนั้น

ปคบ.-อย. บุกจับ อาหารเสริม ลวงโลก ขายความหวังรักษาโรค ค่ากว่า 10 ล้านบาท

 

 

ต่อมาพบว่า ยังมีการโฆษณาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อดังกล่าว ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ โดยการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณในลักษณะที่สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่าเมื่อรับประทานแล้วมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกาย หน้าที่การทำงานของอวัยวะ หรือระบบการทำงานของร่างกาย สามารถบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันความเจ็บป่วย หรืออาการของโรค 

 

ซึ่งอาจประชาชนให้เกิดความหลงเชื่อ บางคลิปวีดีโอยังใช้บุคคลมีชื่อเสียง ดารา เป็นพรีเซนเตอร์สร้างความน่าเชื่อถือ ยอมซื้อสินค้ามารับประทานในราคาสูงถึงขวดละ 1,450 บาท ในปริมาณ 15 มล. โดยมีการโฆษณาจำหน่ายในลักษณะดังกล่าวมาแล้วประมาณ 4 ปี ซึ่งความจริงแล้ว ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นเพียงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยารักษาโรค ไม่สามารถโฆษณาในทางป้องกัน บำบัด บรรเทา รักษาเป็นคุณสมบัติของยารักษาโรคได้ โดยมีการอวดอ้างสรรพคุณต่างๆ 

 

 

ปคบ.-อย. บุกจับ อาหารเสริม ลวงโลก ขายความหวังรักษาโรค ค่ากว่า 10 ล้านบาท

 

 

เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการสืบสวนรวบรวมข้อมูล พบการโฆษณาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อดังกล่าว โดยใช้ข้อความหลอกลวงเพื่อจัดจำหน่ายสินค้า ผ่านเว็ปไซต์ และเฟสบุ๊ก รวมกว่า 22 เว็ปไซต์ 

 

เมื่อเส่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไปตรวจ พบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร โดยมีลักษณะและวัตถุประสงค์ในการผลิตเป็นอาหาร จึงจัดเป็นอาหารตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522
และพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแสดงฉลากอาหารไม่ถูกต้อง  อีกทั้งฉลากแสดงส่วนประกอบสำคัญไม่ตรงกับที่ขออนุญาต  จัดเป็นอาหารปลอมตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 27(4)

ปคบ.-อย. บุกจับ อาหารเสริม ลวงโลก ขายความหวังรักษาโรค ค่ากว่า 10 ล้านบาท

 

 

ต่อมาในวันที่ 21 มี.ค 2567 จนท.จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขออนุมัติหมายค้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 2 จุด ดังนี้

1. บริษัทผู้จัดจำหน่าย พื้นที่ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแหล่งจัดเก็บ และกระจายสินค้าให้ตัวแทนจำหน่าย ตรวจยึดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  จำนวน 6,480 ขวด รวมทั้งพยานหลักฐานอื่นๆ เพื่อประกอบการดำเนินคดี

 

2. สถานที่ผลิต พื้นที่ ต.วังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ตรวจยึดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จำนวน 847 ขวด, ผลิตภัณฑ์ ที่ยังไม่ติดฉลาก, รวมทั้งฉลาก ขวด และกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิต
 


รวมตรวจค้น 2 จุด ตรวจยึดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อดังกล่าว จำนวน 7,327 ขวด ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  ที่ยังไม่ติดฉลากจำนวนหนึ่ง รวมทั้งฉลาก ขวด-กล่องบรรจุภัณฑ์ มูลค่าประมาณ 10,917,230 บาท  ส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. ดำเนินคดี

 

 

ปคบ.-อย. บุกจับ อาหารเสริม ลวงโลก ขายความหวังรักษาโรค ค่ากว่า 10 ล้านบาท

 

 

ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจยึด เจ้าหน้าที่ อย.จะส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางวิชาการ และการปลอมปนยาแผนปัจจุบัน ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หากพบสารต้องห้ามจะเป็นความผิดเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ฐาน “จำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์” ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
 

เบื้องต้น การกระทำของ ผู้ต้องหากับพวก เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522


1. ผลิต นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือจำหน่าย อาหารปลอม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 – 100,000 บาท

2. โฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหาร อันเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร และโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาตระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท
 

ภก.วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ปฏิบัติการในครั้งนี้ ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย ได้เป็นจำนวนมากโดยผลิตภัณฑ์ที่ตรวจพบในครั้งนี้เป็นอาหารที่ได้รับอนุญาตแต่มีการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง และมีพฤติกรรมในการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อโซเชียล โพสต์รูปภาพ คลิปวิดีโอ และข้อความอันสื่อให้เข้าใจว่าสามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ เช่นโรคเบาหวาน ไมเกรน มะเร็ง ภูมิแพ้ เก๊าท์ โรคตับ โรคไต ไทรอยด์เป็นพิษ สะเก็ดเงิน ข้อเข่าเสื่อม ที่โฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ ไม่มีหลักฐานหรือผลการทดสอบประสิทธิภาพทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุน

 

จึงขอเตือนไปยังผู้กระทำการโฆษณา ให้หยุดทำการโฆษณาที่เป็นเท็จเกินจริงและหลอกลวงนั้นเสีย ทั้งนี้ อย.และ ปคบ.จะเดินหน้ากวาดล้างดำเนินการตามกฎหมาย กับผู้ที่กระทำการโฆษณาเป็นเท็จ เกินจริงและหลอกลวงอย่างต่อเนื่อง

 

กรณีผู้ผลิตจากการตรวจสอบเอกสารเบิกจ่ายวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อดังกล่าว  พบว่ามีการเบิกวัตถุดิบ  เพื่อไปใช้ในการผลิตไม่ตรงกับสูตรส่วนประกอบที่ได้รับอนุญาตไว้ ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นอาหารปลอม ทั้งนี้ อย.จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย ต่อไป
 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ