'ทนายพัช' ร้องอัยการ สอบชุดจับ 'แอม ไซยาไนด์' ไม่ทำตามขั้นตอนกฎหมาย
'ทนายพัช' ยื่นร้องอัยการ ร่วมสอบตำรวจทีมสืบสวนคดี 'แอม ไซยาไนด์' ตาม พ.ร.บ.อุ้มหาย หลังคดีครบ 1 ปี ระบุ ชุดจับกุมไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมาย
26 เม.ย. 2567 น.ส.ธันย์นิชา เอกสุวรรณวัฒน์ หรือ ทนายพัช ทนายความ ของ น.ส.สรารัตน์ หรือ แอม ไซยาไนด์ เข้าพบ นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานการสอบสวน เพื่อยื่นหนังสือร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย เนื่องจากถึงเวลาอันเหมาะสมและมีข้อเท็จจริงชัดเจนเพียงพอพร้อมส่งมอบหลักฐานและข้อเท็จจริงที่ทีมทนายความ แอม ไซยาไนด์ รวบรวมมาเพื่อทำการส่งมอบให้ทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย เพื่อให้ทางคณะกรรมการฯท่านได้ดำเนินการตรวจสอบและดำเนินคดีต่อไป
ทนายพัช ระบุว่าการร้องเรียนครั้งนี้เพื่อขอความเป็นธรรมให้กับผู้ต้องหา และเป็นการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเนื่องจากมีการใช้บังคับกฎหมายมาระยะหนึ่งแล้ว แต่การทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ยังไม่ถูกต้อง ส่วนที่เพิ่งมาร้องเรียนเนื่องจากอยู่ระหว่างเตรียมคดีของ แอม ซึ่งปัจจุบันเตรียมคดีสมบูรณ์แล้วพร้อมที่จะพิสูจน์ต่อศาล
ซึ่งข้อเท็จจริงสำคัญที่เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ทรมานอุ้มหาย กล่าวคือ
1.ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุกับ น.ส.สรารัตน์ นั้นกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว
2. การกระทำขณะจับกุม ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวเจตนารมณ์ของกฎหมายก็เพื่อมุ่งเน้นให้เจ้าหน้าที่นำตัวผู้ถูกจับกุมไปส่งพนักงานสอบสวนให้เร็วที่สุด แต่การที่ชุดจับกุมดังกล่าว พาผู้ถูกจับกุมไปยังสโมสรตำรวจ เป็นเวลาหลายชั่วโมง เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องและเกิดความอับอาย
3. การควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้งในชั้นจับกุมและชั้นพนักงานสอบสวนจะต้องมีการบันทึกวีดีโอไว้ ทั้งหมดแต่ชุดจับกุมและพนักงานสอบสวน ชุดดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการตามกฎหมาย
4. การพูดจาข่มขู่ผู้ต้องหา ในขณะที่ตั้งครรภ์และข่มขู่ไปถึงบุตรของแอม บุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งในขณะนั้นแอมยังมีการตั้งครรภ์บุตรคนที่สามอยู่ด้วย ยังไม่แท้งอันเป็นการกระทำที่ผิดตามกฎหมายดังกล่าว ถือว่าเป็นการกระทำทางจิตใจ และการกล่อมให้รับสารภาพ ยังถือเป็นจุดประสงค์หลัก เพื่อให้ได้มาซึ่งคำรับสารภาพ โดยไม่คำนึงว่า ต้องรับสารภาพเท่านั้น
5. การปฏิบัติหน้าที่ขณะที่ผู้ต้องหาอยู่ในเรือนจำจะต้องได้รับการตีความตามกฎหมายเช่นกันว่าหากมีลักษณะข่มขู่ทั้งตนเองหรือบุคคลอื่น จนทำให้เกิด ความกลัวหรือกัลวลควรจะต้อง ตีความว่าเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายนี้เช่นเดียวกัน
6. ตามที่ ทนายพัช เคยกล่าวเมื่อวันที่ 5 พ.ค.2566 ว่า จะเป็นการบูรณาการกฎหมายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด้วยเพื่อให้เป็นรูปธรรม ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนคนไทยจะเห็นคดีตัวอย่างในมุมที่ดีนำไปปรับใช้กับการอยู่ร่วมกันในสังคมและการปฏิบัติตนของผู้มีอำนาจเช่นเจ้าพนักงานตำรวจนี้
ซึ่งเมื่อพิจารณาตามกฎหมายย่อมต้องไม่กลัวที่จะต้องกระทำทุกอย่างอันโปร่งใส ถูกต้องและให้สามารถตรวจสอบได้ว่า ผู้ที่ลงชื่อปฏิบัติงานในบันทึกจับกุม จะต้องถูกดำเนินคดีทั้งหมดซึ่งจะเป็นการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะการทำงานของตำรวจซึ่งในหลายคดีจะเห็นว่าจะมีลงชื่อปฏิบัติงานจำนวนมากแต่ตัวไม่อยู่
ซึ่งในกรณีดังกล่าวหากมีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ทรมานอุ้มหายฯ ผู้ที่มีรายชื่อจะต้อง ร่วมรับผิดทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติงาน ของตำรวจนั้นตรงไปตรงมาไม่ใช่ลงชื่อเอาหน้า ประการที่เจ็ด ผู้บังคับบัญชาที่รู้เรื่องดังกล่าวจะต้องรับผิดตามมาตรา 42 ต้องได้รับโทษด้วยกึ่งหนึ่ง
เพื่อให้เป็นต้นแบบแก่เจ้าพนักงานชุดจับกุม ทำอย่างไรให้ถูกต้อง และเมื่อเลื่อมใสในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ย่อมต้องปฎิบัติตามที่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน ว่าให้มีผลบังคับใช้ โดยร้องทุกข์บุคคลที่มีชื่อหลายรายและรวมถึงผู้บังคับบัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลตํารวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล ต้องรับผิดตามมาตรา 42 ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา
ท้ายนี้ น.ส.สรารัตน์ แสดงเจตจำนงสุจริตที่จะใช้สิทธิตามที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองและยืนยันว่าได้ถูกกระทำย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริงและทำร้ายจิตใจและเกิดการแท้งบุตรจริง โดยกฎหมายตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่มีข้อยกเว้นให้ไม่ต้องปฏิบัติแม้ยามเกิดสงครามจะหยิบยกขึ้นมาอ้างไม่ได้เช่นกัน ซึ่งถือว่า เป็นกฎหมายใหม่ ที่ผดุงความยุติธรรมได้อย่างแท้จริง