ข่าว

เปิดเงื่อนไข ป้าติ๋ม ไม่ใช่ญาติ รับมรดก 100 ล้าน จากแหม่มฝรั่งเศสได้หรือไม่ ?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดเงื่อนไข ข้อกฎหมาย 'มรดก - พินัยกรรม' หลังนักธุรกิจสาวชาวฝรั่งเศส ทิ้งมรดก ยกพินัยกรรม ให้แม่บ้านคนสนิท 100 ล้านบาท

2 พ.ค.2567 จากกรณี "นักธุรกิจ" สาวชาวฝรั่งเศส วัย 59 ปี เจ้าของวิลล่าหรูให้เช่าบนเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ตัดสินใจลาโลกหลังป่วยเป็นมะเร็ง โดยทิ้ง "พินัยกรรม" ยก "มรดก" ทรัพย์สิน 100 ล้านบาท ให้กับป้าติ๋ม แม่บ้านคนสนิท

เปิดข้อกฎหมาย "มรดก"  ไม่ใช่ญาติ รับ "มรดก" ได้ไหม?

"มรดก" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแทน สิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบที่เป็น "มรดก" ของผู้ตาย เช่น สิทธิหน้าที่ตามสัญญากู้ยืมเงิน ซื้อขาย จำนำ จำนอง หรือ การละเมิด

 

 

การตกทอดของ "มรดก" 

1. เจ้าของ "มรดก" ตาย  

หมายถึง การตายโดยธรรมชาติ คือ หัวใจหยุดเต้น และสมองไม่ทำงาน ส่วนสาเหตุที่ทำให้เจ้ามรดก ต้องตายนั้นอาจเป็นเพราะเหตุใดๆ ก็ได้ เช่น แก่ตาย เป็นโรคตายประสบอุบัติเหตุตาย หรือถูกทำร้ายตาย

 

2. เจ้า "มรดก" ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ

เหตุปกติ เมื่อบุคคลไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา 5 ปี

เหตุพิเศษ

  • เมื่อบุคคลใด ได้ไปในการรบหรือสงคราม และไม่มี ใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง
  • เมื่อบุคคลได้เดินทางไปโดยยานพาหนะแล้ว ยานพาหนะนั้นอับปาง ถูกทำลายหรือสูญหายไป และไม่มีใครรู้ แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา 2 ปี นับแต่ วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทางอับปาง หรือถูกทำลายหรือ สูญหายไป
  • เมื่อบุคคลใดตกอยู่ในอันตรายแห่งชีวิตนอกจากที่ ระบุไว้ในข้อ 1 หรือ 2 และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ตลอดระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่อันตรายแก่ชีวิตดังกล่าวได้ผ่านพ้นไป

ผู้มีสิทธิรับ "มรดก"

ทายาท ผู้มีสิทธิรับ "มรดก" ของผู้ตายตามกฎหมาย แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ "ผู้รับพินัยกรรม" และ "ทายาทโดยธรรม" 

 

1.ผู้รับพินัยกรรม

สิทธิของ ผู้รับพินัยกรรม จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ ก่อนตาย เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน เว้นเสียแต่ว่าพินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรม นั้นตกเป็นอันไร้ผลตามกฎหมาย เช่น ผู้รับพินัยกรรมตายก่อน ผู้ทำพินัยกรรม เป็นต้น

ในกรณีเช่นนี้ต้องปันทรัพย์มรดก ตามพินัยกรรมนั้นสู่กองมรดกเพื่อแจกจ่ายให้แก่ทายาทโดยธรรมต่อไป และบุคคลที่เคยมีชื่อเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมก็มีสิทธิ รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมได้เช่นกัน

 

2.ทายาทโดยธรรม

สิทธิของทายาทโดยธรรมในการรับ "มรดก" นั้น จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อผู้ตาย ตายโดยมิได้ทำ "พินัยกรรม" ไว้หรือทำไว้ แต่พินัยกรรมนั้นไร้ผลตามที่กล่าวมาข้างต้น และทายาทผู้มีสิทธิ รับมรดกนั้นมีสภาพบุคคล คือ เกิดเป็นทารกแล้วในขณะที่ เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ส่วนกรณีของทารกในครรภ์มารดา ก็อาจเป็นทายาทโดยธรรมได้ หากภายหลังได้คลอดเป็นทารก ภายใน 310 วัน นับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

 

ทายาทโดยธรรม มี 6 ลำดับ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับ "มรดก" ก่อนหลังดังต่อไปนี้ 

  1. ผู้สืบสันดาน
  2. บิดามารดา
  3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
  4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
  5. ปู่ ย่า ตา ยาย
  6. ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ