ข่าว

กรุงเทพฯ เปิดโต๊ะรับลงทะเบียนผู้เยียวยาผู้ประสบภัย

07 ก.ค. 2567

กรุงเทพฯเปิดโต๊ะรับลงทะเบียนผู้เยียวยาผู้ประสบภัยโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือคนไทย และกลุ่มที่สองคือคนต่างด้าว

กรณีเหตุ เพลิงไหม้ ภายในชุมชนตรอกโพธิ์ ซอย 7 ถนนเยาวราช แขวงและเขตสัมพันธวงศ์ กทม. โดยเพลิงยังลุกไหม้และลุกลามเป็นบริเวณกว้าง เข้าอาคารข้างเคียงเป็นอาคารพาณิชย์ สูง 6 ชั้น และ 8 ชั้น อยู่ด้านซอยมิตรสัมพันธ์ เหตุเกิดเมื่อเวลาประมาณ 20.40 น. วันที่ 6 ก.ค. 67 ที่ผ่านมา 

กรุงเทพฯ เปิดโต๊ะรับลงทะเบียนผู้เยียวยาผู้ประสบภัย

สำหรับบรรยากาศที่กองอำนวยการศูนย์ช่วยเหลืออัคคีภัย ชุมชนตรอกโพธิ์ ที่วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร ที่ช่วงเที่ยงที่ผ่านมา มีพี่น้องประชาชน ทั้งคนไทยและต่างด้าวที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุเพลิงไหม้ชุมชนเกาะโพธิ์ถนนเยาวราชเขตสัมพันธวงศ์เดินทางนำเอกสารมาลงทะเบียนเพื่อขอรับการเยียวยาอย่างต่อเนื่อง 

 

โดยการช่วยเหลือเยียวยา จะออกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มแรกคือคนไทย และกลุ่มที่ 2 คือชาวต่างด้าว โดยผู้ประสบภัยสามารถเดินทางมาแจ้งชื่อ - สกุล ได้ที่จุดรับลงทะเบียน โดยการยื่นเอกสารที่สามารถนำติดตัวมา เช่นคนไทย ก็จะเป็นเอกสารทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ใบขับขี่ 

กรุงเทพฯ เปิดโต๊ะรับลงทะเบียนผู้เยียวยาผู้ประสบภัย

ส่วนคนต่างด้าว ก็ต้องนำพาสปอร์ต พร้อมด้วย บัตรชมพู หรือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่กรมการปกครองออกให้ หรือบัตรขาว ที่อนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย มายื่นกับเจ้าหน้าที่ ที่จุดลงทะเบียน หรือหากใครไม่มีเอกสารติดตัว และมั่นใจว่าเข้ามาในประเทศไทยอย่างถูกต้อง ก็สามารถมาแจ้งชื้อไว้ก่อนได้ ซึ่งทาง สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์จะเป็นผู้ไปตรวจสอบรายชื่ออีกครั้ง

 

ขั้นตอนการลงทะเบียน เพื่อขอรับการเยียวยานั้น ผู้ประสบภัยจะต้องเดินทางไปแจ้งความที่สน.พลับพลาไชย 2 ก่อนจะมาลงทะเบียนของสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ ที่วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร (จะทำอย่างใดก่อนก็ได้) 

จากนั้นสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์จะออกใบรับรองเป็นผู้ประสบภัยจากอัคคีภัยให้ เพื่อให้ผู้ประสบภัยนำเอกสารทั้ง 2 หน่วยงาน ไปยื่นกับเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร ที่จุดรับลงเทียนรับการเยี่ยยยา ในวัดสัมพันธวงศ์ฯ อีกครั้ง เพื่อรับการพิจารณาเงินค่าเยียวยาผู้ประสบภัย  ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็จะมีระเบียบในการจ่ายค่าชดเชยที่ต้องทำการพิจารณา

กรุงเทพฯ เปิดโต๊ะรับลงทะเบียนผู้เยียวยาผู้ประสบภัย

นอกจากหน่วยงานของกรุงเทพมหานครแล้วยังมีหน่วยงานอื่น ๆ อย่างเช่น กระทรวงพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์และเจ้าหน้าที่มูลนิธิต่างๆ ก็ได้มีการนำ ถุงยังชีพ มาช่วยเหลือผู้ประสบภัยในครั้งนี้ด้วย ซึ่งผู้ประสบภัยก็สามารถนำเอกสารที่ได้รับจากสำนักงานเขตไปยื่นเพื่อที่จะขอรับการเยียวยาได้ทันที