ข่าว

126 ชม. ไร้ปาฏิหาริย์ อุโมงค์ถล่ม สรุปแผน ปฏิบัติการ 6 วัน กู้ร่าง 3 ผู้ประสบภัย

30 ส.ค. 2567

เปิดไทม์ไลน์ สรุปแผน ปฏิบัติการ 6 วัน กู้ร่าง 3 ผู้ประสบภัย เหตุ ดินถล่มภายในอุโมงค์ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน

โศกนาฏกรรม ดินถล่มภายในอุโมงค์ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน จังหวัดนครราชสีมา เจ้าหน้าที่ ปฏิบัติการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย 3 ราย ที่ติดอยู่ภายใน อย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2567 จนกระทั่งพบร่างผู้ประสบภัยเสียชีวิตอยู่ภายในเป็นรายที่ 1 คือชาวเมียนมา เมื่อวันที่ 29 สงหาคม ต่อมาพบร่างผู้ประสบภัยชาวจีนไร้ลมหาย อีก 2 ราย ในวันที่ 30 สิงหาคม 

 

เหตุการณ์ ดินถล่มภายในอุโมงค์ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เกิดขึ้นเมื่อเวลา ประมาณ 23.30 น. ของวัน เสาร์ ที่ 24 สิงหาคม โดยมีรายงานว่ามีผู้ประสบภัยติดอยู่ภายใน 3 ราย เป็นคนงานชาวเมียนมา 1 ราย และชาวจีน 2 ราย 

 

126 ชม. ไร้ปาฏิหาริย์ อุโมงค์ถล่ม สรุปแผน ปฏิบัติการ 6 วัน กู้ร่าง 3 ผู้ประสบภัย

อุโมงค์รถไฟคลองไผ่

 

สำหรับ อุโมงค์รถไฟคลองไผ่ ช่วงคลองขนานจิตร ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นอุโมงค์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ซึ่งเกิดเหตุดินทรุดตัวภายในอุโมงค์ เมื่อเวลา 23.40 น. ของคืนวันที่ 24 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา 

 

ตลอดปฏิบัติการช่วยเหลือคนงานที่ติดค้างทั้ง 3 ราย ใช้เวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 126 ชั่วโมง และทีมงานกู้ภัยต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ทั้งจากปัญหาดินสไลด์ลงมาจากด้านบนอุโมงค์อย่างต่อเนื่องทำให้ต้องใช้เวลาในการขุดดินเพิ่มมากขึ้น 

 

126 ชม. ไร้ปาฏิหาริย์ อุโมงค์ถล่ม สรุปแผน ปฏิบัติการ 6 วัน กู้ร่าง 3 ผู้ประสบภัย

 

การดันท่อช่วยชีวิตแล้วติดชั้นหินจนเจ้าหน้าที่ต้องเปลี่ยนวิธีเป็นการสร้างกล่องค้ำยัน เพื่อป้องกันดินและหินที่ไหลลงมาเพิ่มเติม ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้

 

อุโมงคฺคลองไผ่บริเวณลำตะคอง เป็นส่วนหนึ่งในการก่อสร้าง ทางรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน อุโมงคฺคลองไผ่บริเวณลำตะคอง 4.25 กม. เดิมทีมีระยะเวลาสัญญา 1,080 วัน สิ้นสุดวันที่ 3 เม.ย. 2567 แต่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฯ เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2567 ในการขยายเวลาก่อสร้างออกไป อีก 431 วัน รวม ระยะเวลาก่อสร้างเป็น 1,511 วัน เนื่องจากการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ผู้รับจ้างล่าช้าในส่วนของอุโมงค์คลองไผ่ บริเวณลำตะคอง ทำให้มีการขยายสัญญาก่อสร้าง ไปสิ้นสุดวันที่ 7 มิ.ย. 2568 โดยงานก่อสร้าง ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 มีความคืบหน้าที่ 74.06%

 

สาเหตุ อุโมงค์รถไฟถล่ม เกิดจาก ดินอุ้มน้ำมากไป สภาพดินพรุนเกือบจะเป็นทราย จึงมีสภาพอ่อนไหวมาก ในขณะที่มีคอนกรีตด้านบนบางส่วน แต่ยังไม่ได้ดำเนินการดาดเต็มวงรอบของผนังอุโมงค์ให้มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้ดินที่มีน้ำหนักมากดังกล่าวถล่มลงมาทับรถบรรทุก และยานพาหนะที่เข้าไปปฏิบัติงาน

 

126 ชม. ไร้ปาฏิหาริย์ อุโมงค์ถล่ม สรุปแผน ปฏิบัติการ 6 วัน กู้ร่าง 3 ผู้ประสบภัย

 

สรุปแผนปฏิบัติการ 6 วัน ช่วยคนงานอุโมงค์ถล่ม 

 

วันที่ 24 สิงหาคม 2567

 

เวลา 23.30 น. มีรายงาน ดินถล่มอุโมงค์รถไฟความเร็วสูง ช่วงคลองขนานจิตจันทึกโคราชถล่ม มีคนสูญหาย 3 ราย เจ้าหน้าที่กู้ภัยฯ ระดมกำลังเข้าไปช่วยเหลือบำรถแบคโฮ ขุดดินปากอุโมงค์ออกเพื่อเข้าไปช่วย ซึ่งขณะเกิดเหตุมีรายงานเพิ่มเติมว่าเกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก 

 

วันที่ 25 สิงหาคม 2567

 

ระหว่างการช่วยเหลือผู้ประสบภัย อุโมงค์ถล่ม มีรายงานว่า ดินยังคงถล่มลงมาเรื่อย ซึ่งเป็นอุปสรรคหนึ่งที่ทำให้การค้นหามีความหิน และล่าช้ามากขึ้น โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยพยายามใช้ไม้ค้ำยันดินที่ถล่มลงมา เพื่อเคลียร์พื้นที่ และเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย 

 

วันที่ 26 สิงหาคม 2567

 

เจ้าหน้าที่ได้นำเครื่องตรวจจับสัญญาณชีพเข้ามาติดตั้งบริเวณหน้าที่เกิดเหตุ อุโมงค์ถล่ม ว่ายังมีสัญญาณชีพอยู่หรือไม่ พร้อมทั้งเตรียมแผนสำหรับ ทำการช่วยเหลือ โดยวิธีการใช้ท่อ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่ง 1 เมตร 20 ซม.ดันเข้าไปตรงจุดที่พบว่ามีสัญญาณชีพ โดยหลังจากติดตั้งเครื่อง สามารถตรวจจับสัญญาณการเคลื่อนไหวของผู้ประสบภัยภายในอุโมงค์ได้ เจ้าหน้าที่จึงทำการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง 

 

126 ชม. ไร้ปาฏิหาริย์ อุโมงค์ถล่ม สรุปแผน ปฏิบัติการ 6 วัน กู้ร่าง 3 ผู้ประสบภัย

 

นอกจากนี้ยังได้บูรณาการการค้นหาผู้ประสบภัยพร้อมกับทีมค้นหาและกู้ภัยในเขตเมืองแห่งชาติ หรือ USAR Thailand ที่ได้นำสุนัข K9 เข้าร่วมปฏิบัติการในการค้นหา 

 

นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าสัญญาณชีพของผู้ประสบภัยทั้ง 3 รายหายไป

 

126 ชม. ไร้ปาฏิหาริย์ อุโมงค์ถล่ม สรุปแผน ปฏิบัติการ 6 วัน กู้ร่าง 3 ผู้ประสบภัย

 

วันที่ 27 สิงหาคม 2567

 

เจ้าหน้าที่ตรวจพบสัญญาณชีพของผู้ประสบภัยทั้ง 3 ราย แบะยังคงทำการค้นหาผู้ประสบภัยต่อเนื่อง โดย กู้ภัยได้จัดเตรียม อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการค้ำยัน เบาะลม ซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้ 40-50 ตัน เครื่อง SCBA หรือ เครื่องช่วยหายใจในที่อับอากาศ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าไปช่วยผู้ประสบภัยด้านใน

 

วันที่ 28 สิงหาคม 2567

 

เจ้าหน้าที่ USAR ปภ. ที่เข้าปฏิบัติการค้นหาผู้ประสบภัย ร่วมกับทีมกู้ภัยไทยและจีนมาอย่างต่อเนื่อง โดยหลังใช้เครื่อง Life Locator เป็นเครื่องเรดาห์สำหรับค้นหาผู้ประสบภัยใต้ซากอาคาร ได้แสดงผลการเคลื่อนไหว 3 จุด จนทราบพิกัดที่ชัดเจนที่ทั้ง 3 คนติดอยู่ ซึ่งห่างกัน 3 เมตร, 6 เมตร และ 14 เมตร

 

ขณะที่ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยคนที่ 1 ยังพบอุปสรรคสุดหินคือการที่ดินยังคงถล่มลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ยากต่อการช่วยเหลือจึงต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังสูงสุด

 

พร้อมกันนี้ยังได้มีการคาดการว่าจะเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยรายแรกได้ในคืนวันที่ 28 สิงหาคมด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกัน ทีม EMSGENCY MEDICAL SERVIC เตรียมความพร้อมที่จะเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยรายแรกออกจากที่เกิดเหตุ

 

ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย 3 รายอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงถล่ม เจออุปสรรคหินก้อนใหญ่ขวางทางเข้าถึงผู้ประสบภัย สั่งถอนกำลังทีมแพทย์พยาบาลออกจากอุโมงค์ เร่งวางแผนแก้ปัญหาแข่งกับเวลา เจ้าหน้าที่ฯ ต้องวางแผนเจาะทำลายหินนี้ออกก่อนเพื่อเปิดช่องทาง

 

126 ชม. ไร้ปาฏิหาริย์ อุโมงค์ถล่ม สรุปแผน ปฏิบัติการ 6 วัน กู้ร่าง 3 ผู้ประสบภัย

 

วันที่ 29 สิงหาคม 2567 

 

เจ้าหน้าที่เข้าถึงจุดช่วยเหลือผู้ประสบภัยรายแรก พบว่า เป็นคนงงานชาวเมียนมา ซึ่งเสียชีวิตอยู่ในที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ได้ส่งร่างไปชันสูตรที่โรงพยาบาล เพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต 

 

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวหลังพบ ร่างผู้เสียชีวิตรายแรก ซึ่งค่าว่าเสียในที่เกิดเหตุมาแล้ว 3-5 วัน ขณะที่เจ้าหน้าที่ยังคงเร่งปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอีก 2 รายที่เหลืออย่างต่อเนื่อง 

 

วันที่ 30 สิงหาคม 2567

 

เวลาประมาณ 06.00 น. ได้รับแจ้งจากทีมกู้ภัยว่า พบร่างคนงานที่เสียชีวิตเพิ่มอีก 2 ราย คือ นายหูเสียงหมิ่น เพศชาย สัญชาติจีน (ผู้ควบคุมงาน) นายตงชิ่นหลิน เพศชาย สัญชาติจีน (ขับรถแม็คโคร) โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้ขุดดินและสร้างกล่องค้ำยันทะลุกองดินเข้าไปภายในอุโมงค์ ห่างจากจุดแรก ประมาณ 3 เมตร และอยู่ระหว่างการหาวิธีเร่งนำร่างผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย ออกจากที่เกิดเหตุ

 

126 ชม. ไร้ปาฏิหาริย์ อุโมงค์ถล่ม สรุปแผน ปฏิบัติการ 6 วัน กู้ร่าง 3 ผู้ประสบภัย